วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทักษะการว่ายน้ำ

--------------------------------------------------------------------------------

ฝึกทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้นอย่างง่ายครับ
สำหรับคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น ลองไปหัดดูนะครับ
ถ้าเกิดน้ำท่วมใหญ่มา อย่างน้อยจะพอปะทัง เอาตัวรอดได้
...
ส่วนใหญ่ของสาเหตุของคนที่ไม่กล้าว่ายน้ำ ....

- กลัวจม
- กลัวหายใจไม่ออก
- เกร็งและตื่นตระหนกขณะว่ายน้ำ
- แม้กระทั่งมีความหลังฝังใจในการจมน้ำ ทั้งปัจจุบัน และ อดีตที่ผ่านมา

...

ฉนั้นสำหรับใครที่อยากว่ายน้ำได้หรือแบบเอาแค่ตกน้ำแล้วเอาตัวรอดได้หละก็ทำตามขั้นตอนง่ายๆดังนี้

< ฝึกหายใจเข้าออกขณะอยู่ในน้ำ หรือ ภาษาว่ายน้ำเรียกว่า "ปั้มลม" >

วิธีการง่ายๆเลย

- ให้จับขอบสระไว้ทั้งสองมือในเอาริมที่ตื้นๆที่เรายืนได้ก่อน

- หายใจเข้าเหนือผิวน้ำให้เต็มปอด

- แล้วนั่งยองๆลงไปในน้ำ ปล่อยลมหายใจออกใต้น้ำ โดยให้ค่อยๆหายใจออก

- เมื่อลมใกล้จะหมดก็ให้ขึ้นมาหายใจให้เต็มปอดอีกครั้ง

- ทำสลับกันไปเรื่อยๆเป็นจังหวะช้าๆ เพื่อทำความคุ้นเคยกับการหายใจออกใต้ผิวน้ำ


< ฝึกเหยียดตัวตรงตีเท้าในน้ำ >

หลังจากที่เราฝึกปั้มน้ำจนชินแล้ว ก็เปลี่ยนจากท่าลุกนั่งไปเป็นเกาะขอบสระเหยียดตัวตรง

- เริ่มด้วยท่าเดิมคือเกาะขอบสระฝั่งที่ตื้นๆไว้ก่อน

- จากนั้นเมื่อพร้อมก็ให้หายใจเข้าแล้วเหยียดตัวตรงในท่าคว่ำหน้าลงไปในน้ำ โดยยังไม่ต้องตีขาก่อน

- ค่อยๆหายใจออกเหมือนในท่าลุกนั่ง

- เมื่อลมใกล้หมด ให้เงยหน้าขึ้นตรงๆแล้วหายใจเข้า เหมือนท่าเรานอนอ่านหนังสือนั่นแหละครับ

- จากนั้นก็ทำสลับกันไปชนจินในจังหวะหายใจของเราแล้ว

- เมื่อชินกับจังหวะหายใจด้วยท่าเหยียดตรงคว่ำหน้าแล้ว

- ก็ให้เพิ่มการตีขาสลับซ้ายขวา ขึ้นลง ช้าๆร่วมเข้าไปกับการฝึกหายใจด้วยไป

- ข้อควรระวังคือ ให้ตีขาสลับแบบช้าๆไปก่อนจนชินแล้วค่อยๆเพิ่มความเร็วกันไป อย่าเพิ่งไปตีขาเร็วๆ เพราะจำให้เราเสียจังหวะจนทำให้เราสำลักน้ำได้



< ฝึกลอยตัวในน้ำด้วยโฟม >

หลังจากเราคุ้นเคยกับการหายใจด้วยการลุกนั่งกับยืดตัวที่ขอบสระแล้วก็ลองใช้โฟมกันดู

- หาโฟมว่ายน้ำสักแผ่นเอาแบบที่เราจับเหมาะๆนะ

- ทีนี้เราจะหันหน้าออกสระน้ำกันแล้ว เอาง่ายๆก่อนเลย

- ถือโฟมแล้วเดินออกไปจากขอบสระประมาณ 5 เมตรก่อน แล้วหันหน้ากลับเข้าขอบสระ

- ถือโฟมเหยียดแขนตรงเหมือนว่าเราจะตีเท้าที่ขอบสระแล้ว

- จากนั้นก็เริ่มใช้ท่าเหยียดตรงนั้นแหละครับ มือถือโฟมเหยียดไปข้างหน้าพร้อมกับค่อยๆตีเท้าไปแบบไม่ช้าไม่เร็ว

- เพราะถ้าช้าไปตัวอาจจะจมได้ และ ถ้าเร็วไปก็จะทำให้ตัวเราไม่นิ่งซึ่งอาจจะส่งผลให้ตกใจได้

- เมื่เริ่มตีเท้าจากจุด 5 เมตรแล้ว ให้ตีเท้าสลับเงยหน้าหายใจตามจังหวะของเราไปเรื่อยๆๆๆๆๆๆ

- จนถึงขอบสระ ก็ถือว่าสำเร็จ เย้ๆๆๆ

- ทำในระยะ 5 เมตรนี้ไปเรื่อยๆ จนชิน ก็ค่อยๆเพิ่มระยะไปเป็น 10 15 20 25 หรือตามแต่จะวางแผนกันไปครับ

- ฝึกบ่อยบ่อยให้เชี่ยวชาญ ได้ท่าเดียวให้รอดก็พอแล้วครับ


http://board.palungjit.com/

ทักษะการเล่นตะกร้อ

แบบฝึกพัฒนาทักษะเซปักตะกร้อเล่มที่ 1 เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ

ใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา กีฬาไทย กีฬาสากล (เซปักตะกร้อ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนและผู้สนใจ
สามารถลงมือฝึกและปฏิบัติได้ด้วยตัวเอง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ จำนวน 5 ข้อ
2. เฉลยคำตอบก่อนเรียน เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ
3. ศึกษาแบบฝึกและฝึกตามแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะกีฬาเซปักตะกร้อ เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ ทุกขั้นตอน
4. แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ จำนวน 5 ข้อ
5. เฉลยคำตอบหลังเรียน เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ
6. ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดด้วยตัวเองและมีความซื่อสัตย์ต่อตัวเอง
7. ขณะศึกษาแบบฝึกปฏิบัติด้วยความตั้งใจ มีความอดทนต่อความยากลำบาก
8. ห้ามขีดเขียนข้อความใดลงในกระดาษคำถาม
9. ถ้ามีข้อสงสัยให้ถามครูผู้สอนทันที
ใบความรู้ที่ 1
เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ

1.การโยนลูกตะกร้อขึ้นตรงเตะด้วยข้างเท้าด้านใน
การโยนลูกตะกร้อขึ้นแล้วเตะ1 ครั้งแล้วจับไว้เป็นการสร้างความคุ้นเคยและทักษะในการเตะตะกร้อ
วิธีการโยนลูกตะกร้อขึ้นตรงเตะด้วยข้างเท้าด้านใน 1 ครั้งแล้วจับไว้มีวิธีการดังนี้
1. จับลูกตะกร้อไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง
2. โยนลูกขึ้นตรงให้เหนือศีรษะเมื่อลูกตกลงมาได้ระยะให้ใช้เท้าที่ถนัดเตะลูกด้วยข้างเท้าด้านในบริเวณใต้ตาตุ่ม 1 ครั้งแล้วจับไว้
3. ให้ปฏิบัติหลาย ๆ ครั้งจนเกิดความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ

ขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. ฝึกปฏิบัติคนเดียว
2. ยืนในท่าเตรียมพร้อม
3. จับลูกตะกร้อไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง
4. โยนลูกขึ้นตรงให้เหนือศีรษะเมื่อลูกตกลงมาได้ระยะให้ใช้เท้าที่ถนัดเตะลูกด้วยข้างเท้าด้านในบริเวณใต้ตาตุ่ม 1 ครั้งให้ลูกเด้งขึ้นมาถึงหน้าอกแล้วจับไว้
5. ให้ปฏิบัติตั้งแต่ข้อที่ 2 – 4 หลายๆครั้งจนเกิดทักษะความชำนาญ สามารถบังคับทิศทาง ลูกตะกร้อได้

2. การโยนลูกตะกร้อขึ้นแล้วโหม่ง
การโยนลูกตะกร้อขึ้นแล้วโหม่ง 1 ครั้ง แล้วจับไว้เป็นการสร้างความคุ้นเคยในการเล่นตะกร้อ
วิธีการ โยนตะกร้อขึ้นแล้วโหม่งมีดังนี้
1. จับลูกตะกร้อด้วยมือทั้งสองข้าง
2. โยนลูกตะกร้อขึ้นตรงเหนือศีรษะแอ่นตัวไปข้างหลังแล้วใช้ศีรษะบริเวณหน้าผากใต้ริมผมโหม่ง ลูกตะกร้อให้ขึ้นตรง 1 ครั้งเมื่อลูกตกลงมาแล้วจับไว้
3. ให้ปฏิบัติหลาย ๆ ครั้งจนเกิดความชำนาญและคุ้นเคย

ขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. ฝึกปฏิบัติคนเดียว
2. ยืนในท่าเตรียมพร้อม
3. จับลูกตะกร้อไว้ด้วยมือทั้งสองข้างโยนลูกขึ้นตรงให้เหนือศีรษะเมื่อลูกลอยลงมาได้ระยะ ให้แอ่นตัวไปข้างหลังแล้วใช้ศีรษะบริเวณหน้าผาก
ใต้ริมผมโหม่งลูก 1 ครั้งให้ลูกเด้งขึ้น เมื่อลูกตกลงมาแล้วจับไว้
4. ให้ปฏิบัติหลายๆครั้งจนเกิดทักษะความชำนาญ สามารถบังคับทิศทางลูกตะกร้อได้

3. การใช้เข่าเล่นลูก
การใช้เข่าเล่นลูกเป็นการสร้างความคุ้นเคยและทักษะในการเล่นตะกร้อ
วิธีการใช้เข่าเล่นลูกตะกร้อ
1. จับลูกตะกร้อด้วยมือทั้งสองข้าง
2. โยนลูกตะกร้อขึ้นตรงเหนือศีรษะหรือปล่อยลูกตกลง
3. เมื่อลูกตกลงมาได้ระยะใช้เข่าที่ถนัดเล่นลูก ให้โดนบริเวณเหนือเข่า 1 ครั้ง เมื่อลูกตกลงมาแล้ว จับไว้
4. ให้ปฏิบัติหลาย ๆ ครั้ง จนเกิดทักษะความชำนาญและคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ
ขั้นตอนการปฏิบัติ
1. ฝึกปฏิบัติคนเดียว
2. ยืนในท่าเตรียมพร้อม
3. จับลูกตะกร้อไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง โยนลูกขึ้นตรงหรือปล่อยให้ลูกตก เมื่อลูกตกลงมาได้ระยะให้ใช้เข่าที่ถนัดเล่นลูกให้โดนบริเวณเหนือเข่า 1 ครั้ง
ให้ลูกเด้งขึ้นเมื่อลูกตกลงมาแล้วจับไว้
4. ให้ปฏิบัติหลาย ๆ ครั้งจนเกิดทักษะความชำนาญ สามารถบังคับทิศทางลูกตะกร้อได้

4. การเลี้ยงลูกไปกับพื้น
การใช้เหลังเท้าเล่นลูกเป็นการสร้างความคุ้นเคยและทักษะในการเล่นตะกร้อ
วิธีการเลี้ยงลูกด้วยหลังเท้า
1. ยืนในท่าเตรียมพร้อม
2. วางลูกลงกับพื้น
3. ใช้หลังเท้าหรือข้างเท้าด้านในเลี้ยงลูกตะกร้อไปกับพื้น
4. ให้ปฏิบัติหลาย ๆ ครั้งจนเกิดทักษะและความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ




กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระพลศึกษา (เซปักตะกร้อ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ
คะแนนเต็ม 5 คะแนน ข้อละ 1 คะแนน เวลา 5 นาที

คำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย X หน้าข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1. การสร้างความคุ้นเคยควรใช้ตะกร้อแบบใด
ก. ตะกร้อเก่า
ข. ตะกร้อแบบใดก็ได้ที่ไม่ชำรุด
ค. ตะกร้อที่ใช้แล้ว
ง. ตะกร้อใหม่

2. การเลี้ยงลูกไปกับพื้นเป็นการสร้าง ความคุ้นเคยกับส่วนใดของร่างกาย
ก. ศีรษะ
ข. เข่า
ค. ลำตัว
ง. เท้า

3. ก่อนเล่นกีฬาตะกร้อต้องสร้างความคุ้นเคย เพราะเหตุใด
ก. ให้เล่นตะกร้อเก่ง
ข. ให้ร่างกายแข็งแรง
ค. เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อ
ง. เพื่อความเคยชินกับลูกตะกร้อ

4. การสร้างความคุ้นเคยกับศีรษะควรปฏิบัติ ตามข้อใด
ก. เลี้ยงลูกไปกับพื้น
ข. โยนขึ้นใช้เข่าเล่นลูก
ค. โยนขึ้นใช้ศีรษะโหม่งลูก
ง. ปล่อยลูกลงเตะลูกด้วยหลังเท้า

5. เพราะเหตุใดจึงไม่นิยมนำลูกตะกร้อ ที่ชำรุดมาเล่น
ก. จะเกิดอันตรายกับอวัยวะต่างๆ
ข. ลูกใหม่ราคาแพง
ค. หามาเล่นได้ง่าย
ง. คนนิยมเล่นลูกเก่า




http://unity007.com/

ทักษะการเล่นตะกร้อ

การปลูกหญ้าเเฝก

หญ้าแฝกเป็นพืชที่เจริญเป็นกอ สามารถพบได้ในสภาพธรรมชาติทุกภาคของประเทศ บางแห่งเจริญอยู่อย่างหนาแน่น บางแห่งกระจายอยู่ทั่วไป แต่จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างต้นหญ้าแฝก ยังไม่พบว่า บริเวณใดมีลักษณะของการเจริญเหมือนหญ้าที่เป็นวัชพืชโดยทั่วไป

ด้วยเหตุนี้ การนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ การฟื้นฟูทรัพยากรดิน และรักษาสภาพแวดล้อม จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาที่เป็นวัชพืชในพื้นที่ สำหรับหญ้าแฝกเป็นพืชที่เจริญเติบโตโดยการแตกกอ เส้นผ่าศูนย์กลางของกอประมาณ 30-40 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 0.5-1.5 เมตร ใบหญ้าแฝกมีลักษณะแคบประมาณ 0.6-1.0 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 50-75 เซนติเมตร การเจริญเติบโตในแนวดิ่งมากกว่าแนวข้าง มีระบบรากยาวหยั่งลึก 1.5-3.0 เมตร แต่แผ่ขยายด้านข้างเพียง 50-60 เซนติเมตร สามารถเก็บกักน้ำและความชื้นได้ดี

ลักษณะเด่นของหญ้าแฝก

หญ้าแฝกมีลักษณะเด่นอยู่หลายประการที่ช่วยการฟื้นฟูทรัพยากรดิน และการรักษาสภาพแวดล้อม จากข้อมูลการวิจัยในด้านต่าง ๆ สรุปผลได้ว่า หญ้าแฝกมีลักษณะเด่น ดังนี้



1. มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง

2. มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก

3. หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี

4. ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้

5. มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรง และทนต่อการย่อยสลาย

6. ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ

7. บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์

8. ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป

9. ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดี



การฟื้นฟูทรัพยากรดิน

การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ จะมุ่งเน้นในเรื่องของการอนุรักษ์ดินและน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน การช่วยเก็บกักตะกอนดินในพื้นที่ลาดชัน แต่จากผลของการศึกษาวิจัยพบว่า หญ้าแฝกยังมีลักษณะในด้านการฟื้นฟูทรัพยากรดินด้วย ซึ่งช่วยให้ดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่

1. การเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ เนื่องจากระบบรากของหญ้าแฝกค่อนข้างมาก และหนาแน่น มีมวลชีวภาพสูง และเจริญแทรกลงไปในดิน ด้วยลักษณะดังกล่าว จึงเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน เมื่อรากบางส่วนตายไป สำหรับส่วนของใบพบว่า หญ้าแฝกเจริญได้ค่อนข้างเร็ว มวลชีวภาพสูง ดังนั้นการตัดใบคลุมดิน จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน และยังช่วยเร่งการแตกหน่อของหญ้าแฝกด้วย

2. การเพิ่มปริมาณความชื้นในดิน ในระบบที่มีการปลูกหญ้าแฝกจะพบว่า ดินเก็บความชื้นได้ยาวนานกว่า เนื่องจากส่วนของรากหญ้าแฝกที่ประสานกันเป็นร่างแห จะช่วยดูดยึดน้ำไว้ในดิน ซึ่งเห็นได้จากไม้ผล หรือพืชไร่ที่เจริญใกล้แถวหญ้าแฝก จะมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าพืชที่ไม่ได้ปลูกใกล้หญ้าแฝก ปัจจัยหนึ่งคือ ระดับความชื้นในดินมีมาก และยาวนานกว่า

3. การเพิ่มอัตราการระบายน้ำและอากาศ ระบบรากของหญ้าแฝกที่แพร่กระจาย มีส่วนช่วยให้ดินมีการระบายน้ำ และอากาศได้ดีมากขึ้นกว่าการไม่มีรากหญ้าแฝก

4. การเพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน บริเวณรากหญ้าแฝกพบว่า มีเชื้อจุลินทรีย์อยู่มากมายหลายชนิด ส่วนใหญ่มีผลดีต่อการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารพืชในดิน ช่วยดูดธาตุอาหารจากดิน และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรของเชื้อจุลินทรีย์ในบริเวณราก ลักษณะดังกล่าวส่งผลดีต่อการเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน

จากปัจจัยดังกล่าว การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดินเสื่อมโทรม หรือพื้นที่ดินมีปัญหา จึงมีส่วนช่วยฟื้นฟู และปรับปรุงดินมห้มีสภาพดีขึ้น เนื่องจากผลของอินทรียวัตถุที่เพิ่มขึ้น และกิจกรรมของเชื้อจุลินทรีย์บริเวณรากหญ้าแฝก รวมทั้งการมีความชื้นที่ยาวนานขึ้น สภาพดินจึงมีการพัฒนา และความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ



การรักษาสภาพแวดล้อม

หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากหนาแน่นจำนวนมาก และเจริญในแนวลึกมากกว่าด้านข้าง ประกอบกับหญ้าแฝกเจริญเติบโตได้ในสภาพที่มีโลหะหนัก ลักษณะดังกล่าว จึงมีการนำหญ้าแฝกมาปลูกเพื่อใช้บำบัดน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท และดูดซับโลหะหนักจากดิน สำหรับวิธีการที่นำหญ้าแฝกไปปลูกเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาสภาพแวดล้อม ได้แก่

1. การปลูกหญ้าแฝกรอบขอบบ่อบำบัดน้ำทิ้ง เพื่อให้หญ้าแฝกช่วยดูดโลหะหนักบางชนิด

2. การปลูกหญ้าแฝกในดินเพื่อดูดโลหะหนักจากดิน

3. การปลูกหญ้าแฝก แล้วให้น้ำทิ้งไหลผ่านในอัตราการไหลที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังมีนักวิจัยดำเนินการ เพื่อศึกษาวิจัยการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในการรักษาสภาพแวดล้อม และบำบัดน้ำทิ้งในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

ความสามารถของหญ้าแฝกที่ทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
สภาพต่าง ๆ ระดับที่หญ้าแฝกเจริญได้ ระดับที่ถือว่าปนเปื้อนในดิน
PH ของดิน 3.3 -
อลูมิเนียม (%) 68 (ที่ pH 3.8) -
แมงกานีส (ppm) 578 (ที่ pH 9.5) -
ปริมาณเกลือ (%) 33 (ที่ pH 9.5) -
ความเค็ม (ds/m) 17.5 -
อาร์เซนิก (ppm) 100-250 50
แคดเมียม (ppm) 10-20 3
โครเมียม (ppm) 200-600 50
ทองแดง (ppm) 50-100 60
นิเกิล (ppm) 50-100 60

ที่มา : ความรู้เรื่องหญ้าแฝก กรมพัฒนาที่ดิน, 2541



http://www.ku.ac.th

ทักษะการเล่นเเฮนบอล

กีฬาแฮนด์บอล เป็นพื้นฐานของการเล่นบาสเกตบอล การเล่นแฮลด์บอลต้องใช้ทักษะการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว และทักษะด้านอื่น ๆ ผสมผสานกัน

๑ องค์ประกอบการเล่น
การเล่นกีฬาแฮนด์บอล ต้องอาศัยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
๑) ผู้เล่น ประกอบด้วย ๒ ฝ่าย ๆ ละ ๗ คน โดยเป็นผู้เล่นในสนาม ๖ คน และผู้รักษาประตู ๑ คน
๒) ลูกบอล ทำด้วยหนังหรือวัสดุเทียมทรงกลม ผิวไม่ลื่น
๓) ระยะเวลาในการเล่น แบ่งออกเป็น ๒ ครึ่ง ครึ่งละ ๓๐ นาที และมีพักระหว่างครึ่ง ๑๐ นาที
๔) สนาม มีลักษณะ ดังนี้
(๑) สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร มีเส้นแบ่งแดนตารางกึ่งกลางสนาม
(๒) ประตูสูง ๒ เมตร ห่างกัน ๓ เมตร
๕) วิธีเล่น
(๑) ก่อนเริ่มเล่น ให้ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่าย เสี่ยงมีสิทธิเลือกแดนหรือเลือกส่งก่อน
(๒) เริ่มเล่น โดยให้ฝ่ายที่เลือกส่งลูกก่อนได้ส่งลูกจากบริเวณจุดศูนย์กลางของเส้นแบ่งแดนให้กับเพื่อนฝ่ายตนเองทันทีภายในเวลา ๓ วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีดแล้ว
(๓) ให้ผู้เล่นแต่ละฝ่าย ส่งลูกบอลต่อ ๆ กันไป เพื่อทำประตูให้ได้โดยขว้างบอลให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้าม
(๔) การพาบอลเคลื่อนที่ไปให้ใช้มือเลี้ยงลูก
๒ กติกาการเล่นแฮนด์บอล
การเล่นแฮนด์บอลต้องยึดตามกฏ กติกาที่กำหนดไว้เป็นสำคัญ
๑) กติกาทั่วไป มีดังนี้
(๑) ให้ผู้เล่นขว้าง ทำให้ลูกกระดอน หยุดจับ ในลักษณะใดก็ได้โดยใช้มือ แขน ศีรษะ ขาท่อนบน และหัวเข่า แต่ห้ามใช้ส่วนของร่างกายตั้งแต่หัวเข่าลงมาถูกลูกแฮนด์บอล
(๒)ให้ผู้เล่นถือลูกบอลเคลื่อนที่ได้ แต่ไม่เกิน ๓ ก้าว
(๓) ให้ผู้เล่นครอบครองลูกได้ไม่เกิน ๓ วินาที
(๔) ให้ผู้เล่นส่งลูกจากมือข้างหนึ่งไปยังมืออีกข้างหนึ่งของตนได้
(๕) ให้ผู้เล่นส่งลูกขณะที่นั่งคุกเข่าหรือนอนอยู่ได้
(๖) ห้ามผู้เล่นขวางฝ่ายตรงข้ามด้วยมือ แขน ขา
(๗) ห้ามผู้เล่นดึงหรือตีลูกจากมือคู่ต่อสู้
(๘) ห้ามใช้ลูกบอลทำให้คู่ต่อสู้เกิดอันตราย หรือเล่นรุนแรง
(๙) ห้ามดึงหรือผลักคู่ต่อสู้ด้วยมือและแขน
(๑๐) ห้ามไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเข้าไปในเขตประตู
(๑๑) ห้ามไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเข้าไปในเขตประตู
๒) การได้ประตู จะได้ประตูต่อเมื่อบอลผ่านเส้นประตู โดยที่ผู้ยิงประตูและผู้เล่นฝ่ายที่ทำประตูไม่ได้ทำผิดกติกา ถือว่าได้ ๑ คะแนน ต่อการยิงประตู ๑ ประตู ถ้าฝ่ายใดทำลูกเข้าประตูตนเอง ถือว่าอีกฝ่ายได้ประตูไป
๓) การส่งลูกจากมุมสนาม ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ทำลูกออกไปนอกเส้นประตูของตน ให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายส่งลูกจากมุมสนาม
๔) การส่งลูกจากประตู ถ้าฝ่ายรุกหรือผู้รักษาประตูของฝ่ายรับทำลูกออกนอกสนามทางเส้นหลังประตู ให้ผู้รักษาประตูของฝ่ายรับเป็นผู้ส่งลูกจากประตู การส่งลูกจากประตู ถ้าลูกเข้าประตูถือว่าไม่ได้คะแนน
๓ ทักษะในการเล่นกีฬาแฮนด์บอล
ก่อนการเล่นแฮนด์บอล นักเรียนควรฝึกทักษะการจับบอล การเลี้ยงบอลและการรับส่งบอลในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่ว ซึ่งทักษะต่าง ๆ ที่นักเรียนควรฝึก มีดังนี้
๑) การจับบอล ใช้มือทั้งสองข้างจับบอล โดยกางนิ้วออกให้นิ้วหัวแม่มือชี้เข้าหากัน งอข้อศอกเล็กน้อย
๒) การส่งบอล
(๑) ส่งบอลสองมือระดับอกยืนแยกขาให้ห่างกันพอสมควร จับบอลให้อยู่ระดับอก แล้วก้าวไปข้างหน้า ๑ ก้าว พร้อมกับส่งบอลออกไป ให้แขนเหยียดตรง และมือแบออกด้านข้าง
(๒) ส่งบอลสองมือเหนือศีรษะ ใช้มือทั้ง ๒ ข้างจับลูกบอลชูเหนือศีรษะ กางข้อศอกเล็กน้อย โยกแขนไปข้างหลังเล็กน้อย ส่งลูกบอลออกไปเหยียดแขนตรง พร้อมกับก้าวขาไปข้างหน้าจังหวะเดียวกับส่งบอลไป
(๓) ส่งบอลมือเดียวเหนือศีรษะ จับบอลด้วยมือข้างใดข้างหนึ่งแล้วชูขึ้นเหนือศีรษะ อีกมือหนึ่งประคองลูก ก้าวเท้าข้างที่ตรงข้ามกับมือที่ถนัดไปข้างหน้า ๑ ก้าว เอนตัวไปข้างหลัง แล้วสลัดมือปล่อยบอลออกไป
(๔) ส่งบอลกระดอน ยืนแยกขาห่างกันเล็กน้อย จับบอลให้อยู่ระดับอก แล้วผลักบอลออกไปโดยให้กระทบพื้น แล้วกระดอนไปข้างหน้า
(๕) ส่งบอลมือเดียวล่าง โดยจับบอลด้วยมือใดมือหนึ่งเป็นหลักอีกมือหนึ่งประคองบอลไว้ เหวี่ยงแขนไปด้านหลังเล็กน้อยก่อนผลักลูกบอลออกไป
(๖) ส่งบอลสองมือล่าง ย่อตัวลงเล็กน้อย จับบอลให้อยู่ระหว่างขาทั้งสอง ปล่อยบอลออกไป การส่งบอลสองมือล่างจะส่งได้ระยะสั้น ๆ
๓ ) การรับบอล
(๑) รับบอลสองมือระดับอก เหยียดแขนทั้ง ๒ ข้างขึ้นไปข้างหน้ากางนิ้วมือออก ให้นิ้วหัวแม่มือชี้เข้าหากัน เมื่อลูกกระทบมือให้ดึงมือเข้าหาลำตัว
(๒) รับบอลสองมือเหนือศีรษะ เหยียดแขนทั้ง ๒ ข้างเหนือศีรษะโดยหันฝ่ามือไปหาลูก เมื่อรับลูกแล้วให้ดึงมาหาลำตัวโดยเร็ว
(๓) รับบอลสองมือด้านข้าง หันฝ่ามือไปหาลูก เมื่อลูกลอยมาเข้ามือให้ผ่อนมือและใช้มืออีกข้างหนึ่งประคองลูกไว้
(๔) รับบอลสองมือล่าง หันหน้าไปในทิศทางที่ลูกพุ่งมา ย่อเข่าลงพร้อมกับเหยียดแขนใช้นิ้วมือกางออกและชี้ลงพื้น เมื่อลูกกระทบมือแล้วให้ดึงลูกเข้าหาลำตัวโดยเร็ว
๔) การเลี้ยงบอล
ก้มตัวเล็กน้อย ย่อเข่า แล้วใช้มือข้างที่ถนัดเลี้ยงลูกบอล โดยกางนิ้วมือทั้งห้าออก แล้วกดลูกลงสู่พื้น เมื่อลูกกระดอนขึ้นมา ให้ผ่อนมือขึ้นเล็กน้อยจากนั้นกดลูกลงสู่พื้นอีก การเลี้ยงลูกมีทั้งเลี้ยงลูกต่ำและสูง การเลี้ยงลูกต่ำใช้ในการเคลื่อนไหวรวดเร็ว และหลบหลีกคู่ต่อสู้ ส่วนการเลี้ยงลูกสูงใช้ในการหาทิศทางการส่ง
๕) การยิงประตู
(๑) การยิงประตูแบบลูกกระดอนต่ำ กระโดดหรือยืนอยู่กับที่แล้วใช้มือเพียงข้างเดียวขว้างบอลให้ตกพื้นกระดอนเข้าประตูไปอย่างรวดเร็ว
(๒) การยิงประตูแบบกระโดดพุ่งตัว ให้ผู้เล่นที่เข้ายิงประตูก้าวเท้า ๑ ก้าว พร้อมกับกระโดดสปริงข้อเท้าให้ตัวลอยขึ้น แล้วขว้างบอลเข้าประตูอย่างรวดเร็ว


ขอขอบคุณเนื้อหาจาก บริษัทอักษรเจริญทัศน์
จากหนังสือ แม่บทมาตรฐาน สุขศึกษาและพลศึกษา ป.๔ พิมพ์ครั้งที่ ๓


http://www.trueplookpanya.com/

ทักษะการเล่นเปตอง

กีฬาเปตองเบี้องต้น


ประวัติความเป็นมากีฬาเปตองในประเทศไทย
กีฬาเปตองได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยการริเริ่มของนายจันทร์ โพยหาญ นำกีฬาเปตองเข้ามาเผยแพร่ให้คนรู้จัก อย่างเป็นทางการคนแรก นายจันทร์ โพยหาญได้ร่วมกับนายศรีภูมิ สุขเนตร ซึ่งเป็นอดีตนักเรียนเก่าฝรั่งเศส ซึ่งมีความรู้ความสามารถในด้านกีฬาเปตองเป็นอย่างดี ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมเปตอง และโรปวังซาล แห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2519 โดยมีนายศรีภูมิ สุขเนตร เป็นนายกสมาคมคนแรกเมื่อจัดตั้งสมาคมเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการได้ช่วยกันรณรงค์เผยแพร่ และสาธิตการเล่นเปตองมาโดยตลอด แต่ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร
ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนีทรงช่วยส่งเสริม และเผยแพร่ให้อีกทางหนึ่ง โดยทรงรับสั่งให้จัดการแข่งขันเปตองชิงชนะเลิศภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ซึ่งพระองค์ท่านและสมเด็จพระพี่นางเอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ ทรงได้ลงร่วมทำการแข่งขันในครั้งนี้ด้วย และอีกหลาย ๆ รายการจึงให้สมญานามกีฬาเปตองว่า “กีฬาสมเด็จย่า”
ใน พ.ศ. 2527 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ รับสมาคมเปตองและโปรวังซาล แห่งแระเทศไทย ไว้ในพระอุปถัมภ์ และวันที่ 22 เมษายน 2530 เปลี่ยนชื่อสมาคมเปตองฯ เป็นสหพันธ์เปตอง แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ สำนักงานตั้งอยู่ที่ 2088 อินเดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก กรุงเทพฯ ปัจจุบันกีฬาเปตอง มีการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬา ของส่วนราชการต่าง ๆ รวมทั้งภาคเอกชนด้วย เช่น กีฬาแห่งชาติ กีฬาเขตการศึกษา กีฬากองทัพไทย กีฬามหาวิทยาลัย กีฬาของกระทรวงต่าง ๆ กีฬารัฐวิสาหกิจ เป็นต้น


จุดเด่นของกีฬาเปตอง
1. เป็นพื้นฐานในการเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ ลักษณะของการเล่นเป็นการ เสริมสร้างแนวความคิด และสติปัญญาของผู้เล่น
2. ในระหว่างการเล่นร่างกายจะได้รับการบริหารทุกส่วน กล่าวได้ว่าในการเล่นเปตอง 6 เกมส์/วัน จะต้องออกกำลังในการใช้ลูกบลูที่มีน้ำหนัก 680/700 กรัม ถึงประมาณ 200 ครั้ง ก้มขึ้นลงประมารณ 250 ครั้ง เดินไปมาในสนามประมาณ 3 กิโลเมตร
3. การเล่นกีฬาประเภทนี้ง่าย และสะดวก เล่นได้ทุกเวลาทั้งในร่ม และกลางแจ้ง สนามเดิน หญ้า และลูกรัง


ประโยชน์ของกีฬาเปตอง
พัฒนาทางด้านร่างกาย
- กำลังแขน ผู้เล่นจะฝึกการใช้กำลังทั้งนิ้วมือ ข้อมือ แขน ข้อศอก และหัวไหล่ให้สัมพันธืกัน เพื่อการบังคับลูกให้ได้จังหวะ และระยะที่ต้องการ
- กำลังขา ผู้เล่นจะต้องเดินไปเดินมาตามความยาวของสนามซึ่งมีขนาดยาว 15 เมตร กว้าง 4 เมตร ลุกนั่ง เพื่อการวาง หรือเข้าลูกตลอดเวลาการเล่น
- สายตา กีฬาเปตองช่วยให้เกิดการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างสายตา และมือ เนื่องจากต้องใช้สายตา กะระยะทาง พิจารณาแง่มุมต่าง ๆ ที่จะเข้าลูกตีลูก เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามต้องการ

พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
- กีฬาเปตองเป็นเกมการเล่นที่จำเป็นต้องอาศัยการคิด คาดคะเน และการอ่านเกมในการเล่น อย่างจริงจัง คิดเกมรับเมื่อเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และเกมรุกที่บังคับให้ฝ่ายตรงข้ามเล่นตามเกมที่เราวางไว้

พัฒนาการทางด้านจิตใจ
- กีฬาเปตองมีทั้งเดี่ยว คู่ทีม ผู้เล่นจะต้องเข้าใจถึงจิตใจของผู้ร่วมทีมเป็นอย่างดี มีการปรึกษาหารือกัน ยอมรับความคิดของกัน และกัน แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี สมาธิเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งไม่ว่าเป้นการเล่นประการใด ๆ ผู้เล่นจะต้องฝึกการวางเฉย ทำจิตให้สงบ ทำสมาธิให้ได้ ตั้งความหวังให้น้อย กว่าความเป็นจริง ไม่วิตกกังวลเกินไป ไม่ท้อถอยในการเล่น ไม่สนใจเสียงข่มขวัญ เสียงเชียร์ที่ดัง การสอนเกมการเล่นของฝ่ายตรงข้าม เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดความกังวลสับสน จะมีผลต่อเกมการเล่น ถ้าสมาธิไม่ดีพอ

การพัฒนาการทางด้านสังคม
- กีฬาเปตอง เป็นกีฬาที่เล่นได้ไม่ยาก จึงมีผู้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายจะเห็นได้ว่าในหมู่บ้าน หน่วยงานของรัฐและเอกชนได้จัดให้มีการแข่งขัน เพื่อให้ผู้เล่นได้มาพบปะสังสรรค์ได้รู้จักและได้ร่วมสนุกกัน นับเป็นการสร้างสังคมอันดีแก่นักกีฬา นอกจากนี้ยังลดปัญหาสารเสพติด เนื่องจากคนหันมาเล่นกีฬาล่งผลให้ปัญหาอาชญากรรมลดลง
- ดังนั้นการเล่นกีฬาเปตองจำเป็นต้องรู้พื้นฐานของการเล่น การใช้เทคนิคทุกรูปแบบ

อุปกรณ์การเล่นเปตอง
1. ลูกเปตอง (ลูกบูล) เป็นลูกทรงกลมด้านในกลวง ทำด้วยโลหะมีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 71-76 ม. มีน้ำหนัก 350-800 กรัม มีเครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลขแสดงน้ำหนัก และเลขรหัสปรากฎอยู่บนลูกบูลอย่างชัดเจน หมายเหตุ : ปัจจุบันประเทศไทยมีลูกเปตองที่ทำด้วย พลาสติกเรียกว่า “ลูกพลาสตอง” ผลิต จำหน่าย โดยบริษัท มาราธอน มีขนาด น้ำหนัก มาตรฐาน ใกล้เคียงกับลูกเปตองสามารถใช้เล่นฝึกซ้อม หรือแข่งขันได้ในบางรายการ
2. ลูกเป้า เป็นลูกทรงกลมทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือพลาสติก มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 25-35 ม.ม. ทาสีที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
3. สนามเล่น สามารถเล่นได้ทุกสนาม ที่มีด้านหน้าเรียบยาวตรงพอประมาณ ขนาดของสนามกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร (ยกเว้นพื้นไม้ พื้นคอนกรีตลาดยาง)


ประเภทการเล่น
แบ่งประเภทการเล่นเป็น 3 ประเภท คือ
1. ประเภทเดี่ยว ใช้ลูกบูล 3 ลูก
2. ประเภทคู่ คู่ผสม ใช้ลูกบูลคนละ 3 ลูก
3. ประเภททีม ใช้ลูกบูลคนละ 2 ลูก


วิธีการเล่นเปตอง
แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ๆ ละเท่า ๆ กัน ให้ลูกบูลมีลวดลายต่างกัน
- เริ่มด้วยการเสี่ยง เพื่อตัดสินว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายได้เริ่มเล่นก่อน
- ฝ่ายชนะเสื่ยงเริ่มเล่นคนใดคนหนึ่ง เลือกจุดเริ่มต้น เขียนวงกลมบนพื้นสนามเส้นผ่านศูนย์กลาง ระหว่าง 35-50 ซม. ห่างจากเส้นสนามได้น้อยกว่า 1 เมตร
- ฝ่ายชนะการเสี่ยงคนใดคนหนึ่งเข้าไปโยนลูกเป้าในสนาม ให้ห่างจากจุดเริ่มต้น ตามระยะดังนี้
- สำหรับเด็กเล็ก ไม่น้อยกว่า 4 เมตร ไม่เกิน 8 เมตร
- สำหรับเยาวชน ไม่น้อยกว่า 5 เมตร ไม่เกิน 9 เมตร
- สำหรับเยาวชน ไม่น้อยกว่า 6 เมตร ไม่เกิน 9 เมตร
- ผู้ใหญ่หรือทั่วไป ไม่น้อยกว่า 6 เมตร ไม่เกิน 10 เมตร

การบริหารร่างกายก่อนและหลังการฝึก
ก่อนการเล่น
การบริหารร่างกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักกีฬาทุกคน และต้องปฏิบัติเป็นประจำ ก่อนและหลังการฝึกซ้อมทุกครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ระบบภายในต่าง ๆ ของร่างกายตื่นตัว ระบบประสาทมีความฉับไวในการรับคำสั่งจากสมอง ไม่เกิดอาการเฉื่อยชา ระบบการหายใจทำงานได้สะดวก หัวใจสูบฉีดโลหิตได้ดี ปอดมีการขยายตัว ทำให้มีความจุของปอดทำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้เพียงพอ นอกจากนั้นยังทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยืดหยุ่น แข็งแรงทนทานพร้อมที่จะเริ่มต้นฝึกซ้อมได้


หลังการเล่น
หลังการฝึกซ้อมทุกครั้ง ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกิดความตึงเครียด และเสียพลังงานไปเป็นจำนวนมาก การบริหารร่างกายหลังการฝึกซ้อม เช่น บีบ นวด กด จับ ทุกสลับกันไป จะเป็นการผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ไม่ให้เกิดความเมื่อยล้า และนอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบภายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายกลับสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด

วิธีการจับลูกเปตอง
1. หงายมือวางลูกบูลลงไปในอุ้มมือในท่าที่สบาย (รูปที่1)
2. หรือคว่ำมือจับลูก (รูปที่2)
3. ทั้งนี้จะจับแบบใดก้ได้แต่ความถนัดของแต่ละบุคคล


http://www.trueplookpanya.com/

ทักษะการชกมวย

การสอนศิลปะมวยไทย

และ

การบริหารกายท่ามวยไทย



ผู้ที่มีลักษณะมวยไทยและได้ผ่านการฝึกชกมวยไทยมาแล้ว จะมีร่างกายแข็งแรง อดทน มีความแคล่วคล่องว่องไว มีความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง สามารถนำมวยไทยไปใช้ป้องกันตนเองเมื่อถึงคราวจำเป็นได้ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการที่เยาวชนไม่ได้รับการฝึกหัดมวยไทยเท่าที่ควรนั้น เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่เข้าใจว่า การเรียนมวยไทยนั้นต้องทำการชกต่อยต่อสู้กันอย่างดุเดือดถึงเลือดตกยางออกเหมือนบนเวที แต่แท้จริงแล้วมวยไทยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ สามารถเรียนรู้ไปเพื่อเป็นศิลปะประจำตัว เพื่อการออกกำลังกายและการพักผ่อน เพื่อใช้ป้องกันตัวเมื่อยามคับขัน และถ้ามีความสามารถอาจฝึกเทคนิคชั้นสูงเพื่อนำไปประกอบอาชีพได้ สถานศึกษาจึงควรชี้แจงเหตุผลและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ศิลปะมวยไทยให้แก่ผู้ปกครองหรือผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ

การฝึกสอนศิลปะมวยไทยที่ถูกต้อง ก่อนอื่นควรสร้างความศรัทธาและแรงจูงใจที่ให้ผู้เรียน มีความรักและเข้าใจในศิลปะมวยไทยที่พอควร ควรเริ่มจากทักษะและวิธีที่ง่าย ๆ จนถึงขั้นตอนที่ยากขึ้นตามลำดับโดยเริ่มฝึกกิจกรรมที่เบา ๆ เป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มหรือเป็นคู่ ๆ ในระยะสั้น จนถึงกิจกรรมที่หนักและนานขึ้นตามลำดับและให้คำนึงถึงสภาพและวัยของผู้เรียนด้วยหลักการสอนมวยไทยขั้นพื้นฐาน

การสอนศิลปะมวยไทยโดยทั่วไปมีหลักการเช่นเดียวกับวิชาพลศึกษา แต่ผู้สอนควรได้ตระหนัก เน้นถึงปัญหาและข้อควรคำนึงกล่าวมาแล้ว ตลอดทั้งใช้หลักจิตวิทยาในการสอนหลาย ๆ อย่างมาผสมผสานกัน โดยมีหัวข้อที่นำไปพิจารณาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดังนี้

วัตถุประสงค์การเรียน
พฤติกรรมปลายทางของการเรียนรู้ศิลปะมวยไทย เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของชาติไทย สามารถนำกิจกรรมมวยไทยไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อการออกกำลังกายและการนันทนาการได้ บางครั้งอาจนำไปใช้ป้องกันเมื่อถึงคราวจำเป็น ตลอดทั้งผู้ที่มีความสามารถพิเศษอาจนำไปประกอบอาชีพได้ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1.1 เพื่อให้รู้ถึงประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของศิลปะมวยไทย

1.2 เพื่อให้รู้จักระเบียบประเพณีการฝึก การแข่งขันชกมวยไทย

1.3 เพื่อให้เข้าใจถึงประโยชน์และคุณค่าของมวยไทยและคุณสมบัติของนักมวยไทยที่ดี

1.4 เพื่อให้เกิดความศรัทธาและตระหนักในความสำคัญของศิลปะมวยไทย

1.5 เพื่อให้ให้สามารถเลือกกิจกรรมมวยไทยมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อการออกกำลังกายและการนันทนาการได้

1.6 เพื่อให้สามารถใช้ทักษะมวยไทยในการป้องกันตัวหรือเพื่อประกอบอาชีพได้ ถ้ามีความสามารถ

1.7 เพื่อแสดงออกถึงการมีศิลปะมวยไทยประจำตัวให้เป็นที่รู้จักของคนต่างชาติได้

2.เนื้อหาสาระในการเรียนรู้ศิลปะมวยไทย

มีหัวข้อที่ควรเรียนรู้ที่ผู้เรียนควรได้ศึกษาและทำความเข้าใจตามลำดับ ส่วนในแต่ละหัวข้อจะเรียนละเอียดลึกซึ้งเพียงใดควรให้พิจารณาตามความเหมาะสมและประสบการณ์พื้นฐานของผู้เรียน คือ

ประวัติความเป็นมาของศิลปะมวยไทย
ระเบียบประเพณี คุณค่า และการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับมวยไทย
ทักษะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับมวยไทย การตั้งท่าการเคลื่อนที่ การแต่งกาย และการบำรุงรักษาสุขภาพเป็นต้น
การใช้อาวุธหมัด หมัดตรง หมัดสอยดาวและหมัดสวิง หรือหมัดเหวี่ยง
การใช้อาวุธศอก ศอกตี ศอกตัด ศอกกระทุ้ง และศอกกลับ
การใช้อาวุธเตะ เตะตรง เตะเฉียง เตะตัด เตะตวัด และเตะจระเข้ฟาดหาง
การใช้อาวุธถีบ ถีบตรง ถีบด้วยส้นเท้า ถีบจิกด้วยปลายเท้า แลถีบแล้วขยุ้มด้วยปลายเท้า
การใช้อาวุธเข่า เข่าโหน เข่าตี เข่าตัด เข่าลอย และเข่าลา
ไม้มวยไทย แม่ไม้มวยไทย ลูกไม้มวยไทย
การไหว้ครู การขึ้นพรหม การรำมวยประเพณีการแข่งขันชกมวยไทย
ประเพณีและระเบียบกติกาการแข่งขันมวยไทยที่ควรทราบ
การฝึกกายบริหารท่ามวยไทย ท่าถวายบังคับ ท่ารำมวยไทย ท่าทักษะมวยไทย ท่าการใช้และการป้องกัน อาวุธ หมัด ศอก เข่า และการเตะ
3.ลำดับขั้นในกาสอนศิลปะมวยไทย

ในการสอนแต่ละครั้งหรือแต่ละเรื่อง ควรลำดับขั้นการสอนให้ครบทุกขั้นตอนหรือเลือกใช้ให้เหมาะสมดังต่อไปนี้

ขั้นสร้างความสนใจ เป็นขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อเร้าให้เกิดความสนใจกิจกรรมที่นำมาใช้ในขั้นนี้ เช่น การสนทนาซักถาม การแสดงประวัตินักมวยไทยในอดีต การยกตัวอย่างนักมวยไทยในปัจจุบัน การแสดงภาพและข่าวสารทางสื่อมวลชน ฯลฯ
ขั้นเตรียม เพื่อสร้างความพร้อมทั้งจิตใจและร่างกาย เช่น การตรวจสภาพความเจ็บป่วย การอบอุ่นร่างกาย การปฏิบัติตามแบบฉบับการฝึกมวยไทย การทบทวนประสบการณ์เดิม การฝึกกายบริหารท่ามวยไทย ฯลฯ
ขั้นฝึกปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมโดยการฝึกทักษะต่าง ๆ ตามแบบฉบับของมวยไทย เช่น การใช้อาวุธหมัด การใช้อาวุธศอก การใช้อาวุธเตะ ฯลฯ ในขั้นนี้อาจผสมผสานลักษณะท่าการฝึกต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย วิธีการฝึกอาจใช้วิธีการสาธิต การปฏิบัติจริงเป็นรายบุคคลหรือเป็นคู่ เป็นกลุ่มแล้วแต่ความเหมาะสม
ขั้นสรุป เป็นขั้นประเมินผลการเรียนการสอนการติชมและการเสนอแนะผู้เรียน เพื่อให้นำไปแก้ไขในสิ่งบกพร่องตามที่ได้ฝึกปฏิบัติมา และชมเชยในสิ่งที่ปฏิบัติได้ดีมีการนัดหมายการฝึกครั้งต่อไป การตรวจสอบความเจ็บป่วยและผลการเรียนจากผู้เข้าฝึกปฏิบัติ ตลอดทั้งการส่งเสริมประสบการณ์เรียนรู้ ด้วยตนเองในโอกาสต่อไป เป็นต้น
ขั้นถ่ายโอนประสบการณ์เรียนรู้ เป็นขั้นที่ผู้สอนแนะนำให้ผู้เรียนไปศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น การอ่านหนังสือเพิ่มเติม การติดตามข่าวและเหตุการณ์ทางสื่อมวลชน การประกวดภาพบทความ คำขวัญเกี่ยวกับการส่งเสริมศิลปะมวยไทย การจัดนิทรรศการ การสนทนา หรือสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ ฯลฯ เป็นต้น
4.การประเมินผลการเรียนและการปฏิบัติศิลปะมวยไทย

ควรประเมินผลการเรียนและการปฏิบัติในเรื่องศิลปะมวยไทยให้ครบทั้ง 3 ลักษณะให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน คือ

4.1 ในด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ประวัตความเป็นมา และวิวัฒนาการของมวยไทย คุณค่าและระเบียบประเพณีเกี่ยวกับมวยไทย หลักการและวิธีการใช้อาวุธต่าง ๆ สำหรับมวยไทย ยกตัวอย่างการปฏิบัติตนเป็นนักมวยไทยที่ดี บอกวิธีการและระเบียบกติกามวยไทยได้ ฯลฯ

4.2 ในด้านความรักความซาบซึ้งในศิลปะมวยไทย เช่น การตระหนักในความสำคัญของศิลปะมวยไทย ว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาติ คนไทยทุกคนต้องมีศิลปะประเภทนี้ประจำตัวทุกคน ฯลฯ

4.3 ในด้านทักษะความสามารถ เช่น การแสดงท่ากายบริหารมวยไทย การแสดงท่าไหว้ครู ท่ารำ ท่าการใช้อาวุธมวยไทย หรือถ้าเป็นไปได้อาจทำการแข่งขันมวยไทยสมัครเล่นก็ได้ ฯลฯ



http://learn.wattano.ac.th/

ทักษะการเล่นบอลเล่

5 เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ..เทคนิคการเล่นวอลเล่ย์บอล

1.การถวายพานให้ตัวรุก Dish it up
เมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งจะต้องผ่านบอลเพื่อให้เพื่อนทำการรุก สิ่งที่ควรปฏิบัติถ้าเป็นไปได้ก็คือ ใช้การเซ็ตถึงแม้ว่าบอลจะมาด้วยความเร็วหรือต่ำ เราก็ควรพยายามใช้การเซ็ต ผลที่ได้มันคุ้มค่ากับความพยายามเป็นอย่างมาก เพราะการผ่านบอลด้วยการเซ็ตจะมีความแม่นยำมากกว่าการใช้มือล่างทำให้การตบบอล ของเพื่อนร่วมทีมง่ายขึ้น

2.การรู้แผนการเล่นเสมอ Don't be Bashful
ก่อนสัญญาณการเล่นจะเริ่มในแต่ละลูกผู้เล่นที่เป็นตัวรุก จะต้องมองที่ตัวเซ็ต (Setter) เพื่อดูสัญญา (Signal) แผนการเล่นที่ตัวเซ็ตจะให้ และเมื่อได้รับสัญญาณ จะต้องแสดงการรับรู้ เช่น ผงกศรีษะ เพื่อจะได้เข้าใจได้ถูกต้องตรงกัน ถ้าเราไม่แน่ใจในสัญาณที่ตัวเซ็ตแสดง ผู้เล่นจะต้องตามตัวเซ็ตให้แน่นอนก่อนการเสริฟจะเริ่มขึ้น ดีกว่าปล่อยตามเลย เพราะผลที่เกิดอาจจะผิดพลาดได้ เช่น ตัวเซ็ต เซ็ตบอลไปที่ตำแหน่งหลังแต่ตัวรุก (Spiker) รอทำการรุกอยู่ด้านหน้า
3.การกู้วิกฤตด้วยกำปั้น Cract a knuckle
สถานการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อยในการเล่นคือ เมื่อบอลลอยอยู่เหนือตาข่ายและตัวผู้เล่นอยู่ห่างจากบอล วิธีการแก้สถานการณ์ที่ดีวิธีหนึ่ง คือ การใช้กำปั้นเล่นบอลทันที การใชกำปั้นเล่นบอลนั้นไม่มีทางที่กรรมการจะเป่าผิดกฎิกาได้ และการใช้กำปั้นอย่างมีประสิทธิภาพนั้นบริเวณที่ใช้สัมผัสสบอลควรจะเป็นบริเวณสันมือ และการเล่นแบบนี้ยิ่งใช้ได้กับสถานการณ์ที่บอลลอยมาสูงเกินที่ผู้เล่นสามารถเล่นด้วยการเซ็ตได้

4.การเป็นสิงโตตะครุบเหยือ Be a Lion not a Pig
ในการรับ (Defense) ตำแหน่งของบอลที่สามารถรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะอยู่ระดับบริเวณปลายเท้าถึงบริเวณข้อเท้าของเรา บอลที่มาในลักษณะที่จะบังคับทิศทางได้ง่าย ในการเตรียมพร้อมรับบอล ผู้เล่น จะต้องยืนด้วยปลายเท้าโดยทิ้งน้ำหนักตัวไปที่เท้านำ เพราะจะทำให้การเคลื่อนที่เข้าไปรับบอลทำได้ง่ายและต้องตื่นตัวเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา

5.การกระโดดเหมือนเดินบนอากาศ Sky Walken
การกระโดดทำการรุกหรือการกระโดดตบบอล (Spike) สิ่งที่ต้องคิดอยู่เสมอคือกระโดดให้สูงที่สุดไม่ต้องกลัวว่ากระโดดสูง จะทำให้เชือกผูกรองเท้าพันตาข่าย การฝึกกระโดดที่ได้ผลคือ การกระโดดแตะ แป้นบาสเกตบอล ถ้าเราทำเป็นประจำจะทำให้พัฒนาการกระโดดได้ดี การลงพื้นด้วยเท้าข้างใดข้างหนึ่งต้องลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองข้างโดย บริเวณปลายเท้าจะต้องสัมผัสพื้นก่อนส้นเท้า และต้องย่อเข่า ย่อตัว ตามลำดับเพื่อเป็นการถ่ายน้ำหนัก มิฉะนั้นอาจเกิดการบาดเจ็บที่ข้อเท้าหรือ หลังได้


http://www.google.co.th/

ทักษะการเล่นบาส

การกัดความ (Definitions) และลักษณะการเล่นบาสเกตบอล

1.1 เกมการแข่งขันขันบาสเกตบอล (Basketball game)
บาสเกตบอลเป็นการเล่นที่ประกอบด้วยผู้เล่น 2 ทีม แต่ละทีมมีผู้เล่น 5 คน จุดมุ่งหมายของแต่ละทีมคือ ทำคะแนนโดย การโยนลูกบอลให้ลงห่วงประตูของฝ่ายตรงข้าม และป้องกันอีกฝ่ายหนึ่งไม่ให้ครอบครองบอลหรือทำคะแนน

1.2 ห่วงประตูฝ่ายตนเอง/ฝ่ายตรงข้าม (Basket : own/opponents’)
ฝ่ายรุกทำคะแนนโดยนำลูกบอลโยนให้ลงห่วงประตูของฝ่ายตรงข้ามและป้องกันห่วงประตูของฝ่ายตนเอง

1.3 การเคลื่อนที่ของลูกบอล (Ball movement)
ลูกบอลอาจจะถูกส่ง โยน ปัด กลิ้ง หรือเลี้ยงในทิศทางใด ๆ ก็ได้ ภายใต้ข้อจำกัดที่กำหนดไว้ในกติกา

1.4 ผู้ชนะของเกมการแข่งกัน (Winner of a game)
เมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันของช่วงการเล่นที่ 4 หรือถ้าจำเป็นต้องต่อเวลาพิเศษ ทีมที่มีคะแนนมากกว่าจะเป็นผู้ชนะในเกมการแข่งขัน





ขนาดสนามและขนาดของเส้น (Court and line dimensions)

2.1 สนามแข่งขัน ( Playing Court )

สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นผิวเรียบ แข็งปราศจากสิ่งกีดขวางที่ทำให้เกิดความล่าช้าสำหรับการแข่งขันซึ่งจัดโดยสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ ขนาดสนามที่จะสร้างขึ้นใหม่ต้องยาว 28 เมตรและกว้าง 15 เมตร โดยวัดจากขอบใน ของเส้นเขตสนาม สำหรับการแข่งขันอื่นทั้งหมดที่สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติรับรอง เช่น สหพันธ์ระดับโซน หรือสมาคม แห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจเห็นชอบให้ใช้สนามขนาดเล็กสุดในการแข่งขันได้ คือ ยาว 26 เมตรและกว้าง 14 เมตร

2.2 เพดาน ( Ceiling)

ความสูงของเพดานหรือสิ่งกีดขวางต้องไม่ต่ำกว่า 7 เมตร

2.3 แสงสว่าง (Lighthing)>

พื้นผิวของสนามควรจะเหมือนกันและมีแสงสว่างเพียงพอ แสงสว่างต้องอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นของ ผู้เล่นและของผู้ตัดสิน

2.4 เส้น ( Lines)

เส้นทุกเส้นต้องเป็นสีเดียวกัน (ควรเป็นสีขาว) กว้าง 5 เซนติเมตร และมองเห็นได้อย่างชัดเจน
2.4.1 เส้นหลังและเส้นข้าง ( End lines and side-lines) สนามจะต้องถูกจำกัดโดยเส้นหลัง 2 เส้น (ด้านกว้างของสนาม) และเส้นข้าง 2 เส้น (ด้านยาวของสนาม) เส้นไม่เป็นส่วนหนึ่ง ของสนาม สนามต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวาง รวมถึงที่นั่งของทีมอย่างน้อย 2 เมตร
2.4.2 เส้นกลาง ( Center line) เส้นกลาง ต้องเขียนเส้นให้ขนานกับเส้นหลังที่จุดกึ่งกลางของเส้นข้างต้องมีส่วนยื่นออกไป 15 เซนติเมตร จากเส้นข้างแต่ละด้าน
2.4.3 เส้นโยนโทษ ( Free-throw lines) พื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ( Restricted areas) และเขตโยนโทษ (Free-throw lanes) เส้นโยนโทษ ต้องเขียนเส้นให้ขนานกับเส้นหลังแต่ละด้าน ห่างจากขอบในของเส้นหลัง 5.80 เมตร และมีความยาว 3.60 เมตร จุดกึ่งกลางของเส้นโยนโทษที่สมมุติขึ้นเป็นแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้ง 2 เส้น พื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ต้องเป็นพื้นที่ ในสนามที่กำหนดโดยเส้นหลัง เส้นโยนโทษ และเส้นซึ่งเริ่มต้นจากเส้นหลังห่าง 3 เมตร จากจุดกึ่งกลางของเส้นหลังและขอบนอก ของเส้นโยนโทษ เส้นจะแยกออกจากเส้นหลัง เส้นเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ภายในของพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาทีอาจจะทาสีก็ได้แต่ต้องเป็นสีเดียวกับสีที่ทาวงกลมกลางสนาม เขตโยนโทษเป็นพื้นที่ที่ต่อออกจากพื้นที่เขตกำหนด 3 นาทีเข้าไปในสนามโดยขีดเส้นเป็นครึ่งวงกลมรัศมี 1.80 เมตร ใช้จุด กึ่งกลางของเส้นโยนโทษเป็นจุดศูนย์กลาง เขตช่องยืนตามแนวเขตโยนโทษ เป็นช่องที่ให้ผู้เล่นยืนระหว่างการโยนโทษ จะต้องเขียนเส้นลักษณะ
2.4.4 วงกลมกลาง ( Center circle)
วงกลมกลางต้องเขียนไว้กลางสนามรัศมี 1.80 เมตร โดยวัดจากขอบนอกของเส้นรอบวง ถ้าทาสีภายในพื้นที่วงกลมต้องเป็น สีเดียวกับสีที่ทาพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที
2.4.5 พื้นที่ยิงประตู 3 คะแนน ( Three-point field goal area)
พื้นที่ยิงประตู 3คะแนนของทีมจะเป็นพื้นที่ทั้งหมดของสนามยกเว้นพื้นที่ที่ใกล้ห่วงประตูฝ่ายตรงข้ามซึ่งถูกจำกัดโดยสิ่งต่อไปนี้
- เส้นขนาน 2 เส้น จากเส้นหลังไปถึงปลายเส้นโค้งครึ่งวงกลมรัศมี 6.25 เมตร จากจุดนี้ตั้งฉากกับจุดศูนย์กลางของห่วงประตูของฝ่ายตรงข้าม ระยะห่างถึงขอบในของจุดกึ่งกลางเส้นหลัง 1.575 เมตร
- รูปครึ่งวงกลมมีรัศมี 6.25 เมตร จากจุดศูนย์กลางถึงขอบนอก (ซึ่งเป็นจุดเดียวกัน) ลากไปต่อกับเส้นขนาน

2.5 ตำแหน่งของโต๊ะเจ้าหน้าที่และที่นั่ง

เก้าอี้เปลี่ยนตัวผู้เล่นการจัดที่นั่งของทีม และที่นั่ง/เก้าอี้เปลี่ยนตัวผู้เล่น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแข่งขันทุกครั้งที่จัดโดยสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ และได้แนะนำให้กระทำสำหรับการแข่งขันอื่น ๆ ด้วย






อุปกรณ์ (Equiqment)
สำหรับรายละเอียดที่อธิบายถึงอุปกรณ์บาสเกตบอล ให้ดูในภาคผนวกเกี่ยวกับอุปกรณ์บาสเกตบอล

3.1 กระดานหลัง และสิ่งยึดกระดานหลัง (Backboards and backboard supports)

3.1.1 กระดานหลังที่สร้างขึ้นต้องทำด้วยวัสดุโปร่งใส (เลือกใช้กระจกนิรภัย) แผ่น เดียวกันตลอด ถ้าทำด้วยวัสดุอื่นที่ไม่โปร่งใสจะต้องทาพื้นสีขาว
3.1.2 ขนาดความกว้าง ยาว และหนาของกระดานหลังตามแนวนอนจะเป็น 1.80 เมตร และตามแนวตั้ง 1.50 เมตร
3.1.3 เส้นทุกเส้นบนกระดานหลังจะต้องเขียนดังต่อไปนี้
- เป็นสีขาว ถ้ากระดานเป็นวัตถุโปร่งใส
- เป็นสีดำ ถ้ากระดานหลังเป็นวัสดุอื่น
- เส้นมีขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร
3.1.4 พื้นผิวหน้าของกระดานหลังจะเรียบและทำ
3.1.5 กระดานหลังต้องติดยึดอย่างมั่นคง
- ที่เส้นหลังแต่ละด้านของสนามแข่งขัน โดยติดตั้งสิ่งยึดกระดานให้ตั้งฉากกับพื้น ขนานกับเส้นหลัง
- จุดกึ่งกลางของพื้นผิวด้านหน้าของกระดานหลัง ทิ้งดิ่งลงมายังพื้นสนามแข่งขัน จะสัมผัสจุดบนพื้น ซึ่งมีระยะห่าง1.20 เมตร จากจุดกึ่งกลางของขอบในของเส้นหลังแต่ละเส้น
3.1.6 เบาะหุ้มกระดานหลัง
3.1.7 สิ่งยึดกระดานหลัง
- ด้านหน้าของสิ่งยึดกระดานหลังที่สร้างขึ้น (หุ้มเบาะตลอด) ต้องอยู่ห่างจากขอบ ของเส้นหลังอย่างน้อย 2 เมตร มีสีสดใสแตกต่างจากพื้นหลัง เพื่อให้ผู้เล่นมองเห็นได้อย่างชัดเจน
- สิ่งยึดกระดานหลังต้องติดตั้งอย่างมั่นคงบนพื้นเพื่อป้องกันไม่ให้เคลื่อนที่เมื่อมี แรงกระแทรก
- สิ่งยึดกระด้านหลังที่อยู่ด้านหลังต้องหุ้มเบาะต่ำกว่าพื้นผิวของสิ่งยึดมีระยะห่าง จากด้านหน้าของกระดานหลัง 1.20 เมตร ความหนาของเบาะหุ้ม 5 เซนติเมตร และต้องมีคุณสมบัติเหมือนกับเบาะหุ้มกระดานหลัง
- สิ่งยึดกระดานหลังทั้งหมดต้องหุ้มเบาะเต็มพื้นที่ฐานของสิ่งยึดกระดานหลังสูง จากพื้นอย่างน้อย 2.15 เมตร บนสิ่งยึดด้านข้างสนาม มีความหนาเบาะหุ้ม 10 เซนติเมตร
3.1.8 เบาะหุ้มกระดานหลังที่สร้างขึ้นจะป้องกันแขนมือจากการปัด

3.2 ห่วงประตู (Baskets) ห่วงประตูต้องประกอบด้วย ห่วงและตาข่าย

3.2.1 ห่วง (The Rings) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- วัสดุต้องเป็นเหล็กกล้าแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในไม่น้อยกว่า 45เซนติเมตร ทาด้วยสีส้ม
- โลหะที่ใช้ทำห่วงจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในอย่างน้อย 16เซนติเมตร และไม่เกิน 2.0 เซนติเมตรพร้อมด้วยที่ยึดตาข่ายด้านล่างสำหรับเกี่ยวตาข่ายในลักษณะป้องกันนิ้วมือไปเกี่ยวจากการปัดซึ่งเป็นการป้องกันการยิงประตู
- ตาข่ายจะผูกติดกับห่วงแต่ละด้านในตำแหน่งที่ต่างกัน 12 จุด มีระยะห่าง เท่ากันรอบห่วง การผูกติดกันของตาข่ายจะต้องไม่คมหรือมีช่องว่างที่นิ้วมือสามารถเขาไปเกี่ยวได้
- ห่วงจะต้องยึดติดกับโครงสร้างที่ยึดกระดานหลังโดยไม่ทำให้เกิดแรงส่งตรงไป ยังห่วงซึ่งไม่สามารถทำให้กระดานหลังสั่นด้วยตัวของมันเองดังนั้น จะไม่เป็นการปะทะโดยตรงของห่วงระหว่างสิ่งค้ำที่เป็นโลหะกับกระดานหลัง (กระจกหรือวัสดุโปร่งใสอื่น)อย่างไรก็ตาม ช่องว่างจะต้องแคบพอเพื่อป้องกันนิ้วมือเข้าไปเกี่ยว
- ขอบบนสุดของห่วงแต่ละข้างจะต้องอยู่ในตำแหน่งตามแนวนอน สูง 3.0 เมตร จากพื้นสนามซึ่งกระดานหลังมีความสูงเท่ากันทั้ง 2 ด้าน
- จุดที่ใกล้ที่สุดของขอบในของห่วงจะต้องห่าง 15 เซนติเมตร จากด้านหน้าของ กระดานหลัง
3.2.2 ห่วงที่มีแรงอัด อาจจะใช้ในการแข่งขันได้
3.2.3 ตาข่าย (The nets) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- เป็นด้ายสีขาว แขวนติดกับห่วงและมีความฝืดเพื่อทำให้ลูกบอลผ่านห่วงประตู ช้ากว่าปกติ ตาข่ายต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า40 เซนติเมตร และไม่เกิน 45 เซนติเมตร
- ตาข่ายแต่ละข้างต้องมีห่วง 12 จุด สำหรับเกี่ยวติดกับห่วง
- ส่วนบนของตาข่ายต้องยืดหยุ่นได้เพื่อป้องกันสิ่งต่อไปนี้
- ตาข่ายเกี่ยวติดห่วง สะบัดขึ้นไปบนห่วงทำให้เกิดปัญหาตาข่ายเกี่ยวติดห่วง
- ลูกบอลค้างในตาข่ายหรือกระดอนออกจากตาข่าย

3.3 ลูกบาสเกตบอล (Basketballs)

3.3.1 ลูกบอล ต้องเป็นรูปทรงกลมและมีสีส้ม ซึ่งได้รับการรับรอง มี 8 ช่องกลีบ ตาม แบบเดิม กรุและเย็บเชื่อต่อกัน
3.3.2 ผิวนอกต้องทำด้วยหนัง หนังที่เป็นสารสังเคราะห์ ยาง หรือวัสดุสารสังเคราะห์
3.3.3 ลูกบอลจะขยายตัวเมื่อสูบลมเข้าไป ถ้าปล่อยลงสู่พื้นสนามจากความสูง โดยประมาณ 1.80 เมตร วัดจากส่วนล่างของลูกบอล ลูกบอลจะกระดอนขึ้นสูงวัดจากส่วนบนสุดจากของลูกบอลระหว่าง 1.20 เมตร ถึง 1.40 เมตร
3.3.4 ความกว้างของช่องกลีบที่เชื่อมต่อกันของลูกบอลต้องไม่มากกว่า 0.635เซนติเมตร
3.3.5 ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 74.9 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 78เซนติเมตร (ลูกบอลเบอร์ 7) จะต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 567 กรัม และไม่มากกว่า 650 กรัม
3.3.6 ทีมเหย้า (The home team) ต้องเตรียมลูกบอลที่ใช้แล้วโดยได้รับการ ยินยอมจากผู้ตัดสินอย่างน้อย 2 ลูก ผู้ตัดสินต้องพิจารณาเลือกลูกบอลที่ถูกต้องเพียงลูกเดียว ถ้าลูกบอลทั้ง 2 ลูก (ing team) หรือเลือกลูกบอลที่ใช้ในการอบอุ่นร่างกายมาใช้แข่งขันก็ได้

3.4 อุปกรณ์เทคนิค (Technical equipment)อุปกรณ์เทคนิคต่อไปนี้ต้องเตรียมโดยทีมเหย้าและต้องดำเนินการ โดยผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่โต๊ะ

3.4.1 นาฬิกาแข่งขันและนาฬิกาจับเวลา (Game clock and stopawtch
3.4.1.1 นาฬิกาแข่งขันจะต้องใช้สำหรับช่วงการเล่นและช่วงพักการแข่งขัน และ จะต้องติดตั้งให้ทุกคนที่เกี่ยวกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงผู้ชมด้วย
3.4.1.2 นาฬิกาจับเวลา (ไม่ใช่นาฬิกาแข่งขัน) จะต้องใช้สำหรับการจับเวลานอก
3.4.1.3 ถ้านาฬิกาแข่งขันติดตั้งไว้ที่กึ่งกลางเหนือสนามแข่งขัน ต้องมีนาฬิกาแบบ เดียวกันเพิ่มขึ้นมาแต่ละด้านของสนามด้านหลัง สูงพอประมาณ สามารถที่จะให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงผู้ชมด้วย นาฬิกาแข่งขันที่เพิ่มนจะต้องแสดงเวลาการแข่งขันที่เหลือ
3.4.2 เครื่องจับเวลา 24 วินาที (24 second device)
3.4.2.1 เครื่องจับเวลา 24 วินาที ต้องมีควบคุมเครื่องและแสดงสิ่งต่าง ๆ ตาม รายละเอียดดังต่อไปนี้
- ตัวเลขระบบดิจิตอลแบบนับถอยหลังแสดงเวลาเป็นวินาที
- ไม่แสดงตัวเลขบนเครื่องจับเวลา 24 วินาที เมื่อไม่มีทีมใดครอบครองบอล
- ความสามารถในการหยุดและเดินนับถอยหลังอย่างต่อเนื่องเมื่อเครื่องจับเวลา 24 วินาที เดินเวลาต่อจากที่ได้หยุดเวลาไว้
3.4.2.2 เครื่องจับเวลา 24 วินาที ต้องติดตั้งดังต่อไปนี้
- มีเครื่องจับเวลา 24 วินาที 2 เครื่องตั้งอยู่ข้างบนเหนือกระดานหลังแต่ละข้าง มีระยะห่าง ระหว่าง 30 เซนติเมตร ถึง 50 เซนติเมตร
- มีเครื่องจับเวลา 24 วินาที 4 เครื่องให้ติดตั้งไว้ทั้ง 4 มุมของสนาม อยู่ห่างเส้นหลังแต่ละ ด้าน 2 เมตร
- มีเครื่องจับเวลา 24 วินาที 2 เครื่องให้ติดตั้งโดยการวางไว้ในแนวทแยงมุมตรงข้าม เครื่อง หนึ่งวางทางด้านซ้ายของโต๊ะบันทึกคะแนน ซึ่งจะวางใกล้มุม เครื่องจับเวลา 24 วินาที ทั้ง 2 เครื่อง จะวางห่างจากเส้นแต่ละด้าน 2 เมตร และจากเส้นข้าง 2 เมตร
3.4.2.3 เครื่องจับเวลา 24 วินาที ทุกเครื่องจะต้องให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการ แข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจนรวมถึงผู้ชมด้ว
3.4.3 สัญญาณเสียง (Signals)ต้องกำหนดสัญญาณเสียงอย่างน้อย 2 ชุด ซึ่งมีเสียงแตกต่างกันอย่างชัดเจน และมีเสียงดังมากพอ
- สัญญาณเสียงหนึ่งสำหรับผู้จับเวลาแข่งขันและผู้บันทึกคะแนน สัญญาณเสียงของผู้จับ เวลาแข่งขันต้องเป็นเสียงที่ดังอัตโนมัติเพื่อแจ้งการสิ้นสุดเวลาการแข่งขันต้องเป็นเสียงที่ดังอัตโนมัต เพื่อแจ้งการสิ้นสุดเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ สัญญาณเสียงของผู้บันทึกคะแนนและผู้จับเวลาแข่งขันต้องควบคุมด้วยมือ เพื่อดำเนินการแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบว่ามีการขอเวลานอก เปลี่ยนตัวและมีการต้องขออื่น ๆ เช่นหลังเวลาผ่านไป 50 วินาทีของการขอเวลานอก หรือสถานการณ์ข้อผิดพลาดที่แก้ไขได้
- อีกสัญญาณเสียงหนึ่งสำหรับผู้จับเวลา 24 วินาที ซึ่งสัญญาเสียงดังอัตโนมัติเพื่อแสดง การสิ้นสุดช่วงเวลาการเล่น 24 วินาทีสัญญาณเสียงทั้ง 2 ชุด ต้องมีเสียงดังมากพอที่จะได้ยินภายใต้เสียงรบกวน หรือปรับเสียงให้ดังมากพอกับสภาพสิ่งแวดล้อม
3.4.4 ป้ายคะแนน (Scoreboard)ต้องเป็นป้ายคะแนนที่ติดตั้งให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนรวมถึงผู้ชมด้วยป้ายคะแนนต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
- เวลาการแข่งขัน
- คะแนน
- จำนวนของช่วงการเล่นปัจจุบัน
- จำนวนของเวลานอก
3.4.5 ใบบันทึกคะแนน (Scoresheet)ใบบันทึกคะแนนจะต้องได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการเทคนิคโลกของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติซึ่งจะใช้สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ
3.4.6 ป้ายแสดงการฟาล์วของผู้เล่น (Player foul markers)ต้องจัดเตรียมป้ายแสดงการฟาว์ลของผู้เล่นสำหรับผู้บันทึกคะแนน ป้ายต้องเป็นสีขาวพร้อมตัวเลขขนาดความยาว 20 เซนติเมตร และกว้าง 10 เซนติเมตร และมีตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 5 (ตัวเลข 1 ถึง 4 เป็นสีดำ ตัวเลข 5 เป็นสีแดง)
3.4.7 อุปกรณ์แสดงการฟาล์วทีม (Team foul markers)อุปกรณ์แสดงการฟาล์วทีมต้องเตรียมสำหรับผู้บันทึกคะแนนอุปกรณ์แสดงการฟาล์วต้องเป็นสีแดง กว้าง 20 เซนติเมตร สูง 35 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย และติดตั้งบนโต๊ะผู้บันทึก ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงผู้ชมด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ อาจจะใช้ได้โดยมีข้อแม้ว่าต้องมีสีที่เหมือนกัน และมีขนาดความกว้าง ยาวและหนาตามที่ระบุไว้ข้างต้น
3.4.8 ป้ายแสดงจำนวนการฟาล์วทีม (Team foul indicator)จะต้องมีป้ายที่เหมาะสมเพื่อแสดงตัวเลขจำนวนฟาล์วทีมถึงเลข 5 แสดงให้ทราบว่าทีมนั้นได้กระทำฟาล์วครบจำนวนที่จะต้องถูกลงโทษ (กติกาข้อ 55 บทลงโทษของฟาล์วทีม)
3.4.9 เครื่องชี้ทิศทางการครอบครองบอลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ หรือใช้งานด้วยมือ ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน

3.5 เครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ เครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ที่กล่าวถึงจะต้องเตรียมสำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ชิงแชมป์โลก ชาย หญิง เยาวชนชาย เยาวชนหญิง ยุวชนชายและยุวชนหญิง ชิงแชมป์ทวีป ชายหญิง เยาวชนชายและเยาวชนหญิง เครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์สามารถใช้กับการแข่งขันระดับอื่นทั้งหมดได้

3.5.1 ผู้ชมทุกคนจะต้องนั่งห่างอย่างน้อย 5 เมตร จากขอบด้านนอกของเส้นเขตสนามแข่ง ขัน
3.5.2 พื้นสนามต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ทำด้วยไม้
- เส้นเขตสนาม กว้าง 5 เซนติเมตร
- เส้นเขตสนามรอบนอก กว้างอย่างน้อย 2 เมตรทาด้วยสีแตกต่างกันอย่างชัดเจน สีของ เขตสนามรอบนอกควรจะเป็นสีเดียวกับวงกลมกลางและพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที
3.5.3 ต้องมีคนถูพื้นสนาม 4 คน โดย 2 คนทำหน้าที่แต่ละครึ่งของสนาม
3.5.4 กระดานหลังต้องทำด้วยกระจกนิรภัย
3.5.5 ผิวของลูกบอลต้องทำด้วยหนัง ฝ่ายจัดการแข่งขันต้องเตรียมลูกบอลอย่างน้อย 12ลูก มีลักษณะและรายละเอียดเหมือนกันสำหรับการฝึกซ้อมระหว่างการอบอุ่นร่างกาย
3.5.6 แสงสว่างเหนือสนามแข่งขันต้องมีความสว่างไม่น้อยกว่า 1,500 ลักซ์ ความสว่างนี้จะวัดเหนือพื้นสนามขึ้นไป 1.5 เมตร แสงสว่างต้องตรงหลักเกณฑ์ในการถ่ายทอดโทรทัศน์
3.5.7 สนามแข่งขันต้องติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากโต๊ะบันทึกคะแนน สนามแข่งขันที่นั่งของทีม และทุกคนเกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขัน รวมทั้งผู้ชมด้วย
3.5.7.1 ป้ายคะแนนขนาดใหญ่ 2 ชุด ติดตั้งที่ด้านหลังแต่ละด้านของสนาม
- ป้ายคะแนน ติดตั้งที่กึ่งกลางเหนือสนามขึ้นไป ไม่มีความจำเป็นต้องงดใช้ป้ายคะแนน 2 ชุด
- แผงควบคุมสำหรับนาฬิกาแข่งขันต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข แยกแผงควบคุมสำหรับผู้จับเวลาแข่งขันและผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนนออกจากกัน
- ป้ายคะแนนต้องประกอบด้วยตัวเลขระบบดิจิตอลแบบนับถอยหลังของนาฬิกา พร้อมสัญญาณเสียงดังมากพอซึ่งจะดังอัตโนมัติเมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
- นาฬิกาแข่งขันและคะแนนที่แสดงในป้ายคะแนน มีความสูงอย่างน้อย 30 เซนติเมตร
- นาฬิกาทั้งหมดต้องเดินเป็นจังหวะเดียวกันและแสดงจำนวนของเวลาที่เหลือตลอดเกมการแข่งขัน
- ระหว่าง 60 วินาทีสุดท้ายของแต่ละช่วงการเล่น หรือช่วงต่อเวลาพิเศษ จำนวนของเวลาที่เหลือต้องแสดงเป็นวินาที และเป็น 1 ส่วน 10 ของวินาที
- เลือกนาฬิกาอีก 1 เรือน โดยผู้ตัดสินสำหรับเป็นนาฬิกาแข่งขัน
- ป้ายคะแนน ต้องแสดงสิ่งต่อไปนี้
- หมายเลขของผู้เล่นแต่ละคนและชื่อ-สกุลของผู้เล่น ถ้าสามารถแสดงได้
- คะแนนที่แต่ละทีมทำได้ และคะแนนของผู้เล่นแต่ละคนที่ทำให้ ถ้าสามารถแสดงได้
- จำนวนครั้งของการฟาล์วทีมจาก 1 ถึง 5 (สามารถหยุดที่ตัวเลข 5)
- ตัวเลขของช่วงการเล่น จาก 1 ถึง 4 และ E สำหรับช่วงต่อเวลาพิเศษ
- ตัวเลขของเวลานอกจาก 0 ถึง 3
3.5.7.2 เครื่องจับเวลา 24 วินาที พร้อมนาฬิกาแข่งขันที่ทำใหม่ตามแบบของเดิม และแสงสีแดงสดใสจะติดตั้งเหนือขึ้นไปและอยู่ด้านหลังกระดานหลังทั้ง 2 ข้างมีระยะห่างระหว่าง 30 เซนติเมตร
- เครื่องจับเวลา 2 วินาที ต้องเป็นแบบอัตโนมัติ ตัวเลขระบบดิจิตอลแบบนับถอยหลังแสดงเวลาเป็นวินาที และพร้อมด้วยสัญญาณเสียงดังมากพอโดยดังอัตโนมัติ เมื่อสิ้นสุดเวลาการเล่น 24 วินาที
- เครื่องจับเวลา 24 วินาที จะต้องจะต่อเชื่อมกับนาฬิกาการแข่งขันเรือนหลัก
- เมื่อนาฬิกาแข่งขันเรือนหลักหยุดเดิน เครื่องนี้จะหยุดเดินด้วย
- เมื่อนาฬิกาแข่งขันเรือนหลักเดินต่อ เครื่องนี้เริ่มเดินจากการควบคุมด้วยมือของผู้ควบคุม
- สีของตัวเลขของเครื่องจับเวลา 24 วินาที และนาฬิกาแข่งขันที่ทำขึ้นใหม่ตามแบบของเดิมจะต้องแตกต่างกัน
- นาฬิกาการแข่งขันที่ทำขึ้นใหม่ตามแบบของเดิมจะต้องมีรายละเอียดตรงกัน
- หลอดไฟที่อยู่ข้างบนด้านหลังกระดานหลังแต่ละข้างต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- แสงสีแดงสดใสเกิดขึ้นพร้อมกับนาฬิกาแข่งขันเรือนหลัก เมื่อสัญญาณเสียงดังขึ้นสำหรับสิ้นสุดเวลาการแข่งขันของช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
- แสงสีแดงสดใสเกิดขึ้นพร้อมกับเครื่องจับเวลา 24 วินาที เมื่อสัญญาณเสียงดังขึ้น สำหรับการสิ้นสุดเวลาการเล่น 24 วินาที







ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่โต๊ะ และกรรมการเทคนิค (Officials,Table Officials and Commissioner )

4.1 ผู้ตัดสิน (Officials) จะมีผู้ตัดสิน (Referee) และผู้ช่วยตัดสิน (Umpire) มีผู้ช่วยเป็นเจ้าหน้าที่โต๊ะและกรรมการเทคนิคสิ่งที่เพิ่มในปัจจุบันนี้คือ ถ้าเป็นการแข่งขันของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ คณะกรรมการโซน หรือสมาคมแห่งประเทศ เป็นผู้ที่มีอำนาจประยุกต์ใช้ระบบผู้ตัดสิน 3 คน นั่นคือ ผู้ตัดสิน 1 คน และผู้ช่วยผู้ตัดสิน2 คน

4.2 เจ้าหน้าที่โต๊ะ (Table officials) จะมีผู้บันทึกคะแนนผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนน ผู้จับเวลาแข่งขัน และผู้จับเวลา 24 วินาที

4.3 กรรมการเทคนิค (Commissioner) อาจร่วมปฏิบัติหน้าที่ด้วย ซึ่งนั่งอยู่ระหว่างผู้บันทึกคะแนนกับผู้จับเวลาแข่งขันมีหน้าที่ระหว่างเกมการแข่งขัน คือคอยชี้แนะเกี่ยวกับงานของเจ้าหน้าที่โต๊ะ รวมถึงผู้ตัดสินและผู้ช่วยสินผู้ตัดสิน เพื่อให้เกมการแข่งขันดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

4.4 เป็นการสุดวิสัยที่จะกำหนดว่าผู้ตัดสินของแต่ละเกมการแข่งขันจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรที่ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในสนาม

4.5 ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่โต๊ะ หรือกรรมการเทคนิค จะควบคุมดูแลเกมการแข่งขันให้สอดคล้องกับกติกา ไม่มีอำนาจใด ๆ ที่จะตกลงให้มีการเปลี่ยนแปลงกติกา

4.6 ชุดแต่งกายของผู้ตัดสิน ประกอบด้วยเสื้อเชิ้ตสีเทากางเกงขายาวสีดำ รองเท้าบาสเกตบอลสีดำ และถุงเท่าสีดำ

4.7 สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ เจ้าหน้าที่โต๊ะควรจะแต่งกายให้เป็นแบบเดียวกัน








หน้าที่และอำนาจของผู้ตัด (Referee : Duties and powers)ผู้ตัดสินจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ :

5.1 ต้องตรวจสอบและรับรองอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ระหว่างการแข่งขัน

5.2 ต้องกำหนดนาฬิกาแข่งขัน เครื่องจับเวลา 24 วินาที นาฬิกาจับเวลา และยอมรับเจ้าหน้าที่โต๊ะทุกคนด้วย

5.3 ต้องไม่อนุญาตให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งสวมใส่อุปกรณ์ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บ

5.4 ดำเนินการเล่นลูกกระโดดที่วงกลมกลางสนามในการเริ่มการแข่งขัน ช่วงการเล่นที่ 1 ช่วงการเล่นที่ 3 และช่วงต่อเวลาพิเศษ

5.5 มีอำนาจสั่งหยุดเกมการแข่งขันได้เมื่อเห็นว่ามีสถานการณ์อันควรแก่เหตุเกิดขึ้น
5.6 มีอำนาจตัดสินใจปรับให้ทีมแพ้ในเกมการแข่งขันนั้นถ้าทีมปฎิเสธการแข่งขันหลังจากสั่งให้ทีมแสดงการกระทำการขัดขวางไม่ให้เริ่มการแข่งขัน

5.7 ต้องตรวจใบบันทึกคะแนนอย่างละเอียด เมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงขันสำหรับช่วงการเล่นที่ 2 ช่วงการเล่นที่ 4และช่วงต่อเวลาพิเศษ (ถ้ามี)หรือเวลาใดก็ได้ที่จำเป็นต้องรับรองคะแนน

5.8 ต้องตัดสินใจครั้งสุดท้ายไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม ถ้าจำเป็นหรือเมื่อผู้ตัดสินไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจ อาจจะปรึกษากับผู้ช่วยผู้ตัดสินกรรมการเทคนิค และ/หรือเจ้าหน้าที่โต๊ะ

5.9 มีอำนาจตัดสินใจเหตุการณ์ ใด ๆ ก็ได้ที่ไม่ได้ระบุไว้ในกติกา







เวลาและขอบเขตการตัดสินของผู้ตัดสิน (Officials : Time and place for decisions)

6.1 ผู้ตัดสินมีอำนาจในการตัดสินสำหรับการลงละเมิดกติกาทั้งภายในและภายนอกสนาม ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะผู้บันทึกคะแนนที่นั่งของทีมและพื้นที่ด้านหลังเส้น

6.2 อำนาจของผู้ตัดสิน จะเริ่มเมื่อผู้ตัดสินมาถึงสนาม ซึ่งจะเป็นเวลา 20 นาที ก่อนการแข่งจะเริ่มตามกำหนดเวลาและสิ้นสุดเกมการแข่งขันซึ่งรับรองการแข่งขันโดยผู้ตัดสินลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนน ทำให้เวลาการแข่งขันสิ้นสุดการดำเนินการของผู้ตัดสินและการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเกมการแข่งขันนั้นสิ้นสุดลงด้วย

6.3 พฤติกรรมที่ผิดวิสัยนักกีฬาของผู้เล่น ผู้ฝึกสอนผู้ช่วยผู้ฝึกสอน หรือผู้ติดตามทีม ที่เกิดขึ้นก่อน 20 นาที ก่อนการแข่งขันจะเริ่มตามกำหนดเวลา หรือสิ้นสุดเกมการแข่งขันแล้ว การยอมรับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ผู้ตัดสินต้องบันทึกใบบันทึกคะแนนก่อนสัญญาณเสียงเริ่มการแข่งขัน กรรมการเทคนิคหรือผู้ตัดสินต้องส่งรายงานอย่างละเอียดให้กับฝ่ายจัดการแข่งขันต่อไป

6.4 การประท้วงโดยคนใดคนหนึ่งของทีม กรรมการเทคนิคหรือผู้ตัดสินดำเนินการรายงานเหตุการณ์ถึงฝ่ายจัดการแข่งขันภายใน 1 ชั่วโมง หลังสิ้นสุดเวลาการเล่นของเกมการแข่งขันนั้น

6.5 ถ้าจำเป็นต้องต่อเวลาพิเศษ ซึ่งเป็นผลมาจากการโยนโทษของการกระทำฟาล์ว ก่อนหรือเวลาใกล้เคียงกับสิ้นสุดเวลาการเล่นของช่วงการเล่นที่ 4 หรือช่วงต่อเวลาพิเศษในขณะนั้นการกระทำฟาล์วทั้งหมดเป็นการกระทำฟาล์วหลังเสียงสัญญาณ การสิ้นสุดเวลาการแข่งขันก่อนการโยนจะต้องไตร่ตรองถึงผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นการกระทำฟาล์วระหว่างช่วงพักการแข่งขันและลงโทษให้สอดคล้องกัน

6.6 ไม่มีผู้ตัดสินคนใดที่จะมีอำนาจยกเลิกหรือสอบถามการตัดสินที่กระทำโดยผู้ตัดสินอีกคนภายใต้เงื่อนไขกำหนดไว้ในกติกา








หน้าที่ของผู้ตัดสินมีการละเมิดกติกา (Officials : Duties when an infraction is committed)

7.1 การกัดความ(Definitions)การทำผิดระเบียบหรือฟาล์วทั้งหมดที่กระทำโดยผู้เล่น ผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน หรือผู้ติดตามทีม เป็นการละเมิดกติกา

7.2 วิธีการปฏิบัติ (Procedure)

7.2.1 เมื่อมีการกระทำผิดระเบียบ (Violation) หรือ การฟาล์ว (Foul) ผู้ตัดสินจะเป่านกหวีด และในเวลาเดียวกันให้สัญญาณหยุดเวลาการแข่งขัน ซึ่งทำให้เกิดบอลตาย (ดูคู่มือผู้ตัดสินในหัวข้อสัญญาณและวิธีปฏิบัติ)
7.2.2 ผู้ตัดสินต้องไม่เป่านกหวีดหลังจากการโยนโทษหรือการยิงประตูเป็นผล หรือเมื่อเป็นบอลดี
7.2.3 ภายหลังการฟาล์วหรือเกิดการเล่นลูกกระโดดผู้ตัดสินจะต้องเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในสนามกันเสมอ
7.2.4 สำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติ ถ้าจำเป็นต้องสื่อสารกันด้วยคำพูด เพื่อให้สิ่งที่ตัดใจไปนั้นชัดเจนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษ







การบาดเจ็บของผู้ตัดสิน (Official : Injury)

ถ้าผู้ตัดสินบาดเจ็บไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตาม ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ภายใน 10 นาทีของเหตุการณ์นั้นการแข่งขันจะเริ่มต่อไปด้วยผู้ตัดสินที่เหลือเพียงคนเดียว จนกว่าจะสิ้นสุดเกมการแข่งขัน นอกเสียจากว่าเปลี่ยนตัวผู้ตัดสินแทนผู้ตัดสินที่บาดเจ็บ ภายหลังได้ปรึกษากับกรรมการเทคนิค ซึ่งผู้ตัดสินที่เหลือจะเป็นผู้ตัดสินใจในการเปลี่ยนตัวผู้ตัดสิน






หน้าที่ผู้บันทึกคะแนนและผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนน (Scorer and assistant scorer : duties)

9.1 ผู้บันทึกคะแนน จะบันทึกในใบบันทึกคะแนน ดังต่อไปนี้ ( 5 คนแรก) และผู้เล่นสำรองทั้งหมดซึ่งเข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อมีการละเมิดกติกาเกี่ยวกับผู้เล่น 5 คนแรก ซึ่งเริ่มเกมการแข่งขัน การเปลี่ยนตัวหรือเปลี่ยนหมายเลขของผู้เล่น ผู้บันทึกคะแนนจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินที่อยู่ใกล้ทราบทันทีหลักจากการละเมิดนั้นถูกค้นพบ
- บันทึกผลของคะแนนตามลำดับเหตุการณ์ และบันทึกการยิงประตูและการโยนโทษ
- บันทึกการฟาล์วบุคคลและฟาล์วเทคนิคของผู้เล่นแต่ละคน ผู้บันทึกจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันทีเมื่อมีผู้เล่นฟาล์วครั้งที่ 5 โดยในทำนองเดียวกันจะต้องบันทึกฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอนแต่ละคนและต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันทีเมื่อผู้ฝึกสอนต้องออกจากการแข่งขัน

9.2 ผู้บันทึกคะแนน ต้องปฏิบัติดังนี้
- แจ้งให้ผู้ตัดสินทราบเมื่อมีการขอเวลานอกในโอกาสที่เหมาะสมเมื่อทีมร้องขอเวลานอก บันทึกเวลานอกและแจ้งให้ผู้ฝึกสอนทราบโดยผ่านผู้ตัดสิน เมื่อผู้ฝึกสอนมีเวลานอกเหลืออยู่ในช่วงการเล่นนั้น
- แสดงจำนวนครั้งการกระทำฟาล์วของผู้เล่นแต่ละคนแสดงที่ริมโต๊ะของผู้บันทึกคะแนนด้านใกล้กับที่นั่งของทีมในขณะเป็นบอลดี เป็นการกระทำฟาล์วครั้งที่ 4 ของทีม ไม่ว่าจะเป็นฟาล์วบุคคลหรือฟาล์วเทคนิคซึ่งกระทำโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของทีมในช่วงการเล่นนั้น
- เปลี่ยนตัวผู้เล่นให้ถูกต้อง - ให้สัญญาณเสียงเฉพาะเมื่อเกิดบอลตายและก่อนที่จะกลับเป็นบอลดีอีกครั้ง สัญญาณเสียงของผู้บันทึกคะแนนต้องไม่ทำให้นาฬิกาแข่งขันหยุดเดิน หรือเกมการแข่งขันหยุดซึ่งไม่เป็นสาเหตุให้เกิดบอลตาย

9.3 ผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนน ต้องควบคุมป้ายคะแนน และมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บันทึกคะแนน ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่างป้ายคะแนนกับผู้บันทึกคะแนน ซึ่งไม่สามารถตกลงกันได้ ผู้บันทึกคะแนนต้องยึดใบบันทึกคะแนนเป็นหลัก และต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกัน
9.4 สิ่งต่อไปนี้เป็นข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่บันทึกคะแนนตามลำดับลงไปในบันทึกคะแนน
- ยิงประตูได้ 3 คะแนน แต่บันทึก 2 คะแนน
- ยิงประตูได้ 2 คะแนน แต่บันทึกเพิ่มเป็น 3 คะแนน คะแนนจะต้องรอจนกว่าเกิดบอลตายครั้งแรกก่อนจึงให้สัญญาณเสียงแจ้งผู้ตัดสินทราบเพื่อสั่งหยุดเกมการแข่งขัน
ถ้าค้นพบข้อผิดพลาดหลังสัญญาณเสียงของนาฬิกาแข่งขันสัญญาณการสิ้นสุดการแข่งขัน ใบบันทึกคะแนนจะต้องถูกตรวจสอบโดยผู้ตัดสิน ก่อนผู้ตัดสินจะลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนนผู้ตัดสินต้องแก้ไขข้อผิดพลาด และถ้าเป็นไปได้ก็แก้ไขผลการแข่งขันตามด้วย ถ้าหากเกิดการผิดพลาดจริง ถ้าค้นพบข้อผิดพลาดหลังจากใบบันทึกคะแนนถูกลงลายมือชื่อโดยผู้ตัดสินแล้ว ข้อผิดพลาดไม่อาจแก้ไขได้ ผู้ตัดสินต้องส่งรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อฝ่ายจัดการแข่งขัน







หน้าที่ของผู้จับเวลาแข่งขัน (Timekeeper : Duties)

10.1 ผู้จับเวลาแข่งขันต้องจัดเตรียมนาฬิกาแข่งขันและนาฬิกาจับเวลา และต้อง
- บันทึกเวลาในการแข่งขันและเวลาที่หยุดไว้ภายใต้เงื่อนไขของกติกา
- แจ้งให้ทีมและผู้ตัดสินทราบเกี่ยวกับเวลา 3 นาทีก่อนเริ่มการแข่งขันในช่วงการเล่นที่ 1 และช่วงการเล่นที่ 3
- เริ่มจับเวลานอกและให้สัญญาณเสียง เมื่อเวลาผ่านไป 50 วินาทีของการให้เวลานอก
- รับรองสัญญาณเสียงซึ่งต้องดังมากพอ และดังอย่างอัตโนมัติเมื่อเวลาการแข่งขันสิ้นสุดลง สำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ ถ้าสัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันเกิดขัดข้องหรือไม่ ดังพอ ผู้จับเวลาแข่งขันจะต้องใช้วิธีการใดก็ได้แจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันทีสัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันเป็นสัญญาณที่ทำให้เกิดบอลตาย และนาฬิกาแข่งขันหยุดเดิน แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันไม่ทำให้เกิดบอลตาย เมื่อลูกบอลลอยอยู่ในอากาศจากการยิงประตูหรือการโยนโทษ

10.2 นาฬิกาแข่งขันจะเริ่มเดิน เมื่อ
- ระหว่างการเล่นลูกกระโดด เมื่อลูกบอลถูกปัดอย่างถูกต้องโดยผู้เล่นถูกกระโดด
- หลังจากการโยนโทษไม่เป็นผลและลูกบอลกลายเป็นบอลดี เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นในสนาม
- ระหว่างการส่งบอลเข้าเล่นเมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นในสนาม

10.3 นาฬิกาแข่งขันจะหยุดเดิน เมื่อ
- เวลาการเล่นสิ้นสุดสำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
- ผู้ตัดสินเป่านกหวีดในขณะที่เป็นบอลดี
- สัญญาณเสียงเครื่องจับเวลา 24 วินาที ดังขึ้นในขณะที่เป็นบอลดี
- การยิงประตูเป็นผล ทีมที่เสียคะแนนร้องขอเวลานอก
- การยิงประตูเป็นผลในช่วง 2 นาทีสุดท้ายของช่วงการเล่นที่ 4 และช่วงต่อเวลาพิเศษ



http://www.siamsporttalk.com/

ทักษะการเล่นบาส

การกัดความ (Definitions) และลักษณะการเล่นบาสเกตบอล

1.1 เกมการแข่งขันขันบาสเกตบอล (Basketball game)
บาสเกตบอลเป็นการเล่นที่ประกอบด้วยผู้เล่น 2 ทีม แต่ละทีมมีผู้เล่น 5 คน จุดมุ่งหมายของแต่ละทีมคือ ทำคะแนนโดย การโยนลูกบอลให้ลงห่วงประตูของฝ่ายตรงข้าม และป้องกันอีกฝ่ายหนึ่งไม่ให้ครอบครองบอลหรือทำคะแนน

1.2 ห่วงประตูฝ่ายตนเอง/ฝ่ายตรงข้าม (Basket : own/opponents’)
ฝ่ายรุกทำคะแนนโดยนำลูกบอลโยนให้ลงห่วงประตูของฝ่ายตรงข้ามและป้องกันห่วงประตูของฝ่ายตนเอง

1.3 การเคลื่อนที่ของลูกบอล (Ball movement)
ลูกบอลอาจจะถูกส่ง โยน ปัด กลิ้ง หรือเลี้ยงในทิศทางใด ๆ ก็ได้ ภายใต้ข้อจำกัดที่กำหนดไว้ในกติกา

1.4 ผู้ชนะของเกมการแข่งกัน (Winner of a game)
เมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันของช่วงการเล่นที่ 4 หรือถ้าจำเป็นต้องต่อเวลาพิเศษ ทีมที่มีคะแนนมากกว่าจะเป็นผู้ชนะในเกมการแข่งขัน





ขนาดสนามและขนาดของเส้น (Court and line dimensions)

2.1 สนามแข่งขัน ( Playing Court )

สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นผิวเรียบ แข็งปราศจากสิ่งกีดขวางที่ทำให้เกิดความล่าช้าสำหรับการแข่งขันซึ่งจัดโดยสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ ขนาดสนามที่จะสร้างขึ้นใหม่ต้องยาว 28 เมตรและกว้าง 15 เมตร โดยวัดจากขอบใน ของเส้นเขตสนาม สำหรับการแข่งขันอื่นทั้งหมดที่สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติรับรอง เช่น สหพันธ์ระดับโซน หรือสมาคม แห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจเห็นชอบให้ใช้สนามขนาดเล็กสุดในการแข่งขันได้ คือ ยาว 26 เมตรและกว้าง 14 เมตร

2.2 เพดาน ( Ceiling)

ความสูงของเพดานหรือสิ่งกีดขวางต้องไม่ต่ำกว่า 7 เมตร

2.3 แสงสว่าง (Lighthing)>

พื้นผิวของสนามควรจะเหมือนกันและมีแสงสว่างเพียงพอ แสงสว่างต้องอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นของ ผู้เล่นและของผู้ตัดสิน

2.4 เส้น ( Lines)

เส้นทุกเส้นต้องเป็นสีเดียวกัน (ควรเป็นสีขาว) กว้าง 5 เซนติเมตร และมองเห็นได้อย่างชัดเจน
2.4.1 เส้นหลังและเส้นข้าง ( End lines and side-lines) สนามจะต้องถูกจำกัดโดยเส้นหลัง 2 เส้น (ด้านกว้างของสนาม) และเส้นข้าง 2 เส้น (ด้านยาวของสนาม) เส้นไม่เป็นส่วนหนึ่ง ของสนาม สนามต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวาง รวมถึงที่นั่งของทีมอย่างน้อย 2 เมตร
2.4.2 เส้นกลาง ( Center line) เส้นกลาง ต้องเขียนเส้นให้ขนานกับเส้นหลังที่จุดกึ่งกลางของเส้นข้างต้องมีส่วนยื่นออกไป 15 เซนติเมตร จากเส้นข้างแต่ละด้าน
2.4.3 เส้นโยนโทษ ( Free-throw lines) พื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ( Restricted areas) และเขตโยนโทษ (Free-throw lanes) เส้นโยนโทษ ต้องเขียนเส้นให้ขนานกับเส้นหลังแต่ละด้าน ห่างจากขอบในของเส้นหลัง 5.80 เมตร และมีความยาว 3.60 เมตร จุดกึ่งกลางของเส้นโยนโทษที่สมมุติขึ้นเป็นแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้ง 2 เส้น พื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ต้องเป็นพื้นที่ ในสนามที่กำหนดโดยเส้นหลัง เส้นโยนโทษ และเส้นซึ่งเริ่มต้นจากเส้นหลังห่าง 3 เมตร จากจุดกึ่งกลางของเส้นหลังและขอบนอก ของเส้นโยนโทษ เส้นจะแยกออกจากเส้นหลัง เส้นเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ภายในของพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาทีอาจจะทาสีก็ได้แต่ต้องเป็นสีเดียวกับสีที่ทาวงกลมกลางสนาม เขตโยนโทษเป็นพื้นที่ที่ต่อออกจากพื้นที่เขตกำหนด 3 นาทีเข้าไปในสนามโดยขีดเส้นเป็นครึ่งวงกลมรัศมี 1.80 เมตร ใช้จุด กึ่งกลางของเส้นโยนโทษเป็นจุดศูนย์กลาง เขตช่องยืนตามแนวเขตโยนโทษ เป็นช่องที่ให้ผู้เล่นยืนระหว่างการโยนโทษ จะต้องเขียนเส้นลักษณะ
2.4.4 วงกลมกลาง ( Center circle)
วงกลมกลางต้องเขียนไว้กลางสนามรัศมี 1.80 เมตร โดยวัดจากขอบนอกของเส้นรอบวง ถ้าทาสีภายในพื้นที่วงกลมต้องเป็น สีเดียวกับสีที่ทาพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที
2.4.5 พื้นที่ยิงประตู 3 คะแนน ( Three-point field goal area)
พื้นที่ยิงประตู 3คะแนนของทีมจะเป็นพื้นที่ทั้งหมดของสนามยกเว้นพื้นที่ที่ใกล้ห่วงประตูฝ่ายตรงข้ามซึ่งถูกจำกัดโดยสิ่งต่อไปนี้
- เส้นขนาน 2 เส้น จากเส้นหลังไปถึงปลายเส้นโค้งครึ่งวงกลมรัศมี 6.25 เมตร จากจุดนี้ตั้งฉากกับจุดศูนย์กลางของห่วงประตูของฝ่ายตรงข้าม ระยะห่างถึงขอบในของจุดกึ่งกลางเส้นหลัง 1.575 เมตร
- รูปครึ่งวงกลมมีรัศมี 6.25 เมตร จากจุดศูนย์กลางถึงขอบนอก (ซึ่งเป็นจุดเดียวกัน) ลากไปต่อกับเส้นขนาน

2.5 ตำแหน่งของโต๊ะเจ้าหน้าที่และที่นั่ง

เก้าอี้เปลี่ยนตัวผู้เล่นการจัดที่นั่งของทีม และที่นั่ง/เก้าอี้เปลี่ยนตัวผู้เล่น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแข่งขันทุกครั้งที่จัดโดยสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ และได้แนะนำให้กระทำสำหรับการแข่งขันอื่น ๆ ด้วย






อุปกรณ์ (Equiqment)
สำหรับรายละเอียดที่อธิบายถึงอุปกรณ์บาสเกตบอล ให้ดูในภาคผนวกเกี่ยวกับอุปกรณ์บาสเกตบอล

3.1 กระดานหลัง และสิ่งยึดกระดานหลัง (Backboards and backboard supports)

3.1.1 กระดานหลังที่สร้างขึ้นต้องทำด้วยวัสดุโปร่งใส (เลือกใช้กระจกนิรภัย) แผ่น เดียวกันตลอด ถ้าทำด้วยวัสดุอื่นที่ไม่โปร่งใสจะต้องทาพื้นสีขาว
3.1.2 ขนาดความกว้าง ยาว และหนาของกระดานหลังตามแนวนอนจะเป็น 1.80 เมตร และตามแนวตั้ง 1.50 เมตร
3.1.3 เส้นทุกเส้นบนกระดานหลังจะต้องเขียนดังต่อไปนี้
- เป็นสีขาว ถ้ากระดานเป็นวัตถุโปร่งใส
- เป็นสีดำ ถ้ากระดานหลังเป็นวัสดุอื่น
- เส้นมีขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร
3.1.4 พื้นผิวหน้าของกระดานหลังจะเรียบและทำ
3.1.5 กระดานหลังต้องติดยึดอย่างมั่นคง
- ที่เส้นหลังแต่ละด้านของสนามแข่งขัน โดยติดตั้งสิ่งยึดกระดานให้ตั้งฉากกับพื้น ขนานกับเส้นหลัง
- จุดกึ่งกลางของพื้นผิวด้านหน้าของกระดานหลัง ทิ้งดิ่งลงมายังพื้นสนามแข่งขัน จะสัมผัสจุดบนพื้น ซึ่งมีระยะห่าง1.20 เมตร จากจุดกึ่งกลางของขอบในของเส้นหลังแต่ละเส้น
3.1.6 เบาะหุ้มกระดานหลัง
3.1.7 สิ่งยึดกระดานหลัง
- ด้านหน้าของสิ่งยึดกระดานหลังที่สร้างขึ้น (หุ้มเบาะตลอด) ต้องอยู่ห่างจากขอบ ของเส้นหลังอย่างน้อย 2 เมตร มีสีสดใสแตกต่างจากพื้นหลัง เพื่อให้ผู้เล่นมองเห็นได้อย่างชัดเจน
- สิ่งยึดกระดานหลังต้องติดตั้งอย่างมั่นคงบนพื้นเพื่อป้องกันไม่ให้เคลื่อนที่เมื่อมี แรงกระแทรก
- สิ่งยึดกระด้านหลังที่อยู่ด้านหลังต้องหุ้มเบาะต่ำกว่าพื้นผิวของสิ่งยึดมีระยะห่าง จากด้านหน้าของกระดานหลัง 1.20 เมตร ความหนาของเบาะหุ้ม 5 เซนติเมตร และต้องมีคุณสมบัติเหมือนกับเบาะหุ้มกระดานหลัง
- สิ่งยึดกระดานหลังทั้งหมดต้องหุ้มเบาะเต็มพื้นที่ฐานของสิ่งยึดกระดานหลังสูง จากพื้นอย่างน้อย 2.15 เมตร บนสิ่งยึดด้านข้างสนาม มีความหนาเบาะหุ้ม 10 เซนติเมตร
3.1.8 เบาะหุ้มกระดานหลังที่สร้างขึ้นจะป้องกันแขนมือจากการปัด

3.2 ห่วงประตู (Baskets) ห่วงประตูต้องประกอบด้วย ห่วงและตาข่าย

3.2.1 ห่วง (The Rings) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- วัสดุต้องเป็นเหล็กกล้าแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในไม่น้อยกว่า 45เซนติเมตร ทาด้วยสีส้ม
- โลหะที่ใช้ทำห่วงจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในอย่างน้อย 16เซนติเมตร และไม่เกิน 2.0 เซนติเมตรพร้อมด้วยที่ยึดตาข่ายด้านล่างสำหรับเกี่ยวตาข่ายในลักษณะป้องกันนิ้วมือไปเกี่ยวจากการปัดซึ่งเป็นการป้องกันการยิงประตู
- ตาข่ายจะผูกติดกับห่วงแต่ละด้านในตำแหน่งที่ต่างกัน 12 จุด มีระยะห่าง เท่ากันรอบห่วง การผูกติดกันของตาข่ายจะต้องไม่คมหรือมีช่องว่างที่นิ้วมือสามารถเขาไปเกี่ยวได้
- ห่วงจะต้องยึดติดกับโครงสร้างที่ยึดกระดานหลังโดยไม่ทำให้เกิดแรงส่งตรงไป ยังห่วงซึ่งไม่สามารถทำให้กระดานหลังสั่นด้วยตัวของมันเองดังนั้น จะไม่เป็นการปะทะโดยตรงของห่วงระหว่างสิ่งค้ำที่เป็นโลหะกับกระดานหลัง (กระจกหรือวัสดุโปร่งใสอื่น)อย่างไรก็ตาม ช่องว่างจะต้องแคบพอเพื่อป้องกันนิ้วมือเข้าไปเกี่ยว
- ขอบบนสุดของห่วงแต่ละข้างจะต้องอยู่ในตำแหน่งตามแนวนอน สูง 3.0 เมตร จากพื้นสนามซึ่งกระดานหลังมีความสูงเท่ากันทั้ง 2 ด้าน
- จุดที่ใกล้ที่สุดของขอบในของห่วงจะต้องห่าง 15 เซนติเมตร จากด้านหน้าของ กระดานหลัง
3.2.2 ห่วงที่มีแรงอัด อาจจะใช้ในการแข่งขันได้
3.2.3 ตาข่าย (The nets) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- เป็นด้ายสีขาว แขวนติดกับห่วงและมีความฝืดเพื่อทำให้ลูกบอลผ่านห่วงประตู ช้ากว่าปกติ ตาข่ายต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า40 เซนติเมตร และไม่เกิน 45 เซนติเมตร
- ตาข่ายแต่ละข้างต้องมีห่วง 12 จุด สำหรับเกี่ยวติดกับห่วง
- ส่วนบนของตาข่ายต้องยืดหยุ่นได้เพื่อป้องกันสิ่งต่อไปนี้
- ตาข่ายเกี่ยวติดห่วง สะบัดขึ้นไปบนห่วงทำให้เกิดปัญหาตาข่ายเกี่ยวติดห่วง
- ลูกบอลค้างในตาข่ายหรือกระดอนออกจากตาข่าย

3.3 ลูกบาสเกตบอล (Basketballs)

3.3.1 ลูกบอล ต้องเป็นรูปทรงกลมและมีสีส้ม ซึ่งได้รับการรับรอง มี 8 ช่องกลีบ ตาม แบบเดิม กรุและเย็บเชื่อต่อกัน
3.3.2 ผิวนอกต้องทำด้วยหนัง หนังที่เป็นสารสังเคราะห์ ยาง หรือวัสดุสารสังเคราะห์
3.3.3 ลูกบอลจะขยายตัวเมื่อสูบลมเข้าไป ถ้าปล่อยลงสู่พื้นสนามจากความสูง โดยประมาณ 1.80 เมตร วัดจากส่วนล่างของลูกบอล ลูกบอลจะกระดอนขึ้นสูงวัดจากส่วนบนสุดจากของลูกบอลระหว่าง 1.20 เมตร ถึง 1.40 เมตร
3.3.4 ความกว้างของช่องกลีบที่เชื่อมต่อกันของลูกบอลต้องไม่มากกว่า 0.635เซนติเมตร
3.3.5 ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 74.9 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 78เซนติเมตร (ลูกบอลเบอร์ 7) จะต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 567 กรัม และไม่มากกว่า 650 กรัม
3.3.6 ทีมเหย้า (The home team) ต้องเตรียมลูกบอลที่ใช้แล้วโดยได้รับการ ยินยอมจากผู้ตัดสินอย่างน้อย 2 ลูก ผู้ตัดสินต้องพิจารณาเลือกลูกบอลที่ถูกต้องเพียงลูกเดียว ถ้าลูกบอลทั้ง 2 ลูก (ing team) หรือเลือกลูกบอลที่ใช้ในการอบอุ่นร่างกายมาใช้แข่งขันก็ได้

3.4 อุปกรณ์เทคนิค (Technical equipment)อุปกรณ์เทคนิคต่อไปนี้ต้องเตรียมโดยทีมเหย้าและต้องดำเนินการ โดยผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่โต๊ะ

3.4.1 นาฬิกาแข่งขันและนาฬิกาจับเวลา (Game clock and stopawtch
3.4.1.1 นาฬิกาแข่งขันจะต้องใช้สำหรับช่วงการเล่นและช่วงพักการแข่งขัน และ จะต้องติดตั้งให้ทุกคนที่เกี่ยวกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงผู้ชมด้วย
3.4.1.2 นาฬิกาจับเวลา (ไม่ใช่นาฬิกาแข่งขัน) จะต้องใช้สำหรับการจับเวลานอก
3.4.1.3 ถ้านาฬิกาแข่งขันติดตั้งไว้ที่กึ่งกลางเหนือสนามแข่งขัน ต้องมีนาฬิกาแบบ เดียวกันเพิ่มขึ้นมาแต่ละด้านของสนามด้านหลัง สูงพอประมาณ สามารถที่จะให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงผู้ชมด้วย นาฬิกาแข่งขันที่เพิ่มนจะต้องแสดงเวลาการแข่งขันที่เหลือ
3.4.2 เครื่องจับเวลา 24 วินาที (24 second device)
3.4.2.1 เครื่องจับเวลา 24 วินาที ต้องมีควบคุมเครื่องและแสดงสิ่งต่าง ๆ ตาม รายละเอียดดังต่อไปนี้
- ตัวเลขระบบดิจิตอลแบบนับถอยหลังแสดงเวลาเป็นวินาที
- ไม่แสดงตัวเลขบนเครื่องจับเวลา 24 วินาที เมื่อไม่มีทีมใดครอบครองบอล
- ความสามารถในการหยุดและเดินนับถอยหลังอย่างต่อเนื่องเมื่อเครื่องจับเวลา 24 วินาที เดินเวลาต่อจากที่ได้หยุดเวลาไว้
3.4.2.2 เครื่องจับเวลา 24 วินาที ต้องติดตั้งดังต่อไปนี้
- มีเครื่องจับเวลา 24 วินาที 2 เครื่องตั้งอยู่ข้างบนเหนือกระดานหลังแต่ละข้าง มีระยะห่าง ระหว่าง 30 เซนติเมตร ถึง 50 เซนติเมตร
- มีเครื่องจับเวลา 24 วินาที 4 เครื่องให้ติดตั้งไว้ทั้ง 4 มุมของสนาม อยู่ห่างเส้นหลังแต่ละ ด้าน 2 เมตร
- มีเครื่องจับเวลา 24 วินาที 2 เครื่องให้ติดตั้งโดยการวางไว้ในแนวทแยงมุมตรงข้าม เครื่อง หนึ่งวางทางด้านซ้ายของโต๊ะบันทึกคะแนน ซึ่งจะวางใกล้มุม เครื่องจับเวลา 24 วินาที ทั้ง 2 เครื่อง จะวางห่างจากเส้นแต่ละด้าน 2 เมตร และจากเส้นข้าง 2 เมตร
3.4.2.3 เครื่องจับเวลา 24 วินาที ทุกเครื่องจะต้องให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการ แข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจนรวมถึงผู้ชมด้ว
3.4.3 สัญญาณเสียง (Signals)ต้องกำหนดสัญญาณเสียงอย่างน้อย 2 ชุด ซึ่งมีเสียงแตกต่างกันอย่างชัดเจน และมีเสียงดังมากพอ
- สัญญาณเสียงหนึ่งสำหรับผู้จับเวลาแข่งขันและผู้บันทึกคะแนน สัญญาณเสียงของผู้จับ เวลาแข่งขันต้องเป็นเสียงที่ดังอัตโนมัติเพื่อแจ้งการสิ้นสุดเวลาการแข่งขันต้องเป็นเสียงที่ดังอัตโนมัต เพื่อแจ้งการสิ้นสุดเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ สัญญาณเสียงของผู้บันทึกคะแนนและผู้จับเวลาแข่งขันต้องควบคุมด้วยมือ เพื่อดำเนินการแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบว่ามีการขอเวลานอก เปลี่ยนตัวและมีการต้องขออื่น ๆ เช่นหลังเวลาผ่านไป 50 วินาทีของการขอเวลานอก หรือสถานการณ์ข้อผิดพลาดที่แก้ไขได้
- อีกสัญญาณเสียงหนึ่งสำหรับผู้จับเวลา 24 วินาที ซึ่งสัญญาเสียงดังอัตโนมัติเพื่อแสดง การสิ้นสุดช่วงเวลาการเล่น 24 วินาทีสัญญาณเสียงทั้ง 2 ชุด ต้องมีเสียงดังมากพอที่จะได้ยินภายใต้เสียงรบกวน หรือปรับเสียงให้ดังมากพอกับสภาพสิ่งแวดล้อม
3.4.4 ป้ายคะแนน (Scoreboard)ต้องเป็นป้ายคะแนนที่ติดตั้งให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนรวมถึงผู้ชมด้วยป้ายคะแนนต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
- เวลาการแข่งขัน
- คะแนน
- จำนวนของช่วงการเล่นปัจจุบัน
- จำนวนของเวลานอก
3.4.5 ใบบันทึกคะแนน (Scoresheet)ใบบันทึกคะแนนจะต้องได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการเทคนิคโลกของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติซึ่งจะใช้สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ
3.4.6 ป้ายแสดงการฟาล์วของผู้เล่น (Player foul markers)ต้องจัดเตรียมป้ายแสดงการฟาว์ลของผู้เล่นสำหรับผู้บันทึกคะแนน ป้ายต้องเป็นสีขาวพร้อมตัวเลขขนาดความยาว 20 เซนติเมตร และกว้าง 10 เซนติเมตร และมีตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 5 (ตัวเลข 1 ถึง 4 เป็นสีดำ ตัวเลข 5 เป็นสีแดง)
3.4.7 อุปกรณ์แสดงการฟาล์วทีม (Team foul markers)อุปกรณ์แสดงการฟาล์วทีมต้องเตรียมสำหรับผู้บันทึกคะแนนอุปกรณ์แสดงการฟาล์วต้องเป็นสีแดง กว้าง 20 เซนติเมตร สูง 35 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย และติดตั้งบนโต๊ะผู้บันทึก ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงผู้ชมด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ อาจจะใช้ได้โดยมีข้อแม้ว่าต้องมีสีที่เหมือนกัน และมีขนาดความกว้าง ยาวและหนาตามที่ระบุไว้ข้างต้น
3.4.8 ป้ายแสดงจำนวนการฟาล์วทีม (Team foul indicator)จะต้องมีป้ายที่เหมาะสมเพื่อแสดงตัวเลขจำนวนฟาล์วทีมถึงเลข 5 แสดงให้ทราบว่าทีมนั้นได้กระทำฟาล์วครบจำนวนที่จะต้องถูกลงโทษ (กติกาข้อ 55 บทลงโทษของฟาล์วทีม)
3.4.9 เครื่องชี้ทิศทางการครอบครองบอลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ หรือใช้งานด้วยมือ ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน

3.5 เครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ เครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ที่กล่าวถึงจะต้องเตรียมสำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ชิงแชมป์โลก ชาย หญิง เยาวชนชาย เยาวชนหญิง ยุวชนชายและยุวชนหญิง ชิงแชมป์ทวีป ชายหญิง เยาวชนชายและเยาวชนหญิง เครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์สามารถใช้กับการแข่งขันระดับอื่นทั้งหมดได้

3.5.1 ผู้ชมทุกคนจะต้องนั่งห่างอย่างน้อย 5 เมตร จากขอบด้านนอกของเส้นเขตสนามแข่ง ขัน
3.5.2 พื้นสนามต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ทำด้วยไม้
- เส้นเขตสนาม กว้าง 5 เซนติเมตร
- เส้นเขตสนามรอบนอก กว้างอย่างน้อย 2 เมตรทาด้วยสีแตกต่างกันอย่างชัดเจน สีของ เขตสนามรอบนอกควรจะเป็นสีเดียวกับวงกลมกลางและพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที
3.5.3 ต้องมีคนถูพื้นสนาม 4 คน โดย 2 คนทำหน้าที่แต่ละครึ่งของสนาม
3.5.4 กระดานหลังต้องทำด้วยกระจกนิรภัย
3.5.5 ผิวของลูกบอลต้องทำด้วยหนัง ฝ่ายจัดการแข่งขันต้องเตรียมลูกบอลอย่างน้อย 12ลูก มีลักษณะและรายละเอียดเหมือนกันสำหรับการฝึกซ้อมระหว่างการอบอุ่นร่างกาย
3.5.6 แสงสว่างเหนือสนามแข่งขันต้องมีความสว่างไม่น้อยกว่า 1,500 ลักซ์ ความสว่างนี้จะวัดเหนือพื้นสนามขึ้นไป 1.5 เมตร แสงสว่างต้องตรงหลักเกณฑ์ในการถ่ายทอดโทรทัศน์
3.5.7 สนามแข่งขันต้องติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากโต๊ะบันทึกคะแนน สนามแข่งขันที่นั่งของทีม และทุกคนเกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขัน รวมทั้งผู้ชมด้วย
3.5.7.1 ป้ายคะแนนขนาดใหญ่ 2 ชุด ติดตั้งที่ด้านหลังแต่ละด้านของสนาม
- ป้ายคะแนน ติดตั้งที่กึ่งกลางเหนือสนามขึ้นไป ไม่มีความจำเป็นต้องงดใช้ป้ายคะแนน 2 ชุด
- แผงควบคุมสำหรับนาฬิกาแข่งขันต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข แยกแผงควบคุมสำหรับผู้จับเวลาแข่งขันและผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนนออกจากกัน
- ป้ายคะแนนต้องประกอบด้วยตัวเลขระบบดิจิตอลแบบนับถอยหลังของนาฬิกา พร้อมสัญญาณเสียงดังมากพอซึ่งจะดังอัตโนมัติเมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
- นาฬิกาแข่งขันและคะแนนที่แสดงในป้ายคะแนน มีความสูงอย่างน้อย 30 เซนติเมตร
- นาฬิกาทั้งหมดต้องเดินเป็นจังหวะเดียวกันและแสดงจำนวนของเวลาที่เหลือตลอดเกมการแข่งขัน
- ระหว่าง 60 วินาทีสุดท้ายของแต่ละช่วงการเล่น หรือช่วงต่อเวลาพิเศษ จำนวนของเวลาที่เหลือต้องแสดงเป็นวินาที และเป็น 1 ส่วน 10 ของวินาที
- เลือกนาฬิกาอีก 1 เรือน โดยผู้ตัดสินสำหรับเป็นนาฬิกาแข่งขัน
- ป้ายคะแนน ต้องแสดงสิ่งต่อไปนี้
- หมายเลขของผู้เล่นแต่ละคนและชื่อ-สกุลของผู้เล่น ถ้าสามารถแสดงได้
- คะแนนที่แต่ละทีมทำได้ และคะแนนของผู้เล่นแต่ละคนที่ทำให้ ถ้าสามารถแสดงได้
- จำนวนครั้งของการฟาล์วทีมจาก 1 ถึง 5 (สามารถหยุดที่ตัวเลข 5)
- ตัวเลขของช่วงการเล่น จาก 1 ถึง 4 และ E สำหรับช่วงต่อเวลาพิเศษ
- ตัวเลขของเวลานอกจาก 0 ถึง 3
3.5.7.2 เครื่องจับเวลา 24 วินาที พร้อมนาฬิกาแข่งขันที่ทำใหม่ตามแบบของเดิม และแสงสีแดงสดใสจะติดตั้งเหนือขึ้นไปและอยู่ด้านหลังกระดานหลังทั้ง 2 ข้างมีระยะห่างระหว่าง 30 เซนติเมตร
- เครื่องจับเวลา 2 วินาที ต้องเป็นแบบอัตโนมัติ ตัวเลขระบบดิจิตอลแบบนับถอยหลังแสดงเวลาเป็นวินาที และพร้อมด้วยสัญญาณเสียงดังมากพอโดยดังอัตโนมัติ เมื่อสิ้นสุดเวลาการเล่น 24 วินาที
- เครื่องจับเวลา 24 วินาที จะต้องจะต่อเชื่อมกับนาฬิกาการแข่งขันเรือนหลัก
- เมื่อนาฬิกาแข่งขันเรือนหลักหยุดเดิน เครื่องนี้จะหยุดเดินด้วย
- เมื่อนาฬิกาแข่งขันเรือนหลักเดินต่อ เครื่องนี้เริ่มเดินจากการควบคุมด้วยมือของผู้ควบคุม
- สีของตัวเลขของเครื่องจับเวลา 24 วินาที และนาฬิกาแข่งขันที่ทำขึ้นใหม่ตามแบบของเดิมจะต้องแตกต่างกัน
- นาฬิกาการแข่งขันที่ทำขึ้นใหม่ตามแบบของเดิมจะต้องมีรายละเอียดตรงกัน
- หลอดไฟที่อยู่ข้างบนด้านหลังกระดานหลังแต่ละข้างต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- แสงสีแดงสดใสเกิดขึ้นพร้อมกับนาฬิกาแข่งขันเรือนหลัก เมื่อสัญญาณเสียงดังขึ้นสำหรับสิ้นสุดเวลาการแข่งขันของช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
- แสงสีแดงสดใสเกิดขึ้นพร้อมกับเครื่องจับเวลา 24 วินาที เมื่อสัญญาณเสียงดังขึ้น สำหรับการสิ้นสุดเวลาการเล่น 24 วินาที







ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่โต๊ะ และกรรมการเทคนิค (Officials,Table Officials and Commissioner )

4.1 ผู้ตัดสิน (Officials) จะมีผู้ตัดสิน (Referee) และผู้ช่วยตัดสิน (Umpire) มีผู้ช่วยเป็นเจ้าหน้าที่โต๊ะและกรรมการเทคนิคสิ่งที่เพิ่มในปัจจุบันนี้คือ ถ้าเป็นการแข่งขันของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ คณะกรรมการโซน หรือสมาคมแห่งประเทศ เป็นผู้ที่มีอำนาจประยุกต์ใช้ระบบผู้ตัดสิน 3 คน นั่นคือ ผู้ตัดสิน 1 คน และผู้ช่วยผู้ตัดสิน2 คน

4.2 เจ้าหน้าที่โต๊ะ (Table officials) จะมีผู้บันทึกคะแนนผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนน ผู้จับเวลาแข่งขัน และผู้จับเวลา 24 วินาที

4.3 กรรมการเทคนิค (Commissioner) อาจร่วมปฏิบัติหน้าที่ด้วย ซึ่งนั่งอยู่ระหว่างผู้บันทึกคะแนนกับผู้จับเวลาแข่งขันมีหน้าที่ระหว่างเกมการแข่งขัน คือคอยชี้แนะเกี่ยวกับงานของเจ้าหน้าที่โต๊ะ รวมถึงผู้ตัดสินและผู้ช่วยสินผู้ตัดสิน เพื่อให้เกมการแข่งขันดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

4.4 เป็นการสุดวิสัยที่จะกำหนดว่าผู้ตัดสินของแต่ละเกมการแข่งขันจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรที่ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในสนาม

4.5 ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่โต๊ะ หรือกรรมการเทคนิค จะควบคุมดูแลเกมการแข่งขันให้สอดคล้องกับกติกา ไม่มีอำนาจใด ๆ ที่จะตกลงให้มีการเปลี่ยนแปลงกติกา

4.6 ชุดแต่งกายของผู้ตัดสิน ประกอบด้วยเสื้อเชิ้ตสีเทากางเกงขายาวสีดำ รองเท้าบาสเกตบอลสีดำ และถุงเท่าสีดำ

4.7 สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ เจ้าหน้าที่โต๊ะควรจะแต่งกายให้เป็นแบบเดียวกัน








หน้าที่และอำนาจของผู้ตัด (Referee : Duties and powers)ผู้ตัดสินจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ :

5.1 ต้องตรวจสอบและรับรองอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ระหว่างการแข่งขัน

5.2 ต้องกำหนดนาฬิกาแข่งขัน เครื่องจับเวลา 24 วินาที นาฬิกาจับเวลา และยอมรับเจ้าหน้าที่โต๊ะทุกคนด้วย

5.3 ต้องไม่อนุญาตให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งสวมใส่อุปกรณ์ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บ

5.4 ดำเนินการเล่นลูกกระโดดที่วงกลมกลางสนามในการเริ่มการแข่งขัน ช่วงการเล่นที่ 1 ช่วงการเล่นที่ 3 และช่วงต่อเวลาพิเศษ

5.5 มีอำนาจสั่งหยุดเกมการแข่งขันได้เมื่อเห็นว่ามีสถานการณ์อันควรแก่เหตุเกิดขึ้น
5.6 มีอำนาจตัดสินใจปรับให้ทีมแพ้ในเกมการแข่งขันนั้นถ้าทีมปฎิเสธการแข่งขันหลังจากสั่งให้ทีมแสดงการกระทำการขัดขวางไม่ให้เริ่มการแข่งขัน

5.7 ต้องตรวจใบบันทึกคะแนนอย่างละเอียด เมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงขันสำหรับช่วงการเล่นที่ 2 ช่วงการเล่นที่ 4และช่วงต่อเวลาพิเศษ (ถ้ามี)หรือเวลาใดก็ได้ที่จำเป็นต้องรับรองคะแนน

5.8 ต้องตัดสินใจครั้งสุดท้ายไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม ถ้าจำเป็นหรือเมื่อผู้ตัดสินไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจ อาจจะปรึกษากับผู้ช่วยผู้ตัดสินกรรมการเทคนิค และ/หรือเจ้าหน้าที่โต๊ะ

5.9 มีอำนาจตัดสินใจเหตุการณ์ ใด ๆ ก็ได้ที่ไม่ได้ระบุไว้ในกติกา







เวลาและขอบเขตการตัดสินของผู้ตัดสิน (Officials : Time and place for decisions)

6.1 ผู้ตัดสินมีอำนาจในการตัดสินสำหรับการลงละเมิดกติกาทั้งภายในและภายนอกสนาม ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะผู้บันทึกคะแนนที่นั่งของทีมและพื้นที่ด้านหลังเส้น

6.2 อำนาจของผู้ตัดสิน จะเริ่มเมื่อผู้ตัดสินมาถึงสนาม ซึ่งจะเป็นเวลา 20 นาที ก่อนการแข่งจะเริ่มตามกำหนดเวลาและสิ้นสุดเกมการแข่งขันซึ่งรับรองการแข่งขันโดยผู้ตัดสินลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนน ทำให้เวลาการแข่งขันสิ้นสุดการดำเนินการของผู้ตัดสินและการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเกมการแข่งขันนั้นสิ้นสุดลงด้วย

6.3 พฤติกรรมที่ผิดวิสัยนักกีฬาของผู้เล่น ผู้ฝึกสอนผู้ช่วยผู้ฝึกสอน หรือผู้ติดตามทีม ที่เกิดขึ้นก่อน 20 นาที ก่อนการแข่งขันจะเริ่มตามกำหนดเวลา หรือสิ้นสุดเกมการแข่งขันแล้ว การยอมรับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ผู้ตัดสินต้องบันทึกใบบันทึกคะแนนก่อนสัญญาณเสียงเริ่มการแข่งขัน กรรมการเทคนิคหรือผู้ตัดสินต้องส่งรายงานอย่างละเอียดให้กับฝ่ายจัดการแข่งขันต่อไป

6.4 การประท้วงโดยคนใดคนหนึ่งของทีม กรรมการเทคนิคหรือผู้ตัดสินดำเนินการรายงานเหตุการณ์ถึงฝ่ายจัดการแข่งขันภายใน 1 ชั่วโมง หลังสิ้นสุดเวลาการเล่นของเกมการแข่งขันนั้น

6.5 ถ้าจำเป็นต้องต่อเวลาพิเศษ ซึ่งเป็นผลมาจากการโยนโทษของการกระทำฟาล์ว ก่อนหรือเวลาใกล้เคียงกับสิ้นสุดเวลาการเล่นของช่วงการเล่นที่ 4 หรือช่วงต่อเวลาพิเศษในขณะนั้นการกระทำฟาล์วทั้งหมดเป็นการกระทำฟาล์วหลังเสียงสัญญาณ การสิ้นสุดเวลาการแข่งขันก่อนการโยนจะต้องไตร่ตรองถึงผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นการกระทำฟาล์วระหว่างช่วงพักการแข่งขันและลงโทษให้สอดคล้องกัน

6.6 ไม่มีผู้ตัดสินคนใดที่จะมีอำนาจยกเลิกหรือสอบถามการตัดสินที่กระทำโดยผู้ตัดสินอีกคนภายใต้เงื่อนไขกำหนดไว้ในกติกา








หน้าที่ของผู้ตัดสินมีการละเมิดกติกา (Officials : Duties when an infraction is committed)

7.1 การกัดความ(Definitions)การทำผิดระเบียบหรือฟาล์วทั้งหมดที่กระทำโดยผู้เล่น ผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน หรือผู้ติดตามทีม เป็นการละเมิดกติกา

7.2 วิธีการปฏิบัติ (Procedure)

7.2.1 เมื่อมีการกระทำผิดระเบียบ (Violation) หรือ การฟาล์ว (Foul) ผู้ตัดสินจะเป่านกหวีด และในเวลาเดียวกันให้สัญญาณหยุดเวลาการแข่งขัน ซึ่งทำให้เกิดบอลตาย (ดูคู่มือผู้ตัดสินในหัวข้อสัญญาณและวิธีปฏิบัติ)
7.2.2 ผู้ตัดสินต้องไม่เป่านกหวีดหลังจากการโยนโทษหรือการยิงประตูเป็นผล หรือเมื่อเป็นบอลดี
7.2.3 ภายหลังการฟาล์วหรือเกิดการเล่นลูกกระโดดผู้ตัดสินจะต้องเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในสนามกันเสมอ
7.2.4 สำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติ ถ้าจำเป็นต้องสื่อสารกันด้วยคำพูด เพื่อให้สิ่งที่ตัดใจไปนั้นชัดเจนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษ







การบาดเจ็บของผู้ตัดสิน (Official : Injury)

ถ้าผู้ตัดสินบาดเจ็บไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตาม ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ภายใน 10 นาทีของเหตุการณ์นั้นการแข่งขันจะเริ่มต่อไปด้วยผู้ตัดสินที่เหลือเพียงคนเดียว จนกว่าจะสิ้นสุดเกมการแข่งขัน นอกเสียจากว่าเปลี่ยนตัวผู้ตัดสินแทนผู้ตัดสินที่บาดเจ็บ ภายหลังได้ปรึกษากับกรรมการเทคนิค ซึ่งผู้ตัดสินที่เหลือจะเป็นผู้ตัดสินใจในการเปลี่ยนตัวผู้ตัดสิน






หน้าที่ผู้บันทึกคะแนนและผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนน (Scorer and assistant scorer : duties)

9.1 ผู้บันทึกคะแนน จะบันทึกในใบบันทึกคะแนน ดังต่อไปนี้ ( 5 คนแรก) และผู้เล่นสำรองทั้งหมดซึ่งเข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อมีการละเมิดกติกาเกี่ยวกับผู้เล่น 5 คนแรก ซึ่งเริ่มเกมการแข่งขัน การเปลี่ยนตัวหรือเปลี่ยนหมายเลขของผู้เล่น ผู้บันทึกคะแนนจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินที่อยู่ใกล้ทราบทันทีหลักจากการละเมิดนั้นถูกค้นพบ
- บันทึกผลของคะแนนตามลำดับเหตุการณ์ และบันทึกการยิงประตูและการโยนโทษ
- บันทึกการฟาล์วบุคคลและฟาล์วเทคนิคของผู้เล่นแต่ละคน ผู้บันทึกจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันทีเมื่อมีผู้เล่นฟาล์วครั้งที่ 5 โดยในทำนองเดียวกันจะต้องบันทึกฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอนแต่ละคนและต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันทีเมื่อผู้ฝึกสอนต้องออกจากการแข่งขัน

9.2 ผู้บันทึกคะแนน ต้องปฏิบัติดังนี้
- แจ้งให้ผู้ตัดสินทราบเมื่อมีการขอเวลานอกในโอกาสที่เหมาะสมเมื่อทีมร้องขอเวลานอก บันทึกเวลานอกและแจ้งให้ผู้ฝึกสอนทราบโดยผ่านผู้ตัดสิน เมื่อผู้ฝึกสอนมีเวลานอกเหลืออยู่ในช่วงการเล่นนั้น
- แสดงจำนวนครั้งการกระทำฟาล์วของผู้เล่นแต่ละคนแสดงที่ริมโต๊ะของผู้บันทึกคะแนนด้านใกล้กับที่นั่งของทีมในขณะเป็นบอลดี เป็นการกระทำฟาล์วครั้งที่ 4 ของทีม ไม่ว่าจะเป็นฟาล์วบุคคลหรือฟาล์วเทคนิคซึ่งกระทำโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของทีมในช่วงการเล่นนั้น
- เปลี่ยนตัวผู้เล่นให้ถูกต้อง - ให้สัญญาณเสียงเฉพาะเมื่อเกิดบอลตายและก่อนที่จะกลับเป็นบอลดีอีกครั้ง สัญญาณเสียงของผู้บันทึกคะแนนต้องไม่ทำให้นาฬิกาแข่งขันหยุดเดิน หรือเกมการแข่งขันหยุดซึ่งไม่เป็นสาเหตุให้เกิดบอลตาย

9.3 ผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนน ต้องควบคุมป้ายคะแนน และมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บันทึกคะแนน ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่างป้ายคะแนนกับผู้บันทึกคะแนน ซึ่งไม่สามารถตกลงกันได้ ผู้บันทึกคะแนนต้องยึดใบบันทึกคะแนนเป็นหลัก และต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกัน
9.4 สิ่งต่อไปนี้เป็นข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่บันทึกคะแนนตามลำดับลงไปในบันทึกคะแนน
- ยิงประตูได้ 3 คะแนน แต่บันทึก 2 คะแนน
- ยิงประตูได้ 2 คะแนน แต่บันทึกเพิ่มเป็น 3 คะแนน คะแนนจะต้องรอจนกว่าเกิดบอลตายครั้งแรกก่อนจึงให้สัญญาณเสียงแจ้งผู้ตัดสินทราบเพื่อสั่งหยุดเกมการแข่งขัน
ถ้าค้นพบข้อผิดพลาดหลังสัญญาณเสียงของนาฬิกาแข่งขันสัญญาณการสิ้นสุดการแข่งขัน ใบบันทึกคะแนนจะต้องถูกตรวจสอบโดยผู้ตัดสิน ก่อนผู้ตัดสินจะลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนนผู้ตัดสินต้องแก้ไขข้อผิดพลาด และถ้าเป็นไปได้ก็แก้ไขผลการแข่งขันตามด้วย ถ้าหากเกิดการผิดพลาดจริง ถ้าค้นพบข้อผิดพลาดหลังจากใบบันทึกคะแนนถูกลงลายมือชื่อโดยผู้ตัดสินแล้ว ข้อผิดพลาดไม่อาจแก้ไขได้ ผู้ตัดสินต้องส่งรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อฝ่ายจัดการแข่งขัน







หน้าที่ของผู้จับเวลาแข่งขัน (Timekeeper : Duties)

10.1 ผู้จับเวลาแข่งขันต้องจัดเตรียมนาฬิกาแข่งขันและนาฬิกาจับเวลา และต้อง
- บันทึกเวลาในการแข่งขันและเวลาที่หยุดไว้ภายใต้เงื่อนไขของกติกา
- แจ้งให้ทีมและผู้ตัดสินทราบเกี่ยวกับเวลา 3 นาทีก่อนเริ่มการแข่งขันในช่วงการเล่นที่ 1 และช่วงการเล่นที่ 3
- เริ่มจับเวลานอกและให้สัญญาณเสียง เมื่อเวลาผ่านไป 50 วินาทีของการให้เวลานอก
- รับรองสัญญาณเสียงซึ่งต้องดังมากพอ และดังอย่างอัตโนมัติเมื่อเวลาการแข่งขันสิ้นสุดลง สำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ ถ้าสัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันเกิดขัดข้องหรือไม่ ดังพอ ผู้จับเวลาแข่งขันจะต้องใช้วิธีการใดก็ได้แจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันทีสัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันเป็นสัญญาณที่ทำให้เกิดบอลตาย และนาฬิกาแข่งขันหยุดเดิน แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันไม่ทำให้เกิดบอลตาย เมื่อลูกบอลลอยอยู่ในอากาศจากการยิงประตูหรือการโยนโทษ

10.2 นาฬิกาแข่งขันจะเริ่มเดิน เมื่อ
- ระหว่างการเล่นลูกกระโดด เมื่อลูกบอลถูกปัดอย่างถูกต้องโดยผู้เล่นถูกกระโดด
- หลังจากการโยนโทษไม่เป็นผลและลูกบอลกลายเป็นบอลดี เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นในสนาม
- ระหว่างการส่งบอลเข้าเล่นเมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นในสนาม

10.3 นาฬิกาแข่งขันจะหยุดเดิน เมื่อ
- เวลาการเล่นสิ้นสุดสำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
- ผู้ตัดสินเป่านกหวีดในขณะที่เป็นบอลดี
- สัญญาณเสียงเครื่องจับเวลา 24 วินาที ดังขึ้นในขณะที่เป็นบอลดี
- การยิงประตูเป็นผล ทีมที่เสียคะแนนร้องขอเวลานอก
- การยิงประตูเป็นผลในช่วง 2 นาทีสุดท้ายของช่วงการเล่นที่ 4 และช่วงต่อเวลาพิเศษ



http://www.siamsporttalk.com/

ทักษะการเล่นกอล์ฟ

ผู้ฝึกสอนกอล์ฟอาชีพ ผู้เขียนและแปลตำรากอล์ฟ เช่น:

“ศาสตร์แห่งกอล์ฟของ เบน โฮแกน”
“12 ช้อทแก้ปัญหา”
“เก่งกอล์ฟสไตล์ เดวิส เลิฟ เดอะ เธิร์ด”
“ติวเข้มกอล์ฟ 1 นาที”

ผู้ฝึกสอนกอล์ฟอาชีพที่:

• ไม่เคยหยุดนิ่ง ศึกษาค้นคว้าและทดลอง Trick ใหม่ๆตลอดเวลา
• สร้างวงเฉพาะตัวที่ถูกหลักวิชากอล์ฟและมีประสิทธิภาพที่สุดให้ผู้เรียนแต่ละคน
• ให้เบสิคที่ถูกต้องแก่ผู้เรียนอย่างครบถ้วน ไม่มีการปิดบัง พร้อมมีวิธีฝึกให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายและปฏิบัติได้ดี
• แก้/ปรับวง ทุกอาการ อย่างได้ผล ด้วย Trick ที่ไม่มีใครเหมือน
• นัดเวลาเรียนได้ตามความสะดวกของผู้เรียน ความเร็วหรือช้าจัดให้ตามความถนัดของท่าน ไม่มีข้อจำกัดใดๆ

สอนประจำที่: สนามไดรฟ์นัมเบอร์วัน All Star (ซอยสถานทูตลาว ถนนประชาอุทิศ ใกล้แยกเหม่งจ๋าย ห้วยขวาง)

* ติดต่อสมัคร โทร. 089-896-8100

แก่นแท้ของเกมกีฬากอล์ฟนั้นอยู่ที่ ระยะ และ ความแม่นยำ ซึ่งรวมกันเป็น ประสิทธิภาพ ถ้าท่านมีสองอย่างนี้อยู่ในสายเลือด (มัสเซิล เมมโมรี่) ลงเล่นเมื่อใดก็ชนะเมื่อนั้น การเรียนการสอนกอล์ฟอย่างถูกวิธีที่ผมสอนนั้น จะมุ่งเน้นการฝึกให้ผู้เรียนเข้าใจและเกิดทักษะในการปฏิบัติอันจะนำไปสู่ทั้งสองสิ่งนั้น ถ้าท่านคิดว่าการเรียนกอล์ฟนั้นเรียนเพื่อให้ท่าสวย ท่านเข้าใจผิดแล้ว หรือใครที่สอนกอล์ฟโดยเน้นที่ท่าสวยนั้นก็เช่นเดียวกัน กอล์ฟไม่มีคะแนนให้ท่า ถ้าเน้นให้ท่าดีระวังจะทีเหลว ท่าคือผลลัพธ์ของวงสวิง ถ้าวงถูกท่าก็ต้องสวย เราจึงต้องเรียนทั้งสองสิ่งไปพร้อมๆกัน แต่ความเข้าใจการทำงานของวงอย่างถ่องแท้สำคัญที่สุด — ผมสอนให้ท่านเล่นได้ดีที่สุดตามความทุ่มเท ความมั่นใจในตัวเอง และความพร้อมของท่าน หมายความว่าขี้เกียจซ้อมก็ทำให้ตีได้ แต่ถ้าขยันซ้อมก็ยิ่งทำให้ตีได้เก่งยิ่งๆขึ้นไปได้!

ทฤษฎีและเบสิคที่ผมสอนและท่านต้องเรียนและฝึกให้ชำนาญประกอบด้วย:

Setup Routine อันประกอบด้วย หลักการจับกริพที่มีประสิทธิภาพ ท่ายืน ระยะยืน ตำแหน่งไหล่ ตำแหน่งมือ ตำแหน่งเท้า ตำแหน่งลูก ฯลฯ
Basic Movement อันประกอบด้วยการควบคุมและใช้งานกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นส่วนต่างๆในการสวิงให้มีประสิทธิภาพ การถ่ายน้ำหนัก การใช้ Momentum หลักการแบ็คสวิง หรือขึ้นไม้ ดาวน์สวิงและแอมแพ็คท์ ฟอโลว์ทรูและท่าจบ
Cause & Effect และ Swing Sequence ที่มีประสิทธิภาพ คุณจะได้เรียนรู้ว่าอะไรก่อให้เกิดอะไร เช่นที่มาและการใช้ของการถ่ายน้ำหนัก หน้าที่และการควบคุมข้อมือ และ Late Hit ฯลฯ ซึ่งมีความจำเป็นต้องรู้เพื่อที่จะสามารถเล่นช้อทรูปแบบต่างๆได้ ใช้อุปกรณ์แต่ละชิ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Swing Plane & Path ให้คุณมีระนาบวงสวิงและทางเดินของลำตัว มือ และหัวไม้ ที่ถูกต้องสำหรับอุปกรณ์แต่ละช่วง สามารถบังคับวิถีลูกได้ดี เพื่อให้สามารถตีเข้าสู่เป้าได้อย่างแม่นยำ
Scramble Shot อันประกอบด้วยเทคนิคการเล่นช้อททุกช้อทที่จำเป็นต้องใช้ในการออกรอบ ไม่ว่าจะเป็นลูกไดรฟ์ แฟร์เวย์วู้ด เหล็กยาว เหล็กสั้น จนถึงการชิพและพัทท์
Long Drive การตีให้ตรงและไกลที่สุดตามศักยภาพของแต่ละคน เน้นการเล่นเหล็กยาวและหัวไม้โดยเฉพาะ





ขั้นตอนการเรียนการสอน

ทุกโปรแกรมหรือหลักสูตร จะมีการแบ่งการสอนเป็นขั้นตอน 4 ขั้นตอนซึ่งท่านต้องปฏิบัติได้ดีก่อนที่จะสามารถก้าวไปปฏิบัติขั้นต่อไปได้สำเร็จ และแต่ละขั้นจะลงรายละเอียดให้ลึกและละเอียดมากน้อยต่างกันไปตามระยะเวลาของโปรแกรมที่ท่านเลือก:

ขั้นที่ 1 : ท่านจะได้เรียนระบบการสวิง ตั้งแต่การ Setup, Backswing, Downswing, Followthrough, Swing Path & Plane, วิธีการหมุนตัวและการถ่ายน้ำหนัก, การใช้อวัยวะและข้อต่างๆ ฯลฯ ที่ถูกต้อง
ขั้นที่ 2 : ท่านจะได้เรียนการตีแบบ Half-swing, 3 Quater-swing, Full-swing ซึ่งรวมถึงลูกพิช ชิพ และการพัทท์
ขั้นที่ 3 : ท่านจะได้เรียนหลักการควบคุมลูก (Ball Flight Control), การตีหัวไม้ (Driving) รวมถึงการตีให้ได้ระยะพร้อมกับทิศทาง
ขั้นที่ 4 : ท่านจะได้เรียนรู้จิตวิทยาการเล่นกอล์ฟและเทคนิคอื่นๆ อีกมากมายเท่าที่จะมีเวลา (ขั้นก่อนๆท่านเรียนได้เร็ว ก็เหลือเวลาสำหรับขั้นนี้มากขึ้น)


โปรแกรมปรกติ

โปรแกรม 1: กอล์ฟสมบูรณ์แบบ (2 เดือน)

เหมาะอย่างยิ่งสำหรับ ผู้ที่หัดใหม่และนักกอล์ฟใหม่ที่ต้องการพัฒนาฝีมือกอล์ฟทุกท่าน ไม่ว่าท่านคือผู้ที่ไม่เคยเล่นกอล์ฟเลย ผู้ที่เคยหัดมาเคยเรียนมาแล้วแต่ยังไม่เป็นที่พอใจ ผู้ที่หัดเล่นเองมาก่อนไม่นานนักและรู้สึกว่าไปต่อไปไม่ได้แล้ว การเรียนการสอนละเอียดครบทุกขั้นตอน ได้เรียนเบสิคจนแน่น เรียนตั้งแต่พื้นฐานจนถึงเทคนิคขั้นสูง ผู้เรียนจะได้เป็นเจ้าของวงสวิงที่ถูก สวยงาม และดีที่สุดสำหรับตนเอง มีความรู้ที่ทำให้สามารถปรับและแก้วงของตนเองได้ตลอดอายุการเล่น ทำให้เล่นดีและสนุก สนับสนุนการงานและธุรกิจ อีกทั้งยังสามารถพัฒนาฝีมือต่อไปได้อย่างไร้ขีดจำกัด จบแล้วท่านจะเบสิคแน่น วงสวย สามารถออกรอบได้อย่างมั่นใจ

ราคา 15,000 บาท

โปรแกรม 2: จับวงเร่งด่วน (2 ครั้ง/4 ชม.)

แพ็คเกจราคาประหยัดสำหรับผู้ที่ตีได้แล้วแต่ยังไม่ดี ได้ไล่เบสิคแบบเร่งรัด พร้อมสอดแทรกเทคนิคให้ ช่วยให้คุณปรับตัวเข้ากับอุปกรณ์ของคุณได้ดียิ่งขึ้น ต่อไปคุณจะมีวงที่ถูกและดูดี ไดรฟ์ดี กว่าเดิม (มากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับความสามารถของท่าน) ภายในเวลาที่สั้น และเสียค่าใช้จ่ายน้อย

ราคา 5,000 บาท

โปรแกรม 3: จับวงเร่งด่วน (1 ครั้ง/2 ชม.)

แพ็คเกจราคาประหยัดสำหรับผู้ที่ตีได้แล้วแต่ยังไม่ดี ได้ไล่เบสิคแบบเร่งรัด พร้อมสอดแทรกเทคนิคให้ ช่วยให้คุณปรับตัวเข้ากับอุปกรณ์ของคุณได้ดียิ่งขึ้น ต่อไปคุณจะมีวงที่ถูกและดูดี ไดรฟ์ดี กว่าเดิม (มากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับความสามารถของท่าน) ภายในเวลาที่สั้น และเสียค่าใช้จ่ายน้อย กว่าโปรแกรมที่ 2

ราคา 3,000 บาท

โปรแกรม 4 : มุ่งซิงเกิล (เวลาจัดให้เฉพาะราย)

สำหรับนักกอล์ฟทุกท่านที่ต้องการพัฒนาฝีมือ เช่นเล่นมานานแล้วแต่ยังสับสน พัฒนาไม่ได้ การเล่นขาดความคงที่ ทั้งๆที่ท่านมีฝีมือ การฝึกสอนอย่างสมบูรณ์แบบ ตัวต่อตัว แก้วงให้ทั้งหมดพร้อมปูพื้นฐานจนถึงขั้นอาชีพ ตั้งแต่ Physical Game จนถึง Mental Game

ราคาจัดให้เฉพาะราย

โปรแกรม 5: ลูกสั้น และการพัทท์ (1 ครั้ง/ 4 ชม.)

ท่านจะได้เรียนตั้งแต่ ลูกลอฟท์ ลูกฟล็อพ ลูกพิทช์ ลูกชิพ ชิพแอนด์รัน จนถึงเทคนิคการพัทท์ลูก ลองคิดดูว่าถ้าท่านลดสกอร์ลูกรอบกรีนและลูกพัทท์ได้สักหลุมละ 1 ช้อท จะเกิดอะไรขึ้น!

ราคา 5,500 บาท

การสมัคร:

ติดต่อโปร โทร. 089-896-8100

หมายเหตุ:

* เรียนที่ สนามไดรฟ์นัมเบอร์วัน All Star (ซอยสถานทูตลาว ถนนประชาอุทิศ ใกล้แยกเหม่งจ๋าย ห้วยขวาง)

* การเรียนการสอนเป็นแบบติวเข้มตัวต่อตัว 100% สามารถเร่งให้เร็วได้ ลงเรียนแล้วท่านสามารถนัดเวลาเป็นครั้งคราวตามที่ท่านสะดวกได้โดยไม่มีข้อจำกัด



http://108golfer.com/

ทักษะการเล่นปิงปอง

ฝึกการสร้างความคุ้นเคยกับลูกปิงปอง

- ให้เด็กหัดโยนลูกปิงปองเล่น ไม่ว่าจะทั้งโยนไปมา , โยนให้ลูกปิงปองกระเด้งแล้วให้เด็กๆ พยายามจับลูกปิงปองให้ได้ หรือ โยนลูกกระทบข้างฝา ฯลฯ ซึ่งแบบฝึกนี้ต้องการให้เด็กๆ ได้คุ้นเคยกับจังหวะการกระดอนของลูกปิงปอง รวมถึงได้สังเกตทิศทางของลูกปิงปองเมื่อกระทบกับสิ่งต่างๆ โดยการฝึกจะให้เด็กๆ ยืนเล่นหรือนั่งเล่นกับลูกปิงปองก็ได้




ฝึกการตีลูกด้านแบ๊คแฮนด์
- ฝึกให้เด็กๆ หัดตีลูกปิงปองด้วยด้านแบ๊คแฮนด์ ให้เด็กๆ นั่งลงกับพื้น(ดังรูป) โดยให้อีกฝ่ายหนึ่งกลิ้งลูกไปกับพื้น และให้อีกฝ่ายหนึ่งหัดตีลูกปิงปองให้โดนโดยใช้ด้านแบ๊คแฮนด์ในการตีลูก




ฝึกการตีลูกด้านโฟร์แฮนด์
- ทำนองเดียวกัน เราสามารถฝึกให้เด็กๆ หัดตีลูกด้วยด้านโฟร์แฮนด์เช่นเดียวกันกับการฝึกตีด้านแบ๊คแฮนด์ข้างต้น ซึ่งการฝึกลักษณะเช่นนี้จะช่วยให้เด็กเริ่มเรียนรู้การใช้ไม้ปิงปองตีลูกด้วยด้านแบ๊คแฮนด์และโฟร์แฮนด์ เด็กๆ จะรู้สึกว่าการเริ่มเล่นปิงปองนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ยากเลย




ฝึกการเดาะลูกปิงปองแบบต่างๆ
- จากนั้น....เราสามารถฝึกให้เด็กๆ หัดเดาะลูกปิงปองในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ด้านแบ๊คแฮนด์เดาะลูก , ใช้โฟร์แฮนด์เดาะลูก หรืออาจจะเลี้ยงลูกให้อยู่บนหน้าไม้โดยไม่ให้ลูกตกลงพื้นก็ได้ ซึ่งแบบฝึกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกให้เด็กๆ ฝึกการควบคุมลูกปิงปองให้ได้ โดยผู้ควบคุมการฝึกสามารถประยุกษ์รูปแบบการฝึกต่างๆ ได้อย่างมากมาย แต่ข้อสำคัญสำหรับผู้สอนก็คือ การที่จะต้องไม่เคร่งครัดกับการฝึกเด็กๆ ในวัยนี้จนเกินไป ควรจะสอนให้เด็กๆ ได้มีความสนุกสนานกับการฝึกปิงปองมากกว่าจะให้เด็กการความรู้สึกที่ซีเรียสกับกีฬาชนิดนี้ เพราะหากเด็กๆ เกิดความรู้สึกเช่นนี้ จะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายและจะเลิกเล่นไปในที่สุด




ฝึกให้รู้จักการตีลูกด้วยโฟร์แฮนด์และแบ๊คแฮนด์
- หลังจากที่เด็กๆ ชำนาญการเดาะลูกแล้ว ผู้ฝึกสอนสามารถเปลี่ยนแบบฝึกมาเป็นให้เด็กๆ หัดตีลูกด้วยโฟร์แฮนด์ โดยให้เด็กๆ อีกคนหนึ่งโยนลูกปิงปองให้อีกคนหนึ่งตีลูกโดยใช้ด้านโฟร์แฮนด์และด้านแบ๊คแฮนด์สลับกันไปมา




ฝึกการตีลูกปิงปองกับผนังด้วยด้านแบ๊คแฮนด์
- จากนั้นลองให้เด็กๆ หัดตีลูกปิงปองกับผนังโดยการนั่ง เริ่มต้นจากการใช้ด้านแบ๊คแฮนด์ก่อน(ดังรูป) พยายามให้เด็กๆ ตีโต้ได้หลายๆ ลูกขึ้น




ฝึกการตีลูกปิงปองกับผนังด้วยด้านโฟร์แฮนด์
- และตามด้วยการฝึกตีนั่งตีโต้กับผนังด้วยด้านโฟร์แฮนด์ และเมื่อเด็กๆ เกิดความคล่องและชำนาญขึ้นแล้ว ผู้ควบคุมการฝึกสามารถประยุกษ์ให้เด็กๆ นั่งตีโต้กับผนังโดยสลับการตีด้วยแบ๊คแฮนด์และโฟร์แฮนด์สลับกันไป




ฝึกการตีโต้กับผนังด้วยการยืน
- จากนั้นให้เด็กๆ เปลี่ยนจากการนั่งเป็นการยืนตีโต้กับกำแพง โดยใช้ฝึกตีโต้โดยใช้ทั้งด้านแบ๊คแฮนด์และโฟร์แฮนด์สลับกันไป




ฝึกตีลูกไปข้างหน้า
- ฝึกให้เด็กๆ ตีลูกไปข้างหน้า โดยการปล่อยลูกปิงปองตกพื้นก่อนและค่อยตี(ดังรูป) โดยสามารถฝึกให้ตีได้ทั้งด้านแบ๊คแฮนด์และโฟร์แฮนด์




ฝึกตีโต้ไปมากลางอากาศ
- เมื่อเด็กๆ เกิดความชำนาญมากยิ่งขึ้นแล้ว ควรหัดให้เด็กๆ ตีลูกโต้ไป-มากลางอากาศโดยไม่ให้ลูกปิงปองตกลงพื้นดิน ซึ่งสามารถฝึกตีโต้ได้ทั้งด้านโฟร์แฮนด์และแบ๊คแฮนด์สลับไปมา




เพิ่มเกมส์ให้เด็กๆ เพื่อความสนุกสนานในการฝึก
- เมื่อเด็กๆ เกิดความชำนาญมากขึ้น ควรหาเกมส์ต่างๆ มาให้เด็กๆ ฝึกกัน ทั้งนี้วัตถุประสงค์ในการฝึกเด็กในวัยนี้เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานมากกว่าจะฝึกแบบเอาเป็นเอาตาย แบบฝึกในวัยนี้จึงควรเน้นไปที่เบสิกต่างๆ เพื่อให้เด็กๆ เกิดทักษะในการควบคุมลูกปิงปอง รวมถึงได้เรียนรู้จังหวะและคุ้ยเคยกับเกมส์ปิงปองมากขึ้น




เกมส์เก้าอี้ดนตรี
- หาเกมส์ต่างๆ มาให้เด็กๆ ได้ฝึกเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ซึ่งอาจเปิดเสียงเพลงประกอบการฝึกไปด้วยก็ไม่ผิดอะไร




เกมส์ปิงปอง-วอลเลย์
- ลองแบ่งข้างให้เด็กๆ ได้ตีลูกปิงปองข้ามตาข่ายกัน อาจจะใช้แผงกั้นแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย และให้เด็กๆ ตีโต้ข้ามไปมา ลองฝึกแบบนี้เด็กๆ ไม่สนุกและยังเบื่ออีกก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้วครับ




ปิงปอง-บอลลูน
- หาลูกโป่งมาให้เด็กๆ ตีบ้าง ก็คงไม่เห็นเป็นไรนะครับ




ฝึกตีแบบมีเป้าหมายและกำหนดจุดให้ลูกโดน
- ลองหาขวดหรือสิ่งของต่างๆ มาให้เด็กตีลูกปิงปองไปให้โดน (เหมือนกับการยิงปืนลมในงานวัด) บ้างก็ดีนะครับ แบบฝึกนี้จะฝึกให้เด็กได้มีเป้าหมายในการตีลูกปิงปองไป ซึ่งเด็กๆ จะเกิดความสนุกสนานและเกิดความชำนาญโดยไม่รู้ตัว




ฝึกกำหนดจุดกระทบบนผนัง
- เราสามารถกำหนดจุดให้เด็กๆ ตีโต้บนผนังได้(ดังรูป) โดยให้เด็กตีโต้กับกำแพงสลับด้านแบ๊คแฮนด์-โฟร์แฮนด์ไปมา หรือจะให้เด็กๆ ผลัดกันตีคนละทีก็ประยุกษ์ใช้ได้เช่นกันครับ




หาเกมส์มาเล่นกันอีกดีกว่า
- เกมส์ต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อการฝึกปิงปองในวันเด็กๆ ทั้งนั้น เด็กๆ จะเกิดความชำนาญขึ้นโดยไม่รู้ตัว และเมื่อเราฝึกเด็กเหล่านี้ในเบสิกต่างๆ ที่สูงขึ้น คุณจะรู้สึกว่าได้ว่าเด็กๆ จะเกิดการพัฒนาได้เร็วกว่าเด็กที่ไม่เคยผ่านการฝึกแบบนี้มาก่อนเลย




เล่นเกมส์ต่อกันดีกว่า
- แบ่งพื้นออกเป็นสี่ส่วนเท่าๆ กัน จากนั้นให้เด็กๆ ตีลูกปิงปองไปตามช่องต่างๆ โดยจะตีไปช่องไหนก็ได้ ทดลองเล่นดูนะครับ เด็กๆ ที่ได้เล่นเกมส์นี้จะเกิดสมาธิในการเตรียมพร้อมที่จะตีลูกปิงปองตลอดเวลา รวมถึงจะได้เกิดความคิดในการตีลูกไปอย่างไรเพื่อให้เพื่อนๆ รับไปได้อีกด้วย




ฝึกตีปิงปองบนพื้นก่อนฝึกบนโต๊ะ
- การฝึกแบบนี้จะช่วยให้เด็กๆ ได้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกีฬาปิงปองได้เร็วขึ้นกว่านำเด็กไปฝึกตีปิงปองบนโต๊ะปิงปองจริงทันที




โต๊ะอาหารก็นำมาทำเป็นโต๊ะปิงปองได้นะ
- โต๊ะเรียนหนังสือ โต๊ะอาหาร ก็สามารถนำมาทำเป็นโต๊ะปิงปองสำหรับเด็กๆ หัดเล่นก่อนได้ ทั้งนี้โต๊ะเหล่านี้จะไม่มีขนาดที่ใหญ่เกินไปนั่นเอง ซึ่งจะทำให้เด็กๆ หัดตีปิงปองได้ง่ายขึ้น




ฝึกตีปิงปองโดยมีครูฝึกป้อนหรือใช้เครื่องยิงป้อน
- เมื่อเด็กๆ พร้อมที่จะเล่นกับโต๊ะปิงปองจริงๆ ควรจะมีครูฝึกเป็นผู้ที่คอยป้อนลูกจะดีกว่า เพราะหากปล่อยให้เด็กๆ เล่นกันเอง จะทำให้เกิดความชำนาญได้ช้าและไม่มีผู้ที่คอยบอกข้อบกพร่องของเด็กๆ แต่ละคน




http://www.tlcthai.com/webboard/

การประปา

ที่ทำการเดิม (ถนนจรัญสนิทวงศ์) แผนที่ที่ตั้ง

สถานที่ตั้ง : 258/4 ซ.จรัญสนิทวงศ์ 30/1 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบ้านช่างหล่อ
เขตบางกอกน้อย กทม.10700
โทรศัพท์ : 0-2412-4631-2,0-2411-2335
โทรสาร : 0-2412-1226
เส้นทางการเดินทาง

มีรถโดยสารธรรมดาสาย : 40,42,56,57,80,146
มีรถโดยสารปรับอากาศสาย : ปอ.509, ปอ.510,ปอ.542




ที่ทำการใหม่ (ถนนกาญจนาภิเษก บริเวณโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์) แผนที่ที่ตั้ง

สถานที่ตั้ง :170 หมู่ 2 ถนนกาญจนาภิเษก ตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
โทรศัพท์ :0-2449-0011
โทรสาร :0-2448-0769
E-mail : br01s00@mwa.co.th
เส้นทางการเดินทาง

: มีรถโดยสารธรรมดาสาย 127
: มีรถโดยสารปรับอากาศสาย ปอ.177, ปอ.516
: รถโดยสารสองแถวสายแม็คโคร-ศรีประวัติ และ สายบางกรวย-ศรีประวัติ
: รถตู้สายพาต้า-บางบัวทอง,สายเมอรี่คิงส์-บางบัวทอง
และสายปิ่นเกล้า-บางบัวทอง


พื้นที่ให้บริการ

ทิศเหนือ :จรดทางรถไฟสายใต้ และคลองมหาสวัสดิ์
ทิศใต้ :จรดคลองมอญ และคลองบางเชือกหนัง
ทิศตะวันออก :จรดแม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันตก :สุดเขตทวีวัฒนา


หมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงานประปาสาขาบางกอกน้อย
โทรศัพท์ตู้กกลาง 0-2449-0011

หน่วยงาน เครื่องตรง ภายใน
ผู้จัดการสำนักงาน 0-2449-0055 200
ส่วนกลาง 0-2449-0065 201-2
ผู้อำนวยการกองบริการ 0-2448-0202 211-2
ผู้อำนวยการกองบำรุงรักษา 0-2448-0333 311-2
ผู้อำนวยการกองรายได้ 0-2448-0678 222-3
ผู้อำนวยการกองธุรกิจบริการ 0-2449-0089 322-3
การขอติดตั้งประปาใหม่ 0-2449-0123 111-3
ชำระหนี้ค้าง 0-2448-0513 244
ชำระเงินผ่านธนาคาร 0-2448-0513 244
ค่าน้ำแพง 0-2448-0662 233-4
แจ้งท่อแตกรั่ว 0-2411-1138 0-2449-0033 ภายใน 441-2

น้ำไหลอ่อน 0-2411-1138 0-2449-0033 ภายใน 441-2




http://www.mwa.co.th/kbr01.html

การไฟฟ้า

............การชำระค่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้านครหลวงเขตและสาขาย่อย ท่านสามารถชำระค่าไฟฟ้าด้วยเงินสด หรือ เช็ค ( กรณีชำระด้วยเช็ค โปรดขีดคร่อมและเขียน A/C PAYEE ONLY พร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ และ หมายเลขเครื่องวัด ด้านหลังเช็คด้วย ) ในเวลาทำการ ระหว่างเวลา 7.30 น. ถึง 15.00น.โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ สำนักงานที่ให้บริการแบ่งเป็น การไฟฟ้านครหลวงเขต 18 สำนักงานเขต 14 สาขาย่อย ดูรายละเอียดด้านล่าง หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่ Call Center โทร 1130 บริการ 24 ช.ม.

.............ข้อมูลที่ใช้อ้างอิงในการชำระค่าไฟฟ้า ที่ต้องทราบคือ หมายเลขเครื่องวัดฯ หรือ ชื่อ ที่อยู่ ผู้ขอใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีอยู่ในใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า หรือใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้า

การไฟฟ้านครหลวงที่ให้บริการมีดังนี้ การไฟฟ้านครหลวงเขต สถานที่ เบอร์โทร
- การไฟฟ้านครหลวงเขตมี 18 แห่ง 1. เขตวัดเลียบ
121 ถ.จักรเพชร เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
0-2225-0112
- สาขาย่อยมี 14 แห่ง 2. เขตมีนบุรี 24 ม.13 ถ.สุวินทวงศ์ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10240
0-2545-8402
3.เขตลาดกระบัง 24 ม.13 ถ.สุวินทวงศ์ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10240 0-2545-8402

4.เขตสามเสน 809 ถ.สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
0-2243-0131
5.เขตธนบุรี 132/18 ซ.จรัลฯ 20 เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
0-2411-7401
6.เขตนนทบุรี 285 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง นนทบุรี 11000
0-2580-7480
7.เขตบางกะปิ 88 ถ.รามคำแหง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
0-2314-0024
8.เขตลาดพร้าว 88 ถ.รามคำแหง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 0-2314-0024
9.เขตราษฎร์บูรณะ 209 ถ.ราษฎร์บูรณะ เขตราษฏร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140
0-2427-0070
10.เขตสมุทรปราการ 386 ถ.สุขุมวิท อ.เมือง สมุทรปราการ 10270
0-2385-0122
11.ขตบางใหญ่ 38/2 ม.10 ถ.บางกรวย-บางใหญ่ อ.บางใหญ่ นนทบุรี
0-2595-1300
12.เขตบางบัวทอง 38/2 ม.10 ถ.บางกรวย-บางใหญ่ อ.บางใหญ่ นนทบุรี 0-2595-1300
13.เขตคลองเตย 1192 ถ.พระราม4 เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10110
0-2249-0600
14.เขตยานนาวา 3027 ถ.เจริญกรุง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
0-2289-0151
15.เขตพางพลี 70/1 ม.1 ถ.กิ่งแก้ว อ.บางพลี สมุทรปราการ 10540
0-2316-8001
16. เขตประเวศ 70/1 ม.1 ถ.กิ่งแก้ว อ.บางพลี สมุทรปราการ 10540 0-2316-8001
17.เขตบางเขน 17-117/2 ม.6 ถ.พหลโยธิน เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220
0-2986-0000
18.เขตบางขุนเทียน 78/2 ม.6 ถ.พระราม2 เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
0-2451-4101

สาขาย่อย สถานที่ เบอร์โทร
1.สาขาย่อยรามอินทรา
เลขที่ 7/170 ซอยโรงพยาบาลสินแพทย์ ถนนรามอินทรา เขตบึงกุ่ม กทม.
0-2509-0056
2.สาขาย่อยห้วยขวาง
เลขที่ 1998/36 บริเวณตลาดห้วยขวาง ถ. ประชาราษฎร์บำเพ็ญ เขตดินแดง กทม. 10310
0-2276-9359
3.สาขาย่อยตลิ่งชัน
เลขที่ 40/1 หมู่บ้านมหาดไทย 1 ถนนพุทธมณฑลสาย 1 แขวงบางระมาด
0-2448-6030
4.สาขาย่อยดอนเมือง
เลขที่ 157/157-158 ใกล้นิรันดร์คอนโด ถนนช่างอากาศอุทิศ แขวงทุ่งสองห้อง เขตดอนเมือง กทม.
0-2565-3842
5.สาขาย่อยนาคนิวาส
เลขที่ 49/67-68 หมู่บ้านกฤติกร ซ. นาคนิวาส ถ. ลาดพร้าว เขตบางกะปิ กทม. 10230 0-2530-6698
6.สาขาย่อยพระประแดง
เยื้องซอยวัดชมนิมิตร ถ. สุขสวัสดิ์ อ.พระประแดง จ. สมุทรปราการ 10300
0-2463-3368


7.สาขาย่อยบางรักใหญ่
ตั้งอยู่เลขที่ 13/14 ถนนสุพรรณบุรี-ตลิ่งชัน หมู่ที่ 4 ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง นนทบุรี 0-2920-6371
8.สาขาย่อยเพลินจิต
เลขที่ 30 ซ. ชิดลม ถ. เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม.10330 0-2256-3247
9.สาขาย่อยดาวคะนอง
เลขที่ 1297/7 ถ.ตากสิน เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600
0-2476-4771
10.สาขาย่อยจตุจักร
ตั้งอยู่ที่ 520 ถ.กำแพงเพชร2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2272-4480
11.สาขาย่อยบางบ่อ
เขตบางพลี ถนนบางนา-ตราด เขตบางพลี สมุทรปราการ 0-2338-1472
12.สาขาย่อยหนองแขม
เลขที่ 204 หมู่ 7 หมู่บ้านพรทวีวัฒน์ ซอยเพชรเกษม 73/2 ถ. เพชรเกษม เขตหนองแขม กทม. 10160
0-2421-0060
13. สาขาย่อย กทม. พระโขนง 1792 ถ.สุขุมวิท 54 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม.10260 0-2311-6067




http://www.mea.or.th/