วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเเสดงโขน

. โขนกลางแปลง
โขนในยุคแรกคงแสดงกันกลางสนามเช่นเดียวกับการแสดง “ชักนาคดึกดำบรรพ์” ต่อมาจึงเรียกกันว่า “โขนกลางแปลง” โดยเป็นการแสดงโขนบนพื้นดินกลางสนาม นิยมแสดงตอน “ยกรบ” คือตอนยกทัพมารบกันระหว่างกองทัพของพระรามกับกองทัพของทศกัณฐ์ การแสดงจะมีแต่บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบการยกทัพ บทพากย์ และเจรจา แต่ไม่มีบทร้อง
2. โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว
โขนโรงนอกเป็นโขนที่แสดงบนโรง ตัวโรงมักมีหลังคา และมีราวพาดตามส่วนยาวของโรง มีช่องให้ผู้แสดงสามารถเดินได้รอบราว เมื่อตัวโขนแสดงบทของตนเสร็จแล้วก็จะกลับไปนั่งบนราว ซึ่งสมมุติเป็นเตียง ไม่มีบทขับร้องมีแต่บทพากย์ และเจรจา ทำให้ปี่พาทย์ต้องบรรเลงเพลงหน้าพาทย์มากจึงมักจะใช้วงปี่พาทย์ 2 วง โดยวงหนึ่งจะตั้งหัวโรง อีกวงหนึ่งตั้งไว้ท้ายโรงหรือจะตั้งทางซ้าย และขวาของโรงก็ได้
การแสดงโขนโรงนอกนี้ ยังมีอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “โขนนอนโรง” คือเวลาบ่ายก่อนถึงวันแสดงวันหนึ่ง ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงโหมโรง บรรดาผู้แสดงจะออกมากระทุ้งเส้าตามจังหวะเพลงที่กลางโรง เมื่อจบการโหมโรงแล้วก็จะแสดงโขนตอนพระพิราพออกเที่ยวป่า พบพระรามซึ่งหลงเข้ามายังสวนพวาทอง (หมายเหตุ : สวนมะม่วง) ของพระพิราพจึงเกิดการสู้รบกัน เสร็จการแสดงตอนนี้ก็จะหยุดพัก แล้วนอนเฝ้าโรงคืนหนึ่ง วันรุ่งขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่จัดไว้ต่อไป

3. โขนหน้าจอ
โขนหน้าจอ คือโขนที่แสดงหน้าจอหนังใหญ่ ซึ่งขึงไว้สำหรับแสดงหนังใหญ่ โดยการให้ผู้แสดงโขนออกมาแสดงแทนตัวหนังบ้างสลับกันไป เรียกว่า “หนังติดตัวโขน” แต่ต่อมาก็ให้แสดงเฉพาะโขนเท่านั้น โดยที่ยังคงตั้งจอหนังไว้พอเป็นพิธีเท่านั้น เมื่อโขนได้ใช้คำพากย์คำเจรจาตลอดจนดนตรีของหนังใหญ่ทั้งหมด อีกทั้งผู้คนนิยมการแสดงที่ใช้คนมากกว่าตัวหนัง จึงเรียกโขนที่เล่นหน้าจอหนังนี้ว่า “โขนหน้าจอ”
ต่อมาภายหลังมีการพัฒนาจอหนังที่ใช้แสดงโขนให้มีช่องประตูเข้าออกวาดเป็นซุ้มประตู เรียกว่า “จอแขวะ” โดยด้านซ้ายวาดเป็นรูปค่ายพลับพลาของพระราม ด้านขวาวาดเป็นปราสาทราชวังสมมุติเป็นกรุงลงกา ต่อมาจึงมีการยกพื้นหน้าจอขึ้น และกันคนดูไม่ให้เกะกะผู้เล่น

4. โขนโรงใน
โขนโรงใน เป็นโขนที่ได้รับการปรับปรุงผสมผสานกับละครใน โดยการนำท่ารำ ท่าเต้น และบทพากย์เจรจาตามแบบโขนมาผสมกับการขับร้อง เพลงต่างๆ และระบำรำฟ้อนของละครใน ภายหลังจึงเรียกว่า “โขนโรงใน” โขนที่กรมศิลปากรนำออกแสดงในโรงละครแห่งชาติปัจจุบันนี้มักเป็นลักษณะโขนโรงใน หรือที่นำออกแสดงกลางแจ้งก็เป็นการแสดงแบบโขนโรงในทั้งสิ้น

5. โขนฉาก
การแสดงโขนแต่เดิมนั้น จะไม่มีการสร้างฉากประกอบเรื่อง การแสดงจะดำเนินเรื่องติดต่อกันไปโดยผู้ดูจะต้องจินตนาการถึงฉากหรือสถานที่ในเรื่องราวขณะนั้นเอาเอง การจัดฉากในการแสดงเป็นสิ่งที่รับมาจากตะวันตก โขนฉากเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้เอง โดยคิดสร้างฉากประกอบการแสดงโขนบนเวทีขึ้น คล้ายกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงคิดขึ้น



การแสดงโขนฉากเป็นแบบเดียวกับโขนโรงใน แต่มีการจัดฉากแบบละครดึกดำบรรพ์ โดยแบ่งเป็นฉากเป็นองก์ การสร้างฉากก็ให้เข้ากับเหตุการณ์ และสถานที่ตามท้องเรื่อง เช่นการแสดงโขนของกรมศิลปากรในปัจจุบัน



. โขนกลางแปลง
โขนในยุคแรกคงแสดงกันกลางสนามเช่นเดียวกับการแสดง “ชักนาคดึกดำบรรพ์” ต่อมาจึงเรียกกันว่า “โขนกลางแปลง” โดยเป็นการแสดงโขนบนพื้นดินกลางสนาม นิยมแสดงตอน “ยกรบ” คือตอนยกทัพมารบกันระหว่างกองทัพของพระรามกับกองทัพของทศกัณฐ์ การแสดงจะมีแต่บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบการยกทัพ บทพากย์ และเจรจา แต่ไม่มีบทร้อง
2. โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว
โขนโรงนอกเป็นโขนที่แสดงบนโรง ตัวโรงมักมีหลังคา และมีราวพาดตามส่วนยาวของโรง มีช่องให้ผู้แสดงสามารถเดินได้รอบราว เมื่อตัวโขนแสดงบทของตนเสร็จแล้วก็จะกลับไปนั่งบนราว ซึ่งสมมุติเป็นเตียง ไม่มีบทขับร้องมีแต่บทพากย์ และเจรจา ทำให้ปี่พาทย์ต้องบรรเลงเพลงหน้าพาทย์มากจึงมักจะใช้วงปี่พาทย์ 2 วง โดยวงหนึ่งจะตั้งหัวโรง อีกวงหนึ่งตั้งไว้ท้ายโรงหรือจะตั้งทางซ้าย และขวาของโรงก็ได้
การแสดงโขนโรงนอกนี้ ยังมีอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “โขนนอนโรง” คือเวลาบ่ายก่อนถึงวันแสดงวันหนึ่ง ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงโหมโรง บรรดาผู้แสดงจะออกมากระทุ้งเส้าตามจังหวะเพลงที่กลางโรง เมื่อจบการโหมโรงแล้วก็จะแสดงโขนตอนพระพิราพออกเที่ยวป่า พบพระรามซึ่งหลงเข้ามายังสวนพวาทอง (หมายเหตุ : สวนมะม่วง) ของพระพิราพจึงเกิดการสู้รบกัน เสร็จการแสดงตอนนี้ก็จะหยุดพัก แล้วนอนเฝ้าโรงคืนหนึ่ง วันรุ่งขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่จัดไว้ต่อไป

3. โขนหน้าจอ
โขนหน้าจอ คือโขนที่แสดงหน้าจอหนังใหญ่ ซึ่งขึงไว้สำหรับแสดงหนังใหญ่ โดยการให้ผู้แสดงโขนออกมาแสดงแทนตัวหนังบ้างสลับกันไป เรียกว่า “หนังติดตัวโขน” แต่ต่อมาก็ให้แสดงเฉพาะโขนเท่านั้น โดยที่ยังคงตั้งจอหนังไว้พอเป็นพิธีเท่านั้น เมื่อโขนได้ใช้คำพากย์คำเจรจาตลอดจนดนตรีของหนังใหญ่ทั้งหมด อีกทั้งผู้คนนิยมการแสดงที่ใช้คนมากกว่าตัวหนัง จึงเรียกโขนที่เล่นหน้าจอหนังนี้ว่า “โขนหน้าจอ”
ต่อมาภายหลังมีการพัฒนาจอหนังที่ใช้แสดงโขนให้มีช่องประตูเข้าออกวาดเป็นซุ้มประตู เรียกว่า “จอแขวะ” โดยด้านซ้ายวาดเป็นรูปค่ายพลับพลาของพระราม ด้านขวาวาดเป็นปราสาทราชวังสมมุติเป็นกรุงลงกา ต่อมาจึงมีการยกพื้นหน้าจอขึ้น และกันคนดูไม่ให้เกะกะผู้เล่น

4. โขนโรงใน
โขนโรงใน เป็นโขนที่ได้รับการปรับปรุงผสมผสานกับละครใน โดยการนำท่ารำ ท่าเต้น และบทพากย์เจรจาตามแบบโขนมาผสมกับการขับร้อง เพลงต่างๆ และระบำรำฟ้อนของละครใน ภายหลังจึงเรียกว่า “โขนโรงใน” โขนที่กรมศิลปากรนำออกแสดงในโรงละครแห่งชาติปัจจุบันนี้มักเป็นลักษณะโขนโรงใน หรือที่นำออกแสดงกลางแจ้งก็เป็นการแสดงแบบโขนโรงในทั้งสิ้น

5. โขนฉาก
การแสดงโขนแต่เดิมนั้น จะไม่มีการสร้างฉากประกอบเรื่อง การแสดงจะดำเนินเรื่องติดต่อกันไปโดยผู้ดูจะต้องจินตนาการถึงฉากหรือสถานที่ในเรื่องราวขณะนั้นเอาเอง การจัดฉากในการแสดงเป็นสิ่งที่รับมาจากตะวันตก โขนฉากเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้เอง โดยคิดสร้างฉากประกอบการแสดงโขนบนเวทีขึ้น คล้ายกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงคิดขึ้น



การแสดงโขนฉากเป็นแบบเดียวกับโขนโรงใน แต่มีการจัดฉากแบบละครดึกดำบรรพ์ โดยแบ่งเป็นฉากเป็นองก์ การสร้างฉากก็ให้เข้ากับเหตุการณ์ และสถานที่ตามท้องเรื่อง เช่นการแสดงโขนของกรมศิลปากรในปัจจุบัน

http://www.google.co.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น