วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การส่งเสริมสุขภาพ

การส่งเสริมสุขภาพ





ในปี พ.ศ. 2520 องค์การอนามัยโลกได้จัดให้มีการประชุม เพื่อสนับสนุนเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้า (Health For All) ขึ้น และต่อมามีการประชุมนานาชาติเรื่อง “ การสาธารณสุขมูลฐาน” (Primary Health Care) จัดโดยกองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Children’s Fund) ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) ณ กรุงอัลมา อะตา ประเทศในปี พ.ศ. 2521 จากการประชุมในครั้งนี้ งานส่งเสริมสุขภาพหรืออีกนัยหนึ่ง “การสาธารณสุขยุคใหม่ “ (New Public Health) ได้เริ่มต้นพร้อมกับคำประกาศเจตนารมณ์จากการประชุม ที่ตระหนัก
ว่าสุขภาพดีเป็นเป้าหมายพื้นฐานทางสังคม และได้กำหนดนโยบายสุขภาพใหม่ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ความร่วมมือระหว่างภาคต่าง ๆ ของสังคม โดยมีการสาธารณสุขมูลฐานเป็นพื้นฐาน
ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ได้มีการประชุมนานาชาติเรื่อง “การส่งเสริมสุขภาพ” (Health Promotion) ขี้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนนาดา ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการประกาศ “กฎบัตรออตตาวาเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ” (Ottawa Charter for Health Promotion) (พิศมัย จันทรวิมล, 2541 : 3 ) ว่าด้วยยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ ดังนี้
การสร้างนโยบายสาธารณสุขเพื่อสุขภาพ (Build healthy public) นโยบายส่งเสริมสุขภาพมีวิธีการที่หลากหลาย แต่สอดคล้องสนับสนุนกัน โดยผู้กำหนดนโยบายจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพเป็นสำคัญ
การสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (Create supportive environment) ส่งเสริมให้คนและสิ่งแวดล้อม อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลและสมดุล ถือว่า การอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติทั่วโลกเป็นภารกิจร่วมกันของประชากรโลก เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตการทำงาน การพักผ่อน ให้มีสุขภาวะที่ดีและปลอดภัยโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง (Strengthen community action) เป็นการสนับสนุนให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ โดยชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจและจัดการ มีการระดมทรัพยากร และวัตถุภายในชุมชน ทั้งนี้ชุมชนจะต้องได้รับข้อมูลข่าวสาร โอกาสการเรียนรู้และแหล่งทุนสนับสนุน
การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop personal skills) การส่งเสริมสุขภาพโดยการ สนับสนุนในเรื่องการพัฒนาบุคคลและสังคม ด้วยการให้ข้อมูลข่าวสาร การศึกษาเพื่อสุขภาพและการเสริมทักษะชีวติในการจัดการที่ดีเพื่อป้องกันและควบคุมสุขภาพของตน
การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ (Reorient health services) การจัดระบบบริการสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างบุคคล ชุมชน และบุคลากรสาธารณสุข สถาบันบริการสาธารณสุขและรัฐบาล ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อมุ่งไปสู่สุขภาพของประชาชน ในการปรับเปลี่ยนบริการสาธารณสุขจำเป็นต้องให้ความสำคัญในด้านการวิจัยทางสาธารณสุข หลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุขสาขาต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนเจตคติ โดยมองปัญหาของปัจเจกบุคคลไปสู่การมองปัญหาในองค์รวม
ความหมายของการส่งเสริมสุขภาพ
มีผู้ให้คำนิยาม การส่งเสริมสุขภาพเกี่ยวกับ ไว้หลากความหมาย ดังนี้
โอ ดอนเนลล์ (O’ Donnell) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึงวิทยาศาสตร์และศิลปะในการช่วยให้ประชาชนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปสู่สภาวะ (Edelman and Mandle. 1994 : 16; citing O’ Donnell. 1987. Definition of Health Promotion)
ครูเตอร์ และดีวอร์ (Kreuter and Devore) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการสนับสนุนด้านสุขภาพโดยให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ภาคเอกชน และภาครัฐ ร่วมมือปฏิบัติ เพื่อการมีสุขภาพที่ดี (Edelman and Mandle. 1994 : 16; citing Kreuter and Devore. 1980. Reinforcing of the Health Promotion.)
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ (2541 : 10) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มสมรรถนะในการควบคุมและพัฒนาสุขภาพของตนเอง
การจัดบริการสุขภาพที่ผ่านมามุ่งเน้นด้านการรักษาพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาความเจ็บป่วยความพิการ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องอาศัยวิทยาการและเทคโนโลยีที่มีราคาแพงมากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่กลับได้ผลตอบแทนด้านสุขภาพต่ำ
สำหรับประเทศไทยก็ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง ดังเช่นสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กระทรวงสาธารณสุขได้จัดประชุมใหญ่เรื่องการส่งเสริมสุขภาพเมื่อวันที่ 6 – 8 พฤษภาคม 2541 ในการนี้ได้มีการผลิตเอกสารเกี่ยวกับสุขภาพจำนวนมาก มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายวิชาชีพ สาระสำคัญของการประชุม คือ "สุขภาพไม่ได้สร้างในโรงพยาบาล”
การสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่จำเป็นสำหรับชีวิตตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ
การมีสุขภาพดีสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข เป็นความต้องการจำเป็นพื้นฐานของชีวิตที่คนเราทุกคนสามารถแสวงหาได้ การที่เราจะมีสุขภาพที่ดีได้นั้น เราจะต้องแสวงหามาด้วยตัวเอง ไม่มีผู้ใดจะปฏิบัติแทนเราได้ ดังนั้น สุขบัญญัติ คือ ข้อกำหนดที่ประชาชนทุกคนควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และสังคม
สุขบัญญัติ 10 ประการ มีดังนี้
ดูแลรักษาและของใช้ให้สะอาด
รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง
ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่าย
กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด
งดบุหรี่ สุรา สารเสพย์ติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ
สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น
ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี
ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส่อยู่เสมอ
มีสำนึกต่อส่วนรวม รวมสร้างสรรค์สังคม
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหากเราได้ฝึกฝนและปฏิบัติตามสุขบัญญัติ 10 ประการอย่างต่อเนื่องจนเป็นสุขนิสัยแล้ว จะช่วยนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีตามที่พึงปรารถนา (คณะกรรมการสุขศึกษา, 2541 : 7)
ในหลวงของเรากับโคนม
การจะส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์นั้นอาหารเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งปัยจัยหนึ่ง ดังเช่น นมซึ่งถือได้ว่าเป็นอาหารที่ให้คุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ปัจจุบันโครงการอาหารกลางวันของนักเรียนตามโรงเรียนต่าง ๆ ได้จัดให้นักเรียนได้ดื่มนมทุกวัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นความสำคัญของนม และมีพระราชดำริที่จะหาทางให้ชาวไทยได้บริโภคที่มีคุณภาพและราคาถูก พระองค์จึงทรงพระราชกรณียกิจ ดังนี้
ทรงวางรากฐานการเลี้ยงโคนม ในสมัยก่อนส่งครามโลกครั้งที่ 2 แระระหว่างสงคราม การเลี้ยงโคนมในประเทศไทยยังมีน้อย การเลี้ยงโคนมในประเทศไทยเริ่มต้นจริงจังและมีแบบแผนหลังจากการเสด็จ ฯ ประพาสประเทศเดนมาร์กของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในเดือนกันยายน พ.ศ. 2503 ระหว่างเสด็จ ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรกิจการฟาร์มโคนม และการผลิตอาหารจากนมหลายแหล่ง ซึ่งในการนี้ทางรัฐบาลเดนมาร์กได้น้อมเกล้า ฯ ถวายการสนับสนุนการดำเนินโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมของประเทศไทย
การเลี้ยงโคนม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทดลองเลี้ยงโคนมในบริเวณสวนจิตรลดา เป็นการทดลองดำเนินการเลี้ยงโคนมแบบที่ราษฎรจะเลี้ยงเองได้
การสร้างโรงนมผงในรูปแบบสหกรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบกับเอกชน เพื่อสร้างโรงนมผงขึ้น ณ ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีชื่อว่า บริษัทผลิตภัณฑ์หนองโพ ราชบุรี จำกัด และให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมดำเนินการจัดตั้งศูนย์รวมนมในรูปแบบสหกรณ์
ศูนย์รวมนมสกลนครตามพระราชดำริ สามารถผลิตนมสดพาสเจอร์ไรซ์ได้
การพัฒนาคุณภาพน้ำนมตามแนวพระราชดำรัส เพื่อให้ได้น้ำนมที่มีคุณภาพอันช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น


http://www.swu.ac.th/royal/book6/b6c3t1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น