วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความเป็นมาของประเทศ

ประเทศไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

"ไทย" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ไทย (แก้ความกำกวม)
ราชอาณาจักรไทย


ธงชาติ
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ: ไม่มีคำขวัญอย่างเป็นทางการ
เพลงชาติ: เพลงชาติไทยเพลงสรรเสริญพระบารมี: สรรเสริญพระบารมี

ตำแหน่งของประเทศไทย (สีเขียว)ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สีเทาเข้ม)
เมืองหลวง(และเมืองใหญ่สุด)
กรุงเทพมหานคร
13°44′N 100°30′E
ภาษาทางการ
ภาษาไทย
รัฐบาล
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[1] (ปรมิตตาญาสิทธิราชย์)[2], ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
-
พระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
-
นายกรัฐมนตรี
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
สถาปนาเป็น
-
กรุงสุโขทัย
พ.ศ. 1781พ.ศ. 1911
-
กรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 1893พ.ศ. 2310
-
กรุงธนบุรี
พ.ศ. 23106 เมษายน พ.ศ. 2325
-
กรุงรัตนโกสินทร์
6 เมษายน พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน
เนื้อที่
-
ทั้งหมด
513,115 กม.² (ลำดับที่ 50)
-
พื้นน้ำ (%)
0.4%
ประชากร
-
2553 ประมาณ
66,404,688[3] (อันดับที่ 20)
-
2543 สำรวจ
60,606,947[4]
-
ความหนาแน่น
122/กม.² (อันดับที่ 85)
GDP (PPP)
2551 ประมาณ
-
รวม
$608.0 พันล้าน[5] (อันดับที่ 24)
-
ต่อประชากร
$9,727[5] (อันดับที่ 83)
GDP (ราคาปัจจุบัน)
2550 ประมาณ
-
รวม
$273.248 พันล้าน[5] (อันดับที่ 34)
-
ต่อประชากร
$4,405[5] (อันดับที่ 92)
จีนี (2545)
42
HDI (2550)
▲ 0.783[6] (ปานกลาง) (อันดับที่ 87)
สกุลเงิน
บาท (฿) (THB)
เขตเวลา
(UTC+7)
รหัสอินเทอร์เน็ต
.th
รหัสโทรศัพท์
+66
ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรูปแบบเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้มีชายแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 75 จังหวัด[7] โดยมีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นทั้งเมืองหลวงและศูนย์กลางการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของประเทศ
ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร[8] และมีประชากรมากเป็นอันดับ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน[3] ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่[9][10][11][12] โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ[13] ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง อาทิ พัทยา, จังหวัดภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่ อันสร้างรายได้ให้กับประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ[14] ด้วยจีดีพีของประเทศซึ่งมีมูลค่าราว 260,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ตามการประมาณเมื่อปี พ.ศ. 2552 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 33 ของโลก
ในอาณาเขตประเทศไทยพบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึง 5 แสนปี[15] นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความยิ่งใหญ่เนื่องจากการติดต่อกับชาติตะวันตก ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2054 สงครามจากการขยายอำนาจของพม่านำไปสู่การเสียกรุงครั้งที่หนึ่ง ก่อนที่อยุธยาจะกลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งได้เสื่อมอำนาจและล่มสลายไปหลังการเสียกรุงครั้งที่สอง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราช และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงธนบุรี เหตุการณ์ตอนปลายรัชกาลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรี
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยรับมือกับภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคอย่างมาก นำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาหลายฉบับและการเสียดินแดน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร ในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติซึ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศ ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ในช่วงสงครามเย็น ไทยดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ไทยเคยประสบปัญหาคอมมิวนิสต์ในประเทศ หลังจากอยู่ใต้การปกครองของรัฐบาลทหารนับหลายสิบปี ประชาธิปไตยในประเทศกำลังพัฒนาขึ้น
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ชื่อเรียก
2 ภูมิประเทศ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
3 ประวัติศาสตร์
3.1 ยุคก่อนประวัติศาสตร์
3.2 อาณาจักรสุโขทัย
3.3 อาณาจักรอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น
3.4 การเผชิญหน้ากับชาติตะวันตก
3.5 การเปลี่ยนแปลงการปกครอง สงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามเย็น
3.6 การพัฒนาประชาธิปไตย
4 การเมืองการปกครองและรัฐบาล
5 การแบ่งเขตการปกครอง
5.1 เมืองใหญ่และจังหวัดใหญ่
6 เศรษฐกิจ
6.1 เศรษฐกิจหลัก
7 การศึกษา
8 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
9 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
10 การทหาร
11 การสื่อสาร
12 การคมนาคม
13 ลักษณะประชากร
13.1 ชนชาติ
13.2 ศาสนา
13.3 ภาษา
14 วัฒนธรรม
14.1 ศิลปะ
14.2 อาหารไทย
14.3 วันสำคัญ
15 กีฬา
16 การจัดอันดับของนานาชาติ
17 อ้างอิง
18 แหล่งข้อมูลอื่น


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น