วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การอุตสาหกรรม

นับจากปี 2524 ที่รัฐบาลได้ดำเนินการตามโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ซึ่งจังหวัดระยอง ได้รับการกำหนดบทบาทให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกและถูกกำหนดแนวทาง การพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่ เป็นศูนย์บริการมาตรฐานการศึกษา และวิจัยด้านเทคโนโลยีและกำหนด ให้ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเป็นประตูทางออกให้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ไม่ต้องผ่านกรุงเทพฯซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการจัดเตรียมระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานไว้อย่างสมบูรณ์และกำหนดพื้นที่ บริเวณมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม เป็นเมืองอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศมี เนื้อที่ทั้งหมด 10,000 ไร่ เป็นพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรม 8,000 ไร่ มีท่าเรือน้ำลึกขนส่งสินค้าที่สามารถรับเรือขนาด 20,000 ตัน 1 ท่า และท่าขนส่งวัสดุเหลวที่สามารถรับเรือขนาด 8,000 ตัน 2 ท่า เป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมที่สำคัญ ๆ คือ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี จังหวัดระยองจึงเป็นจังหวัด ที่มีศักยภาพสูงในส่วนของการลงทุนด้านอุตสาหกรรมนอกจากนี้จังหวัดระยองยังได้รับการกำหนดเขตการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงาน คณะกรรมการ ส่งเสริมการ ลงทุน ให้อยู่ในเขต 3 ของการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งได้เปรียบกว่าจังหวัดปริมณฑลและอยู่ ใกล้ กรุงเทพ -มหานครในระยะทาง ไม่เกิน 200 กิโลเมตร จึงส่งผลให้จังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาด้าน อุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว
จากการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นผลให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมขั้นต่อเนื่องเกิดขึ้นได้ เกิดนิคมอุตสาหกรรมทั้งที่ ดำเนินการโดยการนิคมอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมที่ร่วมดำเนินการกับเอกชนเขตประกอบการ อุตสาหกรรม ชุมชนอุตสาหกรรม หรือสวนอุตสาหกรรม รวมทั้งสิ้น 14 แห่ง ดังนี้
การกสิกรรม

การประมงและปศุสัตว์
การอุตสาหกรรม
การพาณิชย์

นิคมอุตสาหกรรม จำนวน 6 แห่ง ได้แก่
1. นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 10,000 ไร่
2. นิคมอุตสาหกรรมตะวันออก 2,430 ไร่
3. นิคมอุตสาหกรรมผาแดง 516 ไร่
4. นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด 2,062 ไร่
5. นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ 4,700 ไร่
6. นิคมอุตสาหกรรมไทย-สิงคโปร์ 1,494 ไร่
เขตประกอบการอุตสาหกรรม จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
1. เขตประกอบการอุตสาหกรรม สยามอีสเทิร์นอินดัสเตรียลพาร์ค 1,341 ไร่
2. เขตประกอบการอุตสาหกรรม TPI 4,335 ไร่
3. เขตประกอบการอุตสาหกรรม จี.เค.แลนด์ 882 ไร่
4. เขตประกอบการอุตสาหกรรม เครือซีเมนต์ไทย ระยอง 3,427 ไร่
ชุมชนอุตสาหกรรม จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
1. นิคมอุตสาหกรรมนครินทร์ - อินดัสเตรียลปาร์ค 465 ไร่
2. ชุมชนอุตสาหกรรม เอส เอส พี พร็อพเพอร์ตี้ 1,246 ไร่
สวนอุตสาหกรรม จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
1. สวนอุตสาหกรรมระยอง (Rayong Industrial Park) 1,500 ไร่
2. สวนอุตสาหกรรมโรจนะ 2,200 ไร่
จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2542 มีอยู่ทั้งสิ้น 1,223 โรงงาน เงินลงทุน 438,479 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน 73,791 คน ยังสามารถแยกเป็นประเภทที่สำคัญ ดังนี้
1. อุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ โรงงานน้ำตาล, โรงงานผลิตเกี่ยวกับมันสำปะหลัง, โรงงานผลิตผลิตภัณฑ จาก ยางพารา ได้แก่ น้ำยางข้น, ยางเครฟ, ยางแท่ง, ยางแผ่น, ยางรัดของ, ถุงมือยาง, เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ฯลฯ
2. อุตสาหกรรมก่อสร้าง ได้แก่ โรงงานผลิตโครงสร้างเหล็ก, โรงงานผลิตภัณฑ์คอนกรีต,โรงงานผลิตกระเบื้องมุงหลังคา ผลิตอิฐแก้ว ฯลฯ
3. อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ โรงงานน้ำปลา, โรงงานปลากระป๋อง, โรงงานอบปลาหมึกแห้ง และปลาหมึก ปรุงรส, โรงงานผลิตน้ำดื่ม ฯลฯ
4. อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ ได้แก่ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา, โรงงานทำวงล้อม้วนสายไฟ,โรงงานแปรรูปและอบอัดน้ำยาถนอมเนื้อไม้ ฯลฯ
5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้แก่ โรงงานทอผ้า, ฟอกย้อมผ้า ฯลฯ
6. อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติก ได้แก่ โรงงานที่นำวัตถุดิบจากโรงแยกก๊าซจังหวัดระยองไปแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ และโรงงานที่ผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น ขวดพลาสติก, ลังพลาสติก ฯลฯ
7. อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ ได้แก่ โรงงานที่ผลิตเกี่ยวกับเหล็กและโลหะ
8. อุตสาหกรรมบริการ ได้แก่ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสีรถยนต์ , อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน ยานยนต์, อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์ / อุปกรณ์ไฟฟ้า ฯลฯ



http://www.rayong.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น