วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การผลิตกระสุน

ปืนกลบราวนิง เอ็ม 2 ที่บรรจุกระสุนแล้ว ปลายหัวกระสุนส่องวิธีถูกทาสีแดงเพื่อแยกประเภทออกจากกระสุนธรรมดากระสุนส่องวิถีคือกระสุนชนิดพิเศษที่ฐานใต้หัวกระสุนถูกดัดแปลงให้รองรับสารเคมีที่ก่อให้เกิดประกายไฟ สารเคมีจะลุกไหม้ทำให้เกิดแสงจ้าเมื่อกระสุนถูกยิงออกไป ทำให้ผู้ยิงรู้ถึงวิถีกระสุน ว่ากระทบกับเป้าหมายหรือไม่ เพื่อปรับการเล็งให้เที่ยงตรง โดยทั่วไปแล้วกระสุนส่องวิถีจะถูกบรรจุแทรกกับกับกระสุนทั่วไปทุกๆ สี่ถึงหกนัด เพื่อทำการส่องวิถีในการรบเวลากลางคืน แต่บางครั้งหัวหน้าชุดยิงอาจจะบรรจุกระสุนส่องวิถีทั้งซองเพื่อชี้เป้าให้สมาชิกชุดยิงคนอื่นๆ ทำการระดมยิงใส่เป้าหมาย

คนที่ถูกกระสุนส่องวิถียิงใส่จะเห็นว่ากระสุนแล่นมาด้วยความเร็วต่ำจากระยะไกล แต่เมื่อกระสุนแล่นเข้ามาใกล้ขึ้น ก็ดูเหมือนว่าความเร็วของกระสุนจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม มุมมองของผู้ถูกยิงนั้นเป็นภาพลวงตา

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติ
2 วิธีการผลิต
3 ประเภท
4 การใช้งาน
5 ความปลอดภัย
6 อ้างอิง

[แก้] ประวัติ
ก่อนที่จะมีกระสุนส่องวิถี ผู้ยิงมักจะพึ่งการกระทบของกระสุนเพื่อปรับการเล็ง แต่การกระทบนั้นมองเห็นได้ยาก จนกระทั่งตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้ออกแบบกระสุนได้พัฒนากระสุนสปอตไลท์ ที่ทำให้เกิดแสงวาบหรือกลุ่มควันตอนตกกระทบ เพื่อทำให้มองเห็นได้ง่ายขึ้น แต่กระสุนดังกล่าวถูกพิจารณาว่าเป็นการละเมิดอนุสัญญาเฮกว่าด้วยการห้ามใช้กระสุนระเบิด[1] อีกทั้งยังไม่มีประโยชน์เมื่อใช้ต่อกรกับอากาศยานเนื่องจากกระสุนจะไม่ส่องแสงหรือควันถ้าไม่โดนเป้าหมาย ยังมีกระสุนอีกชนิดหนึ่งที่สามารถปล่อยควันตามวิถีกระสุนได้ แต่กระสุนชนิดนี้จะต้องเสียมวลไปในระดับหนึ่งเพื่อที่จะปล่อยควัน ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของกระสุนเป็นอย่างมาก

สหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกที่ผลิตกระสุนส่องวิถีขึ้นมาใน ค.ศ. 1915 โดยกระสุนดังกล่าวเป็นกระสุนขนาด .303 ที่ถูกดัดแปลงให้สามารถส่องวิถีได้[2] ต่อมาสหรัฐอเมริกาก็ผลิตกระสุนส่องวิถีขึ้นเช่นเดียวกันในปี 1917 โดยกระสุนมีขนาด 30-06[3]

[แก้] วิธีการผลิต

กระสุนส่องวิถีขนาด 7.62x51mm NATO ปลายกระสุนสีแดงกระสุนส่องวิถีถูกผลิตขึ้นจากกระสุนฐานกลวง ที่มีสารเคมีที่ก่อให้เกิดประกายไฟอัดอยู่แน่น อาทิเช่นฟอสฟอรัส, แมกนีเซียมหรือสารเคมีอื่นๆ ที่ทำให้เกิดประกายไฟและให้ความสว่างมากพอ ในกระสุนมาตรฐานของนาโต้และสหรัฐฯ สารเคมีที่ใช้ส่วนใหญ่มาจากส่วนผสมของสารประกอบจำพวกสทรอนเทียม (สตรอนเทียมไนเตรต, สตรอนเทียมเพอร็อกไซด์ ฯลฯ) กับเชื้อเพลิงเชิงโลหะเช่นแมกนีเซียม ซึ่งเมื่อถูกเผาไหม้แล้วจะทำให้เกิดแสงสีแดงสว่างจ้า ส่วนกระสุนส่องวิถีของจีนกับรัสเซียใช้เกลือแบเรียมเป็นสารเคมีที่ใช้ในการเผาไหม้ จึงทำให้เกิดแสงสีเขียว กระสุนส่องวิถีรุ่นในใหม่ๆ บางรุ่นใช้สารประกอบที่ทำให้เกิดแสงน้อย และมักจะเป็นแสงอินฟราเรดที่สามารถมองเห็นได้ผ่านกล้องมองกลางคืนเท่านั้น[4]

แม้ว่าจุดประสงค์หลักของกระสุนส่องวิถีคือช่วยผู้ยิงในการเล็งเป้า แต่ผู้ยิงไม่สามารถพึ่งพากระสุนส่องวิถีเพื่อช่วยปรับการเล็งเพียงอย่างเดียว เนื่องจากกระสุนส่องวิถีน้ำหนักและการเคลื่อนที่ในเชิงอากาศพลศาสตร์ที่ต่างไปจากกระสุนทั่วไป ด้วยเหตุที่ว่าเมื่อกระสุนส่องวิถีเดินทางออกจากลำกล้องปืน เชิ้อเพลิงที่อยู่ข้างในฐานกระสุนจะเกิดการเผาไหม้ ขณะที่กระสุนกำลังแล่นไปยังเป้าหมาย ทำให้วิถีการเคลื่อนที่ของกระสุนส่องวิถีกับกระสุนธรรมดาต่างกันอย่างเห็นได้ชัดในการยิงระยะไกล เพราะมวลในกระสุนส่องวิถีจะลดลงไปตามการเผาไหม้ของสารเคมี ในขณะที่มวลในกระสุนธรรมดาจะคงที่และมีวิถีการเคลื่อนที่ที่เปลี่ยนไปเล็กน้อยตามแรงโน้มถ่วงเท่านั้น

[แก้] ประเภท
มีกระสุนส่องวิถีอยู่สามประเภทด้วยกันได้แก่แบบส่องสว่าง, แบบส่องสว่างช้าและแบบส่องสว่างน้อย โดยประเภทมาตรฐานคือกระสุนส่องวิถีแบบส่องสว่าง ที่เริ่มการเผาไหม้ทันทีที่ออกจากปากกระบอกปืน ข้อเสียของกระสุนส่องวิถีประเภทนี้คือกระสุนจะบ่งชี้ตำแหน่งที่ตั้งของผู้ยิงให้กับศัตรู และยังทำให้อุปกรณ์มองกลางคืนใช้ไม่ได้ เพราะแสงที่เปล่งออกมานั้นสว่างเกินไป กระสุนส่องวิถีแบบส่องสว่างช้าจะเริ่มการเผาไหม้อย่างเต็มที่เมื่อกระสุนเดินทางไปแล้วประมาณหนึ่งร้อยหลาขึ้นไปเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูรู้ตำแหน่งของผู้ยิง ส่วนกระสุนส่องวิถีแบบส่องสว่างน้อยจะให้ความสว่างน้อยมาก แต่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนผ่านอุปกรณ์มองกลางคืน

[แก้] การใช้งาน

นาวิกโยธินสหรัฐฯ กำลังซ้อมยิงด้วยกระสุนส่องวิถีกระสุนส่องวิถี นอกจากจะใช้เพื่อชี้เป้าศัตรูและปรับการเล็งแล้วยังถูกนำไปใช้ในรถถังอีกด้วย โดยใช้กับปืนกลร่วมแกนร่วมกับปืนใหญ่รถถังเพื่อยิงชี้ตำบลกระสุนตกก่อนทำการยิงจริง เครื่องบินรบในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองก็นำวิธีการชี้เป้าแบบนี้ไปใช้ โดยจะใช้ปืนกลยิงกระสุนส่องวิถีเพื่อชี้เป้าศัตรูก่อนที่จะใช้ปืนใหญ่อัตโนมัติเพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงสูงสุด

นอกจากจะใช้เพื่อชี้เป้าแล้ว กระสุนส่องวิถียังถูกใช้เพื่อเตือนผู้ยิงว่ากระสุนใกล้จะหมดแล้ว โดยบรรจุกระสุนชนิดดังกล่าวลงไป 2 นัดสุดท้ายของซองกระสุน ซึ่งมีประโยชน์มากในปืนที่ระบบลูกเลื่อนไม่เปิดค้างเมื่อกระสุนหมด (เช่นปืนเล็กยาวจู่โจม เอเค 47) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพอากาศโซเวียตได้นำวิธีการนี้ไปใช้กับปืนกลในเครื่องบินรบ แต่ข้อเสียเปรียบของการทำแบบนี้คือศัตรูก็จะรู้ว่ากระสุนกำลังจะหมด และเสี่ยงต่อการโจมตีกลับในทันทีเมื่อกระสุนหมด อย่างไรก็ตามข้อเสียเปรียบไม่ส่งผลต่อการรบภาคพื้นดิน เนื่องจากเมื่อกระสุนใกล้ ผู้ยิงจะทำการเตือนคนอื่นๆ ว่ากำลังจะทำการบรรจุกระสุนใหม่และต้องการให้คุ้มกัน ทำให้ศัตรูเสี่ยงต่อการยิงตอบโต้จากฝ่ายตรงข้ามที่ช่วยคุ้มกันให้อยู่

ในปัจจุบันอากาศยานพึ่งพาการใช้ขีปนาวุธ เรดาร์และการนำวิถีด้วยเลเซอร์เพื่อติดตามศัตรู ทำให้การใช้กระสุนส่องวิถีไม่สำคัญอีกต่อไป

[แก้] ความปลอดภัย
เนื่องจากกระสุนส่องวิถีเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย จึงถูกห้ามไม่ให้ใช้ในสนามยิงปืนในสหราชอาณาจักร โดยทั่วไปแล้วการใช้กระสุนส่องวิถีจะได้รับอนุญาตระหว่างการซ้อมรบเท่านั้น[5]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 เกิดไฟป่าขึ้นในพื้นที่ทางทหารใกล้เมืองมาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยสาเหตุของเพลิงเกิดจากกระสุนส่องวิถี ทำให้พุ่มไม้ที่แห้งและติดไฟ




/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น