วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทักษะการว่ายน้ำ

--------------------------------------------------------------------------------

ฝึกทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้นอย่างง่ายครับ
สำหรับคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น ลองไปหัดดูนะครับ
ถ้าเกิดน้ำท่วมใหญ่มา อย่างน้อยจะพอปะทัง เอาตัวรอดได้
...
ส่วนใหญ่ของสาเหตุของคนที่ไม่กล้าว่ายน้ำ ....

- กลัวจม
- กลัวหายใจไม่ออก
- เกร็งและตื่นตระหนกขณะว่ายน้ำ
- แม้กระทั่งมีความหลังฝังใจในการจมน้ำ ทั้งปัจจุบัน และ อดีตที่ผ่านมา

...

ฉนั้นสำหรับใครที่อยากว่ายน้ำได้หรือแบบเอาแค่ตกน้ำแล้วเอาตัวรอดได้หละก็ทำตามขั้นตอนง่ายๆดังนี้

< ฝึกหายใจเข้าออกขณะอยู่ในน้ำ หรือ ภาษาว่ายน้ำเรียกว่า "ปั้มลม" >

วิธีการง่ายๆเลย

- ให้จับขอบสระไว้ทั้งสองมือในเอาริมที่ตื้นๆที่เรายืนได้ก่อน

- หายใจเข้าเหนือผิวน้ำให้เต็มปอด

- แล้วนั่งยองๆลงไปในน้ำ ปล่อยลมหายใจออกใต้น้ำ โดยให้ค่อยๆหายใจออก

- เมื่อลมใกล้จะหมดก็ให้ขึ้นมาหายใจให้เต็มปอดอีกครั้ง

- ทำสลับกันไปเรื่อยๆเป็นจังหวะช้าๆ เพื่อทำความคุ้นเคยกับการหายใจออกใต้ผิวน้ำ


< ฝึกเหยียดตัวตรงตีเท้าในน้ำ >

หลังจากที่เราฝึกปั้มน้ำจนชินแล้ว ก็เปลี่ยนจากท่าลุกนั่งไปเป็นเกาะขอบสระเหยียดตัวตรง

- เริ่มด้วยท่าเดิมคือเกาะขอบสระฝั่งที่ตื้นๆไว้ก่อน

- จากนั้นเมื่อพร้อมก็ให้หายใจเข้าแล้วเหยียดตัวตรงในท่าคว่ำหน้าลงไปในน้ำ โดยยังไม่ต้องตีขาก่อน

- ค่อยๆหายใจออกเหมือนในท่าลุกนั่ง

- เมื่อลมใกล้หมด ให้เงยหน้าขึ้นตรงๆแล้วหายใจเข้า เหมือนท่าเรานอนอ่านหนังสือนั่นแหละครับ

- จากนั้นก็ทำสลับกันไปชนจินในจังหวะหายใจของเราแล้ว

- เมื่อชินกับจังหวะหายใจด้วยท่าเหยียดตรงคว่ำหน้าแล้ว

- ก็ให้เพิ่มการตีขาสลับซ้ายขวา ขึ้นลง ช้าๆร่วมเข้าไปกับการฝึกหายใจด้วยไป

- ข้อควรระวังคือ ให้ตีขาสลับแบบช้าๆไปก่อนจนชินแล้วค่อยๆเพิ่มความเร็วกันไป อย่าเพิ่งไปตีขาเร็วๆ เพราะจำให้เราเสียจังหวะจนทำให้เราสำลักน้ำได้



< ฝึกลอยตัวในน้ำด้วยโฟม >

หลังจากเราคุ้นเคยกับการหายใจด้วยการลุกนั่งกับยืดตัวที่ขอบสระแล้วก็ลองใช้โฟมกันดู

- หาโฟมว่ายน้ำสักแผ่นเอาแบบที่เราจับเหมาะๆนะ

- ทีนี้เราจะหันหน้าออกสระน้ำกันแล้ว เอาง่ายๆก่อนเลย

- ถือโฟมแล้วเดินออกไปจากขอบสระประมาณ 5 เมตรก่อน แล้วหันหน้ากลับเข้าขอบสระ

- ถือโฟมเหยียดแขนตรงเหมือนว่าเราจะตีเท้าที่ขอบสระแล้ว

- จากนั้นก็เริ่มใช้ท่าเหยียดตรงนั้นแหละครับ มือถือโฟมเหยียดไปข้างหน้าพร้อมกับค่อยๆตีเท้าไปแบบไม่ช้าไม่เร็ว

- เพราะถ้าช้าไปตัวอาจจะจมได้ และ ถ้าเร็วไปก็จะทำให้ตัวเราไม่นิ่งซึ่งอาจจะส่งผลให้ตกใจได้

- เมื่เริ่มตีเท้าจากจุด 5 เมตรแล้ว ให้ตีเท้าสลับเงยหน้าหายใจตามจังหวะของเราไปเรื่อยๆๆๆๆๆๆ

- จนถึงขอบสระ ก็ถือว่าสำเร็จ เย้ๆๆๆ

- ทำในระยะ 5 เมตรนี้ไปเรื่อยๆ จนชิน ก็ค่อยๆเพิ่มระยะไปเป็น 10 15 20 25 หรือตามแต่จะวางแผนกันไปครับ

- ฝึกบ่อยบ่อยให้เชี่ยวชาญ ได้ท่าเดียวให้รอดก็พอแล้วครับ


http://board.palungjit.com/

ทักษะการเล่นตะกร้อ

แบบฝึกพัฒนาทักษะเซปักตะกร้อเล่มที่ 1 เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ

ใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา กีฬาไทย กีฬาสากล (เซปักตะกร้อ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนและผู้สนใจ
สามารถลงมือฝึกและปฏิบัติได้ด้วยตัวเอง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ จำนวน 5 ข้อ
2. เฉลยคำตอบก่อนเรียน เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ
3. ศึกษาแบบฝึกและฝึกตามแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะกีฬาเซปักตะกร้อ เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ ทุกขั้นตอน
4. แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ จำนวน 5 ข้อ
5. เฉลยคำตอบหลังเรียน เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ
6. ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดด้วยตัวเองและมีความซื่อสัตย์ต่อตัวเอง
7. ขณะศึกษาแบบฝึกปฏิบัติด้วยความตั้งใจ มีความอดทนต่อความยากลำบาก
8. ห้ามขีดเขียนข้อความใดลงในกระดาษคำถาม
9. ถ้ามีข้อสงสัยให้ถามครูผู้สอนทันที
ใบความรู้ที่ 1
เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ

1.การโยนลูกตะกร้อขึ้นตรงเตะด้วยข้างเท้าด้านใน
การโยนลูกตะกร้อขึ้นแล้วเตะ1 ครั้งแล้วจับไว้เป็นการสร้างความคุ้นเคยและทักษะในการเตะตะกร้อ
วิธีการโยนลูกตะกร้อขึ้นตรงเตะด้วยข้างเท้าด้านใน 1 ครั้งแล้วจับไว้มีวิธีการดังนี้
1. จับลูกตะกร้อไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง
2. โยนลูกขึ้นตรงให้เหนือศีรษะเมื่อลูกตกลงมาได้ระยะให้ใช้เท้าที่ถนัดเตะลูกด้วยข้างเท้าด้านในบริเวณใต้ตาตุ่ม 1 ครั้งแล้วจับไว้
3. ให้ปฏิบัติหลาย ๆ ครั้งจนเกิดความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ

ขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. ฝึกปฏิบัติคนเดียว
2. ยืนในท่าเตรียมพร้อม
3. จับลูกตะกร้อไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง
4. โยนลูกขึ้นตรงให้เหนือศีรษะเมื่อลูกตกลงมาได้ระยะให้ใช้เท้าที่ถนัดเตะลูกด้วยข้างเท้าด้านในบริเวณใต้ตาตุ่ม 1 ครั้งให้ลูกเด้งขึ้นมาถึงหน้าอกแล้วจับไว้
5. ให้ปฏิบัติตั้งแต่ข้อที่ 2 – 4 หลายๆครั้งจนเกิดทักษะความชำนาญ สามารถบังคับทิศทาง ลูกตะกร้อได้

2. การโยนลูกตะกร้อขึ้นแล้วโหม่ง
การโยนลูกตะกร้อขึ้นแล้วโหม่ง 1 ครั้ง แล้วจับไว้เป็นการสร้างความคุ้นเคยในการเล่นตะกร้อ
วิธีการ โยนตะกร้อขึ้นแล้วโหม่งมีดังนี้
1. จับลูกตะกร้อด้วยมือทั้งสองข้าง
2. โยนลูกตะกร้อขึ้นตรงเหนือศีรษะแอ่นตัวไปข้างหลังแล้วใช้ศีรษะบริเวณหน้าผากใต้ริมผมโหม่ง ลูกตะกร้อให้ขึ้นตรง 1 ครั้งเมื่อลูกตกลงมาแล้วจับไว้
3. ให้ปฏิบัติหลาย ๆ ครั้งจนเกิดความชำนาญและคุ้นเคย

ขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. ฝึกปฏิบัติคนเดียว
2. ยืนในท่าเตรียมพร้อม
3. จับลูกตะกร้อไว้ด้วยมือทั้งสองข้างโยนลูกขึ้นตรงให้เหนือศีรษะเมื่อลูกลอยลงมาได้ระยะ ให้แอ่นตัวไปข้างหลังแล้วใช้ศีรษะบริเวณหน้าผาก
ใต้ริมผมโหม่งลูก 1 ครั้งให้ลูกเด้งขึ้น เมื่อลูกตกลงมาแล้วจับไว้
4. ให้ปฏิบัติหลายๆครั้งจนเกิดทักษะความชำนาญ สามารถบังคับทิศทางลูกตะกร้อได้

3. การใช้เข่าเล่นลูก
การใช้เข่าเล่นลูกเป็นการสร้างความคุ้นเคยและทักษะในการเล่นตะกร้อ
วิธีการใช้เข่าเล่นลูกตะกร้อ
1. จับลูกตะกร้อด้วยมือทั้งสองข้าง
2. โยนลูกตะกร้อขึ้นตรงเหนือศีรษะหรือปล่อยลูกตกลง
3. เมื่อลูกตกลงมาได้ระยะใช้เข่าที่ถนัดเล่นลูก ให้โดนบริเวณเหนือเข่า 1 ครั้ง เมื่อลูกตกลงมาแล้ว จับไว้
4. ให้ปฏิบัติหลาย ๆ ครั้ง จนเกิดทักษะความชำนาญและคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ
ขั้นตอนการปฏิบัติ
1. ฝึกปฏิบัติคนเดียว
2. ยืนในท่าเตรียมพร้อม
3. จับลูกตะกร้อไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง โยนลูกขึ้นตรงหรือปล่อยให้ลูกตก เมื่อลูกตกลงมาได้ระยะให้ใช้เข่าที่ถนัดเล่นลูกให้โดนบริเวณเหนือเข่า 1 ครั้ง
ให้ลูกเด้งขึ้นเมื่อลูกตกลงมาแล้วจับไว้
4. ให้ปฏิบัติหลาย ๆ ครั้งจนเกิดทักษะความชำนาญ สามารถบังคับทิศทางลูกตะกร้อได้

4. การเลี้ยงลูกไปกับพื้น
การใช้เหลังเท้าเล่นลูกเป็นการสร้างความคุ้นเคยและทักษะในการเล่นตะกร้อ
วิธีการเลี้ยงลูกด้วยหลังเท้า
1. ยืนในท่าเตรียมพร้อม
2. วางลูกลงกับพื้น
3. ใช้หลังเท้าหรือข้างเท้าด้านในเลี้ยงลูกตะกร้อไปกับพื้น
4. ให้ปฏิบัติหลาย ๆ ครั้งจนเกิดทักษะและความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ




กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระพลศึกษา (เซปักตะกร้อ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับลูกตะกร้อ
คะแนนเต็ม 5 คะแนน ข้อละ 1 คะแนน เวลา 5 นาที

คำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย X หน้าข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1. การสร้างความคุ้นเคยควรใช้ตะกร้อแบบใด
ก. ตะกร้อเก่า
ข. ตะกร้อแบบใดก็ได้ที่ไม่ชำรุด
ค. ตะกร้อที่ใช้แล้ว
ง. ตะกร้อใหม่

2. การเลี้ยงลูกไปกับพื้นเป็นการสร้าง ความคุ้นเคยกับส่วนใดของร่างกาย
ก. ศีรษะ
ข. เข่า
ค. ลำตัว
ง. เท้า

3. ก่อนเล่นกีฬาตะกร้อต้องสร้างความคุ้นเคย เพราะเหตุใด
ก. ให้เล่นตะกร้อเก่ง
ข. ให้ร่างกายแข็งแรง
ค. เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อ
ง. เพื่อความเคยชินกับลูกตะกร้อ

4. การสร้างความคุ้นเคยกับศีรษะควรปฏิบัติ ตามข้อใด
ก. เลี้ยงลูกไปกับพื้น
ข. โยนขึ้นใช้เข่าเล่นลูก
ค. โยนขึ้นใช้ศีรษะโหม่งลูก
ง. ปล่อยลูกลงเตะลูกด้วยหลังเท้า

5. เพราะเหตุใดจึงไม่นิยมนำลูกตะกร้อ ที่ชำรุดมาเล่น
ก. จะเกิดอันตรายกับอวัยวะต่างๆ
ข. ลูกใหม่ราคาแพง
ค. หามาเล่นได้ง่าย
ง. คนนิยมเล่นลูกเก่า




http://unity007.com/

ทักษะการเล่นตะกร้อ

การปลูกหญ้าเเฝก

หญ้าแฝกเป็นพืชที่เจริญเป็นกอ สามารถพบได้ในสภาพธรรมชาติทุกภาคของประเทศ บางแห่งเจริญอยู่อย่างหนาแน่น บางแห่งกระจายอยู่ทั่วไป แต่จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างต้นหญ้าแฝก ยังไม่พบว่า บริเวณใดมีลักษณะของการเจริญเหมือนหญ้าที่เป็นวัชพืชโดยทั่วไป

ด้วยเหตุนี้ การนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ การฟื้นฟูทรัพยากรดิน และรักษาสภาพแวดล้อม จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาที่เป็นวัชพืชในพื้นที่ สำหรับหญ้าแฝกเป็นพืชที่เจริญเติบโตโดยการแตกกอ เส้นผ่าศูนย์กลางของกอประมาณ 30-40 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 0.5-1.5 เมตร ใบหญ้าแฝกมีลักษณะแคบประมาณ 0.6-1.0 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 50-75 เซนติเมตร การเจริญเติบโตในแนวดิ่งมากกว่าแนวข้าง มีระบบรากยาวหยั่งลึก 1.5-3.0 เมตร แต่แผ่ขยายด้านข้างเพียง 50-60 เซนติเมตร สามารถเก็บกักน้ำและความชื้นได้ดี

ลักษณะเด่นของหญ้าแฝก

หญ้าแฝกมีลักษณะเด่นอยู่หลายประการที่ช่วยการฟื้นฟูทรัพยากรดิน และการรักษาสภาพแวดล้อม จากข้อมูลการวิจัยในด้านต่าง ๆ สรุปผลได้ว่า หญ้าแฝกมีลักษณะเด่น ดังนี้



1. มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง

2. มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก

3. หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี

4. ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้

5. มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรง และทนต่อการย่อยสลาย

6. ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ

7. บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์

8. ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป

9. ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดี



การฟื้นฟูทรัพยากรดิน

การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ จะมุ่งเน้นในเรื่องของการอนุรักษ์ดินและน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน การช่วยเก็บกักตะกอนดินในพื้นที่ลาดชัน แต่จากผลของการศึกษาวิจัยพบว่า หญ้าแฝกยังมีลักษณะในด้านการฟื้นฟูทรัพยากรดินด้วย ซึ่งช่วยให้ดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่

1. การเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ เนื่องจากระบบรากของหญ้าแฝกค่อนข้างมาก และหนาแน่น มีมวลชีวภาพสูง และเจริญแทรกลงไปในดิน ด้วยลักษณะดังกล่าว จึงเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน เมื่อรากบางส่วนตายไป สำหรับส่วนของใบพบว่า หญ้าแฝกเจริญได้ค่อนข้างเร็ว มวลชีวภาพสูง ดังนั้นการตัดใบคลุมดิน จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน และยังช่วยเร่งการแตกหน่อของหญ้าแฝกด้วย

2. การเพิ่มปริมาณความชื้นในดิน ในระบบที่มีการปลูกหญ้าแฝกจะพบว่า ดินเก็บความชื้นได้ยาวนานกว่า เนื่องจากส่วนของรากหญ้าแฝกที่ประสานกันเป็นร่างแห จะช่วยดูดยึดน้ำไว้ในดิน ซึ่งเห็นได้จากไม้ผล หรือพืชไร่ที่เจริญใกล้แถวหญ้าแฝก จะมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าพืชที่ไม่ได้ปลูกใกล้หญ้าแฝก ปัจจัยหนึ่งคือ ระดับความชื้นในดินมีมาก และยาวนานกว่า

3. การเพิ่มอัตราการระบายน้ำและอากาศ ระบบรากของหญ้าแฝกที่แพร่กระจาย มีส่วนช่วยให้ดินมีการระบายน้ำ และอากาศได้ดีมากขึ้นกว่าการไม่มีรากหญ้าแฝก

4. การเพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน บริเวณรากหญ้าแฝกพบว่า มีเชื้อจุลินทรีย์อยู่มากมายหลายชนิด ส่วนใหญ่มีผลดีต่อการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารพืชในดิน ช่วยดูดธาตุอาหารจากดิน และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรของเชื้อจุลินทรีย์ในบริเวณราก ลักษณะดังกล่าวส่งผลดีต่อการเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน

จากปัจจัยดังกล่าว การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดินเสื่อมโทรม หรือพื้นที่ดินมีปัญหา จึงมีส่วนช่วยฟื้นฟู และปรับปรุงดินมห้มีสภาพดีขึ้น เนื่องจากผลของอินทรียวัตถุที่เพิ่มขึ้น และกิจกรรมของเชื้อจุลินทรีย์บริเวณรากหญ้าแฝก รวมทั้งการมีความชื้นที่ยาวนานขึ้น สภาพดินจึงมีการพัฒนา และความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ



การรักษาสภาพแวดล้อม

หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากหนาแน่นจำนวนมาก และเจริญในแนวลึกมากกว่าด้านข้าง ประกอบกับหญ้าแฝกเจริญเติบโตได้ในสภาพที่มีโลหะหนัก ลักษณะดังกล่าว จึงมีการนำหญ้าแฝกมาปลูกเพื่อใช้บำบัดน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท และดูดซับโลหะหนักจากดิน สำหรับวิธีการที่นำหญ้าแฝกไปปลูกเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาสภาพแวดล้อม ได้แก่

1. การปลูกหญ้าแฝกรอบขอบบ่อบำบัดน้ำทิ้ง เพื่อให้หญ้าแฝกช่วยดูดโลหะหนักบางชนิด

2. การปลูกหญ้าแฝกในดินเพื่อดูดโลหะหนักจากดิน

3. การปลูกหญ้าแฝก แล้วให้น้ำทิ้งไหลผ่านในอัตราการไหลที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังมีนักวิจัยดำเนินการ เพื่อศึกษาวิจัยการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในการรักษาสภาพแวดล้อม และบำบัดน้ำทิ้งในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

ความสามารถของหญ้าแฝกที่ทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
สภาพต่าง ๆ ระดับที่หญ้าแฝกเจริญได้ ระดับที่ถือว่าปนเปื้อนในดิน
PH ของดิน 3.3 -
อลูมิเนียม (%) 68 (ที่ pH 3.8) -
แมงกานีส (ppm) 578 (ที่ pH 9.5) -
ปริมาณเกลือ (%) 33 (ที่ pH 9.5) -
ความเค็ม (ds/m) 17.5 -
อาร์เซนิก (ppm) 100-250 50
แคดเมียม (ppm) 10-20 3
โครเมียม (ppm) 200-600 50
ทองแดง (ppm) 50-100 60
นิเกิล (ppm) 50-100 60

ที่มา : ความรู้เรื่องหญ้าแฝก กรมพัฒนาที่ดิน, 2541



http://www.ku.ac.th

ทักษะการเล่นเเฮนบอล

กีฬาแฮนด์บอล เป็นพื้นฐานของการเล่นบาสเกตบอล การเล่นแฮลด์บอลต้องใช้ทักษะการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว และทักษะด้านอื่น ๆ ผสมผสานกัน

๑ องค์ประกอบการเล่น
การเล่นกีฬาแฮนด์บอล ต้องอาศัยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
๑) ผู้เล่น ประกอบด้วย ๒ ฝ่าย ๆ ละ ๗ คน โดยเป็นผู้เล่นในสนาม ๖ คน และผู้รักษาประตู ๑ คน
๒) ลูกบอล ทำด้วยหนังหรือวัสดุเทียมทรงกลม ผิวไม่ลื่น
๓) ระยะเวลาในการเล่น แบ่งออกเป็น ๒ ครึ่ง ครึ่งละ ๓๐ นาที และมีพักระหว่างครึ่ง ๑๐ นาที
๔) สนาม มีลักษณะ ดังนี้
(๑) สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร มีเส้นแบ่งแดนตารางกึ่งกลางสนาม
(๒) ประตูสูง ๒ เมตร ห่างกัน ๓ เมตร
๕) วิธีเล่น
(๑) ก่อนเริ่มเล่น ให้ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่าย เสี่ยงมีสิทธิเลือกแดนหรือเลือกส่งก่อน
(๒) เริ่มเล่น โดยให้ฝ่ายที่เลือกส่งลูกก่อนได้ส่งลูกจากบริเวณจุดศูนย์กลางของเส้นแบ่งแดนให้กับเพื่อนฝ่ายตนเองทันทีภายในเวลา ๓ วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีดแล้ว
(๓) ให้ผู้เล่นแต่ละฝ่าย ส่งลูกบอลต่อ ๆ กันไป เพื่อทำประตูให้ได้โดยขว้างบอลให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้าม
(๔) การพาบอลเคลื่อนที่ไปให้ใช้มือเลี้ยงลูก
๒ กติกาการเล่นแฮนด์บอล
การเล่นแฮนด์บอลต้องยึดตามกฏ กติกาที่กำหนดไว้เป็นสำคัญ
๑) กติกาทั่วไป มีดังนี้
(๑) ให้ผู้เล่นขว้าง ทำให้ลูกกระดอน หยุดจับ ในลักษณะใดก็ได้โดยใช้มือ แขน ศีรษะ ขาท่อนบน และหัวเข่า แต่ห้ามใช้ส่วนของร่างกายตั้งแต่หัวเข่าลงมาถูกลูกแฮนด์บอล
(๒)ให้ผู้เล่นถือลูกบอลเคลื่อนที่ได้ แต่ไม่เกิน ๓ ก้าว
(๓) ให้ผู้เล่นครอบครองลูกได้ไม่เกิน ๓ วินาที
(๔) ให้ผู้เล่นส่งลูกจากมือข้างหนึ่งไปยังมืออีกข้างหนึ่งของตนได้
(๕) ให้ผู้เล่นส่งลูกขณะที่นั่งคุกเข่าหรือนอนอยู่ได้
(๖) ห้ามผู้เล่นขวางฝ่ายตรงข้ามด้วยมือ แขน ขา
(๗) ห้ามผู้เล่นดึงหรือตีลูกจากมือคู่ต่อสู้
(๘) ห้ามใช้ลูกบอลทำให้คู่ต่อสู้เกิดอันตราย หรือเล่นรุนแรง
(๙) ห้ามดึงหรือผลักคู่ต่อสู้ด้วยมือและแขน
(๑๐) ห้ามไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเข้าไปในเขตประตู
(๑๑) ห้ามไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเข้าไปในเขตประตู
๒) การได้ประตู จะได้ประตูต่อเมื่อบอลผ่านเส้นประตู โดยที่ผู้ยิงประตูและผู้เล่นฝ่ายที่ทำประตูไม่ได้ทำผิดกติกา ถือว่าได้ ๑ คะแนน ต่อการยิงประตู ๑ ประตู ถ้าฝ่ายใดทำลูกเข้าประตูตนเอง ถือว่าอีกฝ่ายได้ประตูไป
๓) การส่งลูกจากมุมสนาม ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ทำลูกออกไปนอกเส้นประตูของตน ให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายส่งลูกจากมุมสนาม
๔) การส่งลูกจากประตู ถ้าฝ่ายรุกหรือผู้รักษาประตูของฝ่ายรับทำลูกออกนอกสนามทางเส้นหลังประตู ให้ผู้รักษาประตูของฝ่ายรับเป็นผู้ส่งลูกจากประตู การส่งลูกจากประตู ถ้าลูกเข้าประตูถือว่าไม่ได้คะแนน
๓ ทักษะในการเล่นกีฬาแฮนด์บอล
ก่อนการเล่นแฮนด์บอล นักเรียนควรฝึกทักษะการจับบอล การเลี้ยงบอลและการรับส่งบอลในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่ว ซึ่งทักษะต่าง ๆ ที่นักเรียนควรฝึก มีดังนี้
๑) การจับบอล ใช้มือทั้งสองข้างจับบอล โดยกางนิ้วออกให้นิ้วหัวแม่มือชี้เข้าหากัน งอข้อศอกเล็กน้อย
๒) การส่งบอล
(๑) ส่งบอลสองมือระดับอกยืนแยกขาให้ห่างกันพอสมควร จับบอลให้อยู่ระดับอก แล้วก้าวไปข้างหน้า ๑ ก้าว พร้อมกับส่งบอลออกไป ให้แขนเหยียดตรง และมือแบออกด้านข้าง
(๒) ส่งบอลสองมือเหนือศีรษะ ใช้มือทั้ง ๒ ข้างจับลูกบอลชูเหนือศีรษะ กางข้อศอกเล็กน้อย โยกแขนไปข้างหลังเล็กน้อย ส่งลูกบอลออกไปเหยียดแขนตรง พร้อมกับก้าวขาไปข้างหน้าจังหวะเดียวกับส่งบอลไป
(๓) ส่งบอลมือเดียวเหนือศีรษะ จับบอลด้วยมือข้างใดข้างหนึ่งแล้วชูขึ้นเหนือศีรษะ อีกมือหนึ่งประคองลูก ก้าวเท้าข้างที่ตรงข้ามกับมือที่ถนัดไปข้างหน้า ๑ ก้าว เอนตัวไปข้างหลัง แล้วสลัดมือปล่อยบอลออกไป
(๔) ส่งบอลกระดอน ยืนแยกขาห่างกันเล็กน้อย จับบอลให้อยู่ระดับอก แล้วผลักบอลออกไปโดยให้กระทบพื้น แล้วกระดอนไปข้างหน้า
(๕) ส่งบอลมือเดียวล่าง โดยจับบอลด้วยมือใดมือหนึ่งเป็นหลักอีกมือหนึ่งประคองบอลไว้ เหวี่ยงแขนไปด้านหลังเล็กน้อยก่อนผลักลูกบอลออกไป
(๖) ส่งบอลสองมือล่าง ย่อตัวลงเล็กน้อย จับบอลให้อยู่ระหว่างขาทั้งสอง ปล่อยบอลออกไป การส่งบอลสองมือล่างจะส่งได้ระยะสั้น ๆ
๓ ) การรับบอล
(๑) รับบอลสองมือระดับอก เหยียดแขนทั้ง ๒ ข้างขึ้นไปข้างหน้ากางนิ้วมือออก ให้นิ้วหัวแม่มือชี้เข้าหากัน เมื่อลูกกระทบมือให้ดึงมือเข้าหาลำตัว
(๒) รับบอลสองมือเหนือศีรษะ เหยียดแขนทั้ง ๒ ข้างเหนือศีรษะโดยหันฝ่ามือไปหาลูก เมื่อรับลูกแล้วให้ดึงมาหาลำตัวโดยเร็ว
(๓) รับบอลสองมือด้านข้าง หันฝ่ามือไปหาลูก เมื่อลูกลอยมาเข้ามือให้ผ่อนมือและใช้มืออีกข้างหนึ่งประคองลูกไว้
(๔) รับบอลสองมือล่าง หันหน้าไปในทิศทางที่ลูกพุ่งมา ย่อเข่าลงพร้อมกับเหยียดแขนใช้นิ้วมือกางออกและชี้ลงพื้น เมื่อลูกกระทบมือแล้วให้ดึงลูกเข้าหาลำตัวโดยเร็ว
๔) การเลี้ยงบอล
ก้มตัวเล็กน้อย ย่อเข่า แล้วใช้มือข้างที่ถนัดเลี้ยงลูกบอล โดยกางนิ้วมือทั้งห้าออก แล้วกดลูกลงสู่พื้น เมื่อลูกกระดอนขึ้นมา ให้ผ่อนมือขึ้นเล็กน้อยจากนั้นกดลูกลงสู่พื้นอีก การเลี้ยงลูกมีทั้งเลี้ยงลูกต่ำและสูง การเลี้ยงลูกต่ำใช้ในการเคลื่อนไหวรวดเร็ว และหลบหลีกคู่ต่อสู้ ส่วนการเลี้ยงลูกสูงใช้ในการหาทิศทางการส่ง
๕) การยิงประตู
(๑) การยิงประตูแบบลูกกระดอนต่ำ กระโดดหรือยืนอยู่กับที่แล้วใช้มือเพียงข้างเดียวขว้างบอลให้ตกพื้นกระดอนเข้าประตูไปอย่างรวดเร็ว
(๒) การยิงประตูแบบกระโดดพุ่งตัว ให้ผู้เล่นที่เข้ายิงประตูก้าวเท้า ๑ ก้าว พร้อมกับกระโดดสปริงข้อเท้าให้ตัวลอยขึ้น แล้วขว้างบอลเข้าประตูอย่างรวดเร็ว


ขอขอบคุณเนื้อหาจาก บริษัทอักษรเจริญทัศน์
จากหนังสือ แม่บทมาตรฐาน สุขศึกษาและพลศึกษา ป.๔ พิมพ์ครั้งที่ ๓


http://www.trueplookpanya.com/

ทักษะการเล่นเปตอง

กีฬาเปตองเบี้องต้น


ประวัติความเป็นมากีฬาเปตองในประเทศไทย
กีฬาเปตองได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยการริเริ่มของนายจันทร์ โพยหาญ นำกีฬาเปตองเข้ามาเผยแพร่ให้คนรู้จัก อย่างเป็นทางการคนแรก นายจันทร์ โพยหาญได้ร่วมกับนายศรีภูมิ สุขเนตร ซึ่งเป็นอดีตนักเรียนเก่าฝรั่งเศส ซึ่งมีความรู้ความสามารถในด้านกีฬาเปตองเป็นอย่างดี ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมเปตอง และโรปวังซาล แห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2519 โดยมีนายศรีภูมิ สุขเนตร เป็นนายกสมาคมคนแรกเมื่อจัดตั้งสมาคมเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการได้ช่วยกันรณรงค์เผยแพร่ และสาธิตการเล่นเปตองมาโดยตลอด แต่ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร
ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนีทรงช่วยส่งเสริม และเผยแพร่ให้อีกทางหนึ่ง โดยทรงรับสั่งให้จัดการแข่งขันเปตองชิงชนะเลิศภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ซึ่งพระองค์ท่านและสมเด็จพระพี่นางเอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ ทรงได้ลงร่วมทำการแข่งขันในครั้งนี้ด้วย และอีกหลาย ๆ รายการจึงให้สมญานามกีฬาเปตองว่า “กีฬาสมเด็จย่า”
ใน พ.ศ. 2527 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ รับสมาคมเปตองและโปรวังซาล แห่งแระเทศไทย ไว้ในพระอุปถัมภ์ และวันที่ 22 เมษายน 2530 เปลี่ยนชื่อสมาคมเปตองฯ เป็นสหพันธ์เปตอง แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ สำนักงานตั้งอยู่ที่ 2088 อินเดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก กรุงเทพฯ ปัจจุบันกีฬาเปตอง มีการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬา ของส่วนราชการต่าง ๆ รวมทั้งภาคเอกชนด้วย เช่น กีฬาแห่งชาติ กีฬาเขตการศึกษา กีฬากองทัพไทย กีฬามหาวิทยาลัย กีฬาของกระทรวงต่าง ๆ กีฬารัฐวิสาหกิจ เป็นต้น


จุดเด่นของกีฬาเปตอง
1. เป็นพื้นฐานในการเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ ลักษณะของการเล่นเป็นการ เสริมสร้างแนวความคิด และสติปัญญาของผู้เล่น
2. ในระหว่างการเล่นร่างกายจะได้รับการบริหารทุกส่วน กล่าวได้ว่าในการเล่นเปตอง 6 เกมส์/วัน จะต้องออกกำลังในการใช้ลูกบลูที่มีน้ำหนัก 680/700 กรัม ถึงประมาณ 200 ครั้ง ก้มขึ้นลงประมารณ 250 ครั้ง เดินไปมาในสนามประมาณ 3 กิโลเมตร
3. การเล่นกีฬาประเภทนี้ง่าย และสะดวก เล่นได้ทุกเวลาทั้งในร่ม และกลางแจ้ง สนามเดิน หญ้า และลูกรัง


ประโยชน์ของกีฬาเปตอง
พัฒนาทางด้านร่างกาย
- กำลังแขน ผู้เล่นจะฝึกการใช้กำลังทั้งนิ้วมือ ข้อมือ แขน ข้อศอก และหัวไหล่ให้สัมพันธืกัน เพื่อการบังคับลูกให้ได้จังหวะ และระยะที่ต้องการ
- กำลังขา ผู้เล่นจะต้องเดินไปเดินมาตามความยาวของสนามซึ่งมีขนาดยาว 15 เมตร กว้าง 4 เมตร ลุกนั่ง เพื่อการวาง หรือเข้าลูกตลอดเวลาการเล่น
- สายตา กีฬาเปตองช่วยให้เกิดการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างสายตา และมือ เนื่องจากต้องใช้สายตา กะระยะทาง พิจารณาแง่มุมต่าง ๆ ที่จะเข้าลูกตีลูก เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามต้องการ

พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
- กีฬาเปตองเป็นเกมการเล่นที่จำเป็นต้องอาศัยการคิด คาดคะเน และการอ่านเกมในการเล่น อย่างจริงจัง คิดเกมรับเมื่อเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และเกมรุกที่บังคับให้ฝ่ายตรงข้ามเล่นตามเกมที่เราวางไว้

พัฒนาการทางด้านจิตใจ
- กีฬาเปตองมีทั้งเดี่ยว คู่ทีม ผู้เล่นจะต้องเข้าใจถึงจิตใจของผู้ร่วมทีมเป็นอย่างดี มีการปรึกษาหารือกัน ยอมรับความคิดของกัน และกัน แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี สมาธิเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งไม่ว่าเป้นการเล่นประการใด ๆ ผู้เล่นจะต้องฝึกการวางเฉย ทำจิตให้สงบ ทำสมาธิให้ได้ ตั้งความหวังให้น้อย กว่าความเป็นจริง ไม่วิตกกังวลเกินไป ไม่ท้อถอยในการเล่น ไม่สนใจเสียงข่มขวัญ เสียงเชียร์ที่ดัง การสอนเกมการเล่นของฝ่ายตรงข้าม เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดความกังวลสับสน จะมีผลต่อเกมการเล่น ถ้าสมาธิไม่ดีพอ

การพัฒนาการทางด้านสังคม
- กีฬาเปตอง เป็นกีฬาที่เล่นได้ไม่ยาก จึงมีผู้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายจะเห็นได้ว่าในหมู่บ้าน หน่วยงานของรัฐและเอกชนได้จัดให้มีการแข่งขัน เพื่อให้ผู้เล่นได้มาพบปะสังสรรค์ได้รู้จักและได้ร่วมสนุกกัน นับเป็นการสร้างสังคมอันดีแก่นักกีฬา นอกจากนี้ยังลดปัญหาสารเสพติด เนื่องจากคนหันมาเล่นกีฬาล่งผลให้ปัญหาอาชญากรรมลดลง
- ดังนั้นการเล่นกีฬาเปตองจำเป็นต้องรู้พื้นฐานของการเล่น การใช้เทคนิคทุกรูปแบบ

อุปกรณ์การเล่นเปตอง
1. ลูกเปตอง (ลูกบูล) เป็นลูกทรงกลมด้านในกลวง ทำด้วยโลหะมีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 71-76 ม. มีน้ำหนัก 350-800 กรัม มีเครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลขแสดงน้ำหนัก และเลขรหัสปรากฎอยู่บนลูกบูลอย่างชัดเจน หมายเหตุ : ปัจจุบันประเทศไทยมีลูกเปตองที่ทำด้วย พลาสติกเรียกว่า “ลูกพลาสตอง” ผลิต จำหน่าย โดยบริษัท มาราธอน มีขนาด น้ำหนัก มาตรฐาน ใกล้เคียงกับลูกเปตองสามารถใช้เล่นฝึกซ้อม หรือแข่งขันได้ในบางรายการ
2. ลูกเป้า เป็นลูกทรงกลมทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือพลาสติก มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 25-35 ม.ม. ทาสีที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
3. สนามเล่น สามารถเล่นได้ทุกสนาม ที่มีด้านหน้าเรียบยาวตรงพอประมาณ ขนาดของสนามกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร (ยกเว้นพื้นไม้ พื้นคอนกรีตลาดยาง)


ประเภทการเล่น
แบ่งประเภทการเล่นเป็น 3 ประเภท คือ
1. ประเภทเดี่ยว ใช้ลูกบูล 3 ลูก
2. ประเภทคู่ คู่ผสม ใช้ลูกบูลคนละ 3 ลูก
3. ประเภททีม ใช้ลูกบูลคนละ 2 ลูก


วิธีการเล่นเปตอง
แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ๆ ละเท่า ๆ กัน ให้ลูกบูลมีลวดลายต่างกัน
- เริ่มด้วยการเสี่ยง เพื่อตัดสินว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายได้เริ่มเล่นก่อน
- ฝ่ายชนะเสื่ยงเริ่มเล่นคนใดคนหนึ่ง เลือกจุดเริ่มต้น เขียนวงกลมบนพื้นสนามเส้นผ่านศูนย์กลาง ระหว่าง 35-50 ซม. ห่างจากเส้นสนามได้น้อยกว่า 1 เมตร
- ฝ่ายชนะการเสี่ยงคนใดคนหนึ่งเข้าไปโยนลูกเป้าในสนาม ให้ห่างจากจุดเริ่มต้น ตามระยะดังนี้
- สำหรับเด็กเล็ก ไม่น้อยกว่า 4 เมตร ไม่เกิน 8 เมตร
- สำหรับเยาวชน ไม่น้อยกว่า 5 เมตร ไม่เกิน 9 เมตร
- สำหรับเยาวชน ไม่น้อยกว่า 6 เมตร ไม่เกิน 9 เมตร
- ผู้ใหญ่หรือทั่วไป ไม่น้อยกว่า 6 เมตร ไม่เกิน 10 เมตร

การบริหารร่างกายก่อนและหลังการฝึก
ก่อนการเล่น
การบริหารร่างกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักกีฬาทุกคน และต้องปฏิบัติเป็นประจำ ก่อนและหลังการฝึกซ้อมทุกครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ระบบภายในต่าง ๆ ของร่างกายตื่นตัว ระบบประสาทมีความฉับไวในการรับคำสั่งจากสมอง ไม่เกิดอาการเฉื่อยชา ระบบการหายใจทำงานได้สะดวก หัวใจสูบฉีดโลหิตได้ดี ปอดมีการขยายตัว ทำให้มีความจุของปอดทำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้เพียงพอ นอกจากนั้นยังทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยืดหยุ่น แข็งแรงทนทานพร้อมที่จะเริ่มต้นฝึกซ้อมได้


หลังการเล่น
หลังการฝึกซ้อมทุกครั้ง ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกิดความตึงเครียด และเสียพลังงานไปเป็นจำนวนมาก การบริหารร่างกายหลังการฝึกซ้อม เช่น บีบ นวด กด จับ ทุกสลับกันไป จะเป็นการผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ไม่ให้เกิดความเมื่อยล้า และนอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบภายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายกลับสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด

วิธีการจับลูกเปตอง
1. หงายมือวางลูกบูลลงไปในอุ้มมือในท่าที่สบาย (รูปที่1)
2. หรือคว่ำมือจับลูก (รูปที่2)
3. ทั้งนี้จะจับแบบใดก้ได้แต่ความถนัดของแต่ละบุคคล


http://www.trueplookpanya.com/

ทักษะการชกมวย

การสอนศิลปะมวยไทย

และ

การบริหารกายท่ามวยไทย



ผู้ที่มีลักษณะมวยไทยและได้ผ่านการฝึกชกมวยไทยมาแล้ว จะมีร่างกายแข็งแรง อดทน มีความแคล่วคล่องว่องไว มีความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง สามารถนำมวยไทยไปใช้ป้องกันตนเองเมื่อถึงคราวจำเป็นได้ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการที่เยาวชนไม่ได้รับการฝึกหัดมวยไทยเท่าที่ควรนั้น เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่เข้าใจว่า การเรียนมวยไทยนั้นต้องทำการชกต่อยต่อสู้กันอย่างดุเดือดถึงเลือดตกยางออกเหมือนบนเวที แต่แท้จริงแล้วมวยไทยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ สามารถเรียนรู้ไปเพื่อเป็นศิลปะประจำตัว เพื่อการออกกำลังกายและการพักผ่อน เพื่อใช้ป้องกันตัวเมื่อยามคับขัน และถ้ามีความสามารถอาจฝึกเทคนิคชั้นสูงเพื่อนำไปประกอบอาชีพได้ สถานศึกษาจึงควรชี้แจงเหตุผลและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ศิลปะมวยไทยให้แก่ผู้ปกครองหรือผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ

การฝึกสอนศิลปะมวยไทยที่ถูกต้อง ก่อนอื่นควรสร้างความศรัทธาและแรงจูงใจที่ให้ผู้เรียน มีความรักและเข้าใจในศิลปะมวยไทยที่พอควร ควรเริ่มจากทักษะและวิธีที่ง่าย ๆ จนถึงขั้นตอนที่ยากขึ้นตามลำดับโดยเริ่มฝึกกิจกรรมที่เบา ๆ เป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มหรือเป็นคู่ ๆ ในระยะสั้น จนถึงกิจกรรมที่หนักและนานขึ้นตามลำดับและให้คำนึงถึงสภาพและวัยของผู้เรียนด้วยหลักการสอนมวยไทยขั้นพื้นฐาน

การสอนศิลปะมวยไทยโดยทั่วไปมีหลักการเช่นเดียวกับวิชาพลศึกษา แต่ผู้สอนควรได้ตระหนัก เน้นถึงปัญหาและข้อควรคำนึงกล่าวมาแล้ว ตลอดทั้งใช้หลักจิตวิทยาในการสอนหลาย ๆ อย่างมาผสมผสานกัน โดยมีหัวข้อที่นำไปพิจารณาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดังนี้

วัตถุประสงค์การเรียน
พฤติกรรมปลายทางของการเรียนรู้ศิลปะมวยไทย เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของชาติไทย สามารถนำกิจกรรมมวยไทยไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อการออกกำลังกายและการนันทนาการได้ บางครั้งอาจนำไปใช้ป้องกันเมื่อถึงคราวจำเป็น ตลอดทั้งผู้ที่มีความสามารถพิเศษอาจนำไปประกอบอาชีพได้ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1.1 เพื่อให้รู้ถึงประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของศิลปะมวยไทย

1.2 เพื่อให้รู้จักระเบียบประเพณีการฝึก การแข่งขันชกมวยไทย

1.3 เพื่อให้เข้าใจถึงประโยชน์และคุณค่าของมวยไทยและคุณสมบัติของนักมวยไทยที่ดี

1.4 เพื่อให้เกิดความศรัทธาและตระหนักในความสำคัญของศิลปะมวยไทย

1.5 เพื่อให้ให้สามารถเลือกกิจกรรมมวยไทยมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อการออกกำลังกายและการนันทนาการได้

1.6 เพื่อให้สามารถใช้ทักษะมวยไทยในการป้องกันตัวหรือเพื่อประกอบอาชีพได้ ถ้ามีความสามารถ

1.7 เพื่อแสดงออกถึงการมีศิลปะมวยไทยประจำตัวให้เป็นที่รู้จักของคนต่างชาติได้

2.เนื้อหาสาระในการเรียนรู้ศิลปะมวยไทย

มีหัวข้อที่ควรเรียนรู้ที่ผู้เรียนควรได้ศึกษาและทำความเข้าใจตามลำดับ ส่วนในแต่ละหัวข้อจะเรียนละเอียดลึกซึ้งเพียงใดควรให้พิจารณาตามความเหมาะสมและประสบการณ์พื้นฐานของผู้เรียน คือ

ประวัติความเป็นมาของศิลปะมวยไทย
ระเบียบประเพณี คุณค่า และการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับมวยไทย
ทักษะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับมวยไทย การตั้งท่าการเคลื่อนที่ การแต่งกาย และการบำรุงรักษาสุขภาพเป็นต้น
การใช้อาวุธหมัด หมัดตรง หมัดสอยดาวและหมัดสวิง หรือหมัดเหวี่ยง
การใช้อาวุธศอก ศอกตี ศอกตัด ศอกกระทุ้ง และศอกกลับ
การใช้อาวุธเตะ เตะตรง เตะเฉียง เตะตัด เตะตวัด และเตะจระเข้ฟาดหาง
การใช้อาวุธถีบ ถีบตรง ถีบด้วยส้นเท้า ถีบจิกด้วยปลายเท้า แลถีบแล้วขยุ้มด้วยปลายเท้า
การใช้อาวุธเข่า เข่าโหน เข่าตี เข่าตัด เข่าลอย และเข่าลา
ไม้มวยไทย แม่ไม้มวยไทย ลูกไม้มวยไทย
การไหว้ครู การขึ้นพรหม การรำมวยประเพณีการแข่งขันชกมวยไทย
ประเพณีและระเบียบกติกาการแข่งขันมวยไทยที่ควรทราบ
การฝึกกายบริหารท่ามวยไทย ท่าถวายบังคับ ท่ารำมวยไทย ท่าทักษะมวยไทย ท่าการใช้และการป้องกัน อาวุธ หมัด ศอก เข่า และการเตะ
3.ลำดับขั้นในกาสอนศิลปะมวยไทย

ในการสอนแต่ละครั้งหรือแต่ละเรื่อง ควรลำดับขั้นการสอนให้ครบทุกขั้นตอนหรือเลือกใช้ให้เหมาะสมดังต่อไปนี้

ขั้นสร้างความสนใจ เป็นขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อเร้าให้เกิดความสนใจกิจกรรมที่นำมาใช้ในขั้นนี้ เช่น การสนทนาซักถาม การแสดงประวัตินักมวยไทยในอดีต การยกตัวอย่างนักมวยไทยในปัจจุบัน การแสดงภาพและข่าวสารทางสื่อมวลชน ฯลฯ
ขั้นเตรียม เพื่อสร้างความพร้อมทั้งจิตใจและร่างกาย เช่น การตรวจสภาพความเจ็บป่วย การอบอุ่นร่างกาย การปฏิบัติตามแบบฉบับการฝึกมวยไทย การทบทวนประสบการณ์เดิม การฝึกกายบริหารท่ามวยไทย ฯลฯ
ขั้นฝึกปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมโดยการฝึกทักษะต่าง ๆ ตามแบบฉบับของมวยไทย เช่น การใช้อาวุธหมัด การใช้อาวุธศอก การใช้อาวุธเตะ ฯลฯ ในขั้นนี้อาจผสมผสานลักษณะท่าการฝึกต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย วิธีการฝึกอาจใช้วิธีการสาธิต การปฏิบัติจริงเป็นรายบุคคลหรือเป็นคู่ เป็นกลุ่มแล้วแต่ความเหมาะสม
ขั้นสรุป เป็นขั้นประเมินผลการเรียนการสอนการติชมและการเสนอแนะผู้เรียน เพื่อให้นำไปแก้ไขในสิ่งบกพร่องตามที่ได้ฝึกปฏิบัติมา และชมเชยในสิ่งที่ปฏิบัติได้ดีมีการนัดหมายการฝึกครั้งต่อไป การตรวจสอบความเจ็บป่วยและผลการเรียนจากผู้เข้าฝึกปฏิบัติ ตลอดทั้งการส่งเสริมประสบการณ์เรียนรู้ ด้วยตนเองในโอกาสต่อไป เป็นต้น
ขั้นถ่ายโอนประสบการณ์เรียนรู้ เป็นขั้นที่ผู้สอนแนะนำให้ผู้เรียนไปศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น การอ่านหนังสือเพิ่มเติม การติดตามข่าวและเหตุการณ์ทางสื่อมวลชน การประกวดภาพบทความ คำขวัญเกี่ยวกับการส่งเสริมศิลปะมวยไทย การจัดนิทรรศการ การสนทนา หรือสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ ฯลฯ เป็นต้น
4.การประเมินผลการเรียนและการปฏิบัติศิลปะมวยไทย

ควรประเมินผลการเรียนและการปฏิบัติในเรื่องศิลปะมวยไทยให้ครบทั้ง 3 ลักษณะให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน คือ

4.1 ในด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ประวัตความเป็นมา และวิวัฒนาการของมวยไทย คุณค่าและระเบียบประเพณีเกี่ยวกับมวยไทย หลักการและวิธีการใช้อาวุธต่าง ๆ สำหรับมวยไทย ยกตัวอย่างการปฏิบัติตนเป็นนักมวยไทยที่ดี บอกวิธีการและระเบียบกติกามวยไทยได้ ฯลฯ

4.2 ในด้านความรักความซาบซึ้งในศิลปะมวยไทย เช่น การตระหนักในความสำคัญของศิลปะมวยไทย ว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาติ คนไทยทุกคนต้องมีศิลปะประเภทนี้ประจำตัวทุกคน ฯลฯ

4.3 ในด้านทักษะความสามารถ เช่น การแสดงท่ากายบริหารมวยไทย การแสดงท่าไหว้ครู ท่ารำ ท่าการใช้อาวุธมวยไทย หรือถ้าเป็นไปได้อาจทำการแข่งขันมวยไทยสมัครเล่นก็ได้ ฯลฯ



http://learn.wattano.ac.th/